โรคใบขีดแดงและยอดเน่า

สาเหตุ : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas rubrilineans

การระบาด

1. ระบาดไปทางท่อนพันธุ์

2. ระบาดโดยทางลม ฝน โดยพัดพาเชื้อจากต้นที่เป็นโรคไปติดต้นอ้อยข้างเคียง

ลักษณะอาการ

ใบมีเส้นสีแดงเป็นขีดยาวตามความยาวของใบบางครั้งรอยขีดติดกันเป็นปื้น ต่อมาเชื้อลามไปในยอด ทําให้มีอาการยอดเน่าบางพันธุ์อาจพบทั้งอาการขีดแดง และยอดเน่าเมื่อเป็นรุนแรงใบยอดเน่าดึงออกง่าย มีกลิ่นเหม็นรุนแรง ภายในลําช้ำเน่าเป็นสีชมพูถึงสีน้ำตาลแดง เนื้ออ้อยเน่ากลางตาอ้อยด้านข้างงอกเป็นหน่อบนต้น

การป้องกันกําจัด

1. ทําลายกอที่เป็นโรค

2. ป้องกันการทําลายของหนอนโดยใช้ยาดูดซึม

3. แปลงควรระบายน้ำดี

4. ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนเดี่ยวระยะอ้อยอ่อน

5. กรณีที่ระบาดรุนแรงใช้สารเคมีคอบเปอร์ออกซิคลอไรด์ เช่นคาร์โบซินอัตรา 40 กรัม ต่อ 20 ลิตร

6. เมื่อจะเปลี่ยนพันธุ์ปลูกใหม่

  • ควรเลือกพันธุ์ที่ไม่อ่อนแอต่อโรค เช่นอู่ทอง 1 เค 84-200 เค 88-92
  • ไถดินตากและพักดินก่อนปลูกพันธุ์ใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำนาในประเทศไทย เกษตรกรมีการปลูกข้าวนาปี หรือ ข้าวที่ต้องอาศัยน้ำฝนในการเพาะปลูก เป็นส่วนมาก ซึ่งเพาะปลูกได้เพียงหนึ่งรอบต่อปี เกษตรกรหลายรายจึงจำใจปล่อยแปลงนาของตนให้รกร้าง ไม่ได้มีการใช้ประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงเป็นการเสียโอกาสในการสร้างรายได้เป็นอย่างมาก แต่พี่น้องเกษตรกรที่ ต.ปากดุก
ชนิด : ข้าวเจ้า ประวัติพันธุ์ :เป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่ปลูกดั้งเดิมใน จ.พัทลุง นาปี พ.ศ. 2531/32 ได้เริ่มคัดเลือกพันธุ์สังข์หยด (KGTC82239) จากแหล่งเก็บ อ.บางแก้ว จ.พัทลุง หนึ่งในสามแหล่งของข้าวสังข์หยดของจังหวัด ซึ่งมีความแปรปรวนในลักษณะทางพันธุกรรมของประชากรที่เก็บ ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุงคัดเลือกได
การปลูกอ้อยให้ได้ดีมีผลผลิตสูงต้องอาศัยการใช้พันธุ์อ้อยที่มีคุณสมบัติที่ดีเหมาะสมกับพื้นที่เพาะปลูก และต้องอาศัยการดูแลรักษาเฝ้าระวังโรคและแมลงอย่างสม่ำเสมอ จนสามารถได้ผลผลิตและค่าความหวานสูง ลุง สรวิชญ์ ศรีพิมาน เกษตรกรคนเก่งแห่งกาญจนบุรี ผู้ซึ่งมีประสบการณ์ปลูกอ้อยเป็นเวลานานกว่า 40 ปี ปัจจุบันได้