โรคเน่าคออ้อย (แบคทีรีโอซีส)

เชื้อสาเหตุ : Erwinia carotovora แบคทีเรีย 

อาการ : ในระยะแรกอ้อยจะแห้งตายเป็นบางหน่อ ระยะหลังลำอ้อยบริเวณคอเน่าจนคอหักพับ มีกลิ่นเหม็นเน่า เนื้อในอ้อยยุบเป็นโพรงเห็นเนื้อเป็นเส้น

วิธีการแพร่ระบาด : ติดไปกับท่อนพันธุ์ ลมและฝนพัดพาเชื้อจากต้นที่เป็นโรคไปติดต้นข้างเคียง

วิธีการป้องกันรักษา : พบกอเป็นโรคให้ตัดออกทำลาย พ่นสารเคมีแอกกริไมซินบนกอที่ตัดทิ้งและบริเวณรอบ ๆ กอ

สภาพแวดล้อมที่ : เหมาะสมในการแพร่ระบาดพบกอเป็นโรคให้ตัดออกทำลาย พ่นสารเคมีแอกกริไมซินบนกอที่ตัดทิ้งและบริเวณรอบ ๆ กอ

พาหะนำโรค : ท่อนพันธุ์ที่เป็นโรค ลม ฝน

บทความที่เกี่ยวข้อง

สำหรับการปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่เกษตรกรรมมีจุดประสงค์ที่สำคัญเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรดินและการอนุรักษ์ดินและน้ำ ซึ่งประกอบด้วย 1.การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ลาดชัน ควรปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวตามแนวระดับขวางความลาดเทในต้นฤดูฝน โดยการทำแนวร่องปลูกตามแนวระดับ ใช้ระยะระหว่างต้น 5 เซนติเมตร สำหรับกล้ารากเปลือย
ชุดดินในที่ลุ่มที่สำคัญ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3. ชุดดินร้อยเอ็ด (Roi-et series : Re) กลุ่มชุดดินที่ 17 การกำเนิด : เกิดจากตะกอนของหินตะกอนเนื้อหยาบชะมาทับถมบนพื้นผิวของการเกลี่ยผิวแผ่นดินบริเวณพื้นที่เกือบราบหรือที่ราบ สภาพพื้นที่ : ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-2 %
การเพาะเมล็ดเป็นวิธีการขยายพันธุ์แบบใช้เพศ ซื่งส่วนของเมล็ดนั้นได้มาจากการผสมของเกสรตัวผู้กับเกสรตัวเมีย เมื่อผสมติดแล้วดอกจะฝ่อและติดเมล็ด รอจนเมล็ดแก่ก็สามารถนำมาเพาะเป็นต้นต่อไปได้ การเพาะเมล็ดทำได้ครั้งละจำนวนมาก และต้นใหม่ที่ได้อาจไม่เหมือนต้นแม่ จึงเหมาะกับความต้องการคัดเลือกสายพันธุ์ใหม่ๆ