เห็ดเรืองแสงสิรินรัศมีชีวภัณฑ์ปราบไส้เดือนฝอยรากปม

เห็ดเรืองแสง คือเห็ดที่สามารถเรืองแสงหรือเปล่งแสงได้ในที่มืด จัดเป็นเห็ดที่มีลักษณะพิเศษ คือมีแสงในตัวเอง โดยแสงที่เปล่งออกมาเป็นกลไกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ สามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนเมื่ออยู่ในสภาพที่ไม่มีแสงหรืออยู่ในที่มืด ส่วนใหญ่เรืองแสงสีเขียวอมฟ้า หรือสีเขียวอมเหลือง ตามชนิดของเห็ด การเปล่งแสงเพื่อดึงดูดให้แมลงที่หากินในเวลากลางคืนเข้ามาหาดอกเห็ด และพาสปอร์ของเห็ดติดไปกับตัวแมลง ซึ่งเป็นการช่วยแพร่กระจายสปอร์

กลไกการทำลายศัตรูพืช

สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากเห็ดเรืองแสงสิรินรัศมี ที่มีผลต่อการตายของตัวอ่อนระยะที่ 2 (J2) ของไส้เดือนฝอยรากปม ซึ่งเป็นระยะสำคัญที่ทำให้พืชเป็นโรครากปม คือ สารออริซิน เอ (aurisin A) ซึ่งสารนี้มีผลต่อระบบประสาทของไส้เดือนฝอยทำให้ไส้เดือนฝอยไม่สามารถเคลื่อนที่และ ตายในที่สุด นอกจากนี้ในเส้นใยของเห็ดเรืองแสงยังมีสาร ออกฤทธิ์อื่น ๆ เช่น nambinones A-D, 1-epi-nambinone และ aurisin K  เป็นต้น ซึ่งมีผลในการยับยั้งการฟักไข่ และฆ่าตัวอ่อนของไส้เดือนฝอยรากปมได้อีกด้วย

โรครากปม (Root Knot) เชื้อสาเหตุเกิดจาก ไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne spp.) ซึ่งเป็นศัตรูพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ แพร่กระจายอยู่ทั่วโลก และเป็นหนึ่งในสาเหตุโรคพืชที่สำคัญ ลำดับต้น ๆ เนื่องจากสามารถทำความเสียหายต่อพืชมากมายหลายชนิด มีพืชอาศัยกว้างและยังสามารถก่อโรคร่วมกับเชื้อโรคพืชชนิดอื่น ๆ อีกด้วย ไส้เดือนฝอยรากปมเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ลอกคราบครั้งแรกในไข่ จากตัวอ่อนระยะที่ 1 เป็นตัวอ่อนระยะที่ 2 และจะฟักออกมาจากไข่เพื่อเข้าทำลายรากพืช ตัวอ่อนระยะที่ 2 จะชอนไชเข้ารากพืชไปฝังตัวอยู่บริเวณท่อลำเลียงน้ำและอาหาร จากนั้นจะลอกคราบอีก 3 ครั้ง และเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัย ตัวเต็มวัยเพศเมียออกไข่เป็น กลุ่มประมาณ 300 – 500 ฟอง อยู่ในถุงไข่ และไข่สามารถ ฟักออกเป็นตัวได้โดยไม่ต้องมีการผสมพันธุ์ ไข่ของไส้เดือ

การใช้ชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืช

นำก้อนเห็ดเรืองแสงสิรินรัศมีที่มีเส้นใยเจริญเต็มก้อน ขยี้หรือทุบให้เส้นใยแยกออกจากกัน เก็บในถุงพลาสติกที่สะอาด ปริมาณเชื้อเห็ดเรืองแสง 2 ใน 3 ส่วน/ถุง ปิดปากถุงพอหลวม ๆ เพื่อให้มีออกซิเจนเพียงพอให้เส้นใยใหม่เจริญ วางไว้ในอุณหภูมิห้องประมาณ 3–5 วัน จะพบเส้นใยใหม่ สีขาวเจริญออกมาก สามารถนำไปใช้ในแปลงปลูกพืชได้

อัตราการใช้กับพืช

  1. พริก มะเขือเทศ ใช้อัตรา 10 กรัม/ต้น รองก้น หลุมก่อนปลูก หากปลูกพืชไปแล้วพบการระบาดของโรครากปมให้ไถหน้าดินลึกประมาณ 2 นิ้ว จากนั้นโรยรอบทรงพุ่มในอัตรา 30 กรัม/ต้น แล้วกลบ
  2. มันฝรั่ง ใช้อัตรา 220 กิโลกรัม/ไร่ ผสมกับปุ๋ยรองพื้นโรยพร้อมปุ๋ยก่อนปลูก
  3. พริกไทย ใช้อัตรา 50 กรัม/ต้น รองก้นหลุมก่อนปลูก หากปลูกพืชไปแล้วพบการระบาดของโรครากปมให้ไถหน้าดินดินลึกประมาณ 2 นิ้ว จากนั้นโรยรอบทรงพุ่มในอัตรา 50 กรัม/ต้น แล้วกลบ
  4. มันสำปะหลังหว่าน อัตรา 160 กิโลกรัม/ไร่ ก่อนไถยกร่อง
  5. พืชในวงศ์ผักชี และผักกาดหอม ใช้อัตรา 40 กรัม/ตารางเมตร
  6. ฝรั่ง ใช้อัตรา 30 กรัม/ต้น รองก้นหลุมก่อนปลูก หากปลูกพืชไปแล้วพบการระบาดของโรครากปมให้ไถหน้าดินลึกประมาณ 2 นิ้ว จากนั้นโรยรอบทรงพุ่ม ในอัตรา 70 กรัม/ต้น แล้วกลบ
  7. เมล่อน ใช้อัตรา 30 กรัม/ต้น รองก้นหลุมก่อน ปลูกหากปลูกพืชไปแล้วพบการระบาดของโรครากปมให้ไถหน้าดินลึกประมาณ 2 นิ้ว จากนั้นโรยรอบทรงพุ่ม ในอัตรา 50 กรัม/ต้น แล้วกลบ

ข้อดี

  1. มีประสิทธิภาพสูง ทดแทนการใช้สารเคมีได้
  2. มีความปลอดภัยสูงต่อมนุษย์ สัตว์ สิ่งแวดล้อม และไม่มีสารพิษตกค้าง
  3. เกษตรกรสามารถนำไปผลิตขยายใช้เองได้
  4. ลดต้นทุนในการผลิตพืช
  5. ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร
  6. มีอายุการเก็บรักษาได้นานถึง 12 เดือน ที่อุณหภูมิห้อง โดยสภาพก้อนไม่ย่อยสลาย
  7. ชีวภัณฑ์เห็ดเรืองแสงมีความคงทน สามารถเจริญ และสร้างสารในดินได้เป็นเวลานาน ซึ่งต่างจากสารเคมีที่มี การเสื่อมและไม่คงทน

ข้อจำกัด

  1. อัตราและวิธีการใช้แตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดพืช และความเหมาะสมของพื้นที่
  2. ควรเก็บชีวภัณฑ์เห็ดเรืองแสงให้พ้นแสงแดด
  3. วิธีการใช้ต้องแซะหรือไถหน้าดินและกลบเพื่อให้ชีวภัณฑ์เห็ดเรืองแสงพ้นจากแสงแดด

บทความที่เกี่ยวข้อง

พบมาก ในนาชลประทาน ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง สาเหตุ เชื้อไวรัส Rice Ragged Stunt Virus (RRSV) อาการ ต้นข้าวเป็นโรคได้ ทั้ง ระยะกล้า แตกกอ ตั้งท้อง อาการของต้นข้าวที่เป็นโรค สังเกตได้ง่าย คือ ข้าวต้นเตี้ยกว่าปกติ ใบแคบและสั้นสีเขียวเข้ม แตกใบใหม่ช้ากว่าปกติ แผ่นใบไม่สมบ
ปัจจุบันนี้การทำการเกษตรปลูกพืชด้วยวิถีอินทรีย์กำลังมาแรง และสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเป็นกอบเป็นกำ เพราะราคาพืชผักผลไม้ที่ปลูกด้วยระบบอินทรีย์มีราคาสูงกว่าพืชที่ใช้สารเคมีเกือบเท่าตัว และยังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่รักชีวิตตนเอง และครอบครัวด้วย เกษตรกรหลายท่านที่ยังคงใช้สารเคมีเพราะคิดว่าการ
ระยะการเจริญเติบโตของข้าว มีกี่ระยะ? คำถามคู่เกษตรกรปลูกข้าวมือใหม่ เพราะการปลูกข้าวไม่ใช่เพียงแค่หว่านแล้วจบ แต่จำเป็นต้องศึกษาระยะการเจริญเติบโตของข้าวให้ครบถ้วน เพื่อให้ได้ต้นข้าวคุณภาพดีที่พร้อมเก็บเกี่ยวได้ตามระยะเวลาที่กำหนด ถ้าอยากรู้แล้วว่าระยะการเจริญเติบโตของข้าว มีกี่ระยะ KUBOTA (Agri) Solutions สรุปมาให้แล้วในบทความนี้