เมื่อดินมีคราบสนิมเหล็กจะทำอย่างไร

ดินเปรี้ยวจัดหรือดินกรดกำมะถัน

หมายถึงดินที่มีกรดกำมะถันเกิดขึ้นในดิน ทำให้ดินนั้นเป็นกรดจัดมากหรือเป็นกรดรุนแรงมาก ส่งผลกระทบต่อการปลูกพืช พบในบริเวณที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเลที่มีหรือเคยมีน้ำทะเลหรือมีน้ำกร่อยท่วมถึงในอดีต ประกอบด้วยพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดของภาคกลางตอนใต้ ภาคใต้และภาคตะวันออก มีเนื้อที่รวมประมาณ 6,239,361ไร่

ลักษณะของดินเปรี้ยวจัด

มีเนื้อดินเป็นดินเหนียวหรือดินร่วนละเอียดที่พบสารสีเหลืองฟางข้าว หรือตะกอนน้ำทะเลที่มีองค์ประกอบของสารกำมะถันมาก ภายในความลึก 150 เซนติเมตรจากผิวดิน สภาพพื้นที่โดยทั่วไป มีต้นกกหรือกระถินทุ่งขึ้นอยู่ทั่วไป คุณภาพน้ำในบริเวณดังกล่าวใสมากและเป็นกรดจัดมาก มักพบคราบสนิมเหล็กในดินและที่ผิวน้ำ เมื่อดินแห้งจะแตกระแหงเป็นร่องกว้างและลึก เมื่อทำการขุดดินหรือยกร่องลึกจะพบสาร สีเหลืองฟางข้าว (จาโรไซต์) กระจายในชั้นดินและจุดประสีเหลือง สีแดง กระจายอยู่ทั่วไป หรือพบชั้นดินเลนเหนียวหรือร่วนเหนียวปนทรายแป้งที่มีกลิ่นเหม็นเหมือนก๊าซไข่เน่า ชั้นดินเลนนี้เมื่อแห้งจะมี พีเอชดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดรุนแรงมาก มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH)  ต่ำกว่า 4.0

ประเภทของดินเปรี้ยวจัดแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ

1) ดินเปรี้ยวจัดที่พบชั้นดินกรดกำมะถันตื้น พบชั้นดินที่มีสารสีเหลืองฟางข้าว หรือชั้นดินที่เป็นกรดรุนแรงมากภายในความลึก 50 เซนติเมตรจากผิวดิน โดยทั่วไปชั้นดินบนมีค่า pHต่ำกว่า 4.0

2) ดินเปรี้ยวจัดที่พบชั้นดินกรดกำมะถันลึก พบชั้นดินที่มีสารสีเหลืองฟางข้าว หรือชั้นดินที่เป็นกรดรุนแรงมากในช่วงความลึก 50-100 เซนติเมตรจากผิวดิน โดยทั่วไปชั้นดินบนมีค่า pH4.0-4.5

3) ดินเปรี้ยวจัดที่พบชั้นดินกรดกำมะถันลึกพบชั้นดินที่มีสารสีเหลืองฟางข้าว หรือชั้นดินที่เป็นกรดรุนแรงมากในช่วงความลึก 100-150 เซนติเมตรจากผิวดิน โดยทั่วไปชั้นดินบนมีค่า pHประมาณ 4.5-5.0

ลักษณะดินเปรี้ยวจัดหรือดินกรดกำมะถัน

เนื้อดินเป็นดินเหนียว แข็ง และแตกระแหง กว้างและลึก มีชั้นดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดรุนแรงมาก มีค่า pHของดินต่ำกว่า 4.0ทำให้ขาดธาตุอาหาร และขาดความสมดุลของธาตุอาหารพืช เกิดความเป็นพิษจากเหล็กและอะลูมิเนียมที่ละลายออกมามาก มี

น้ำแช่ขังนาน การระบายน้ำไม่ดี และขาดแคลนแหล่งน้ำจืด ทำให้พืชที่ปลูกแล้วไม่เจริญเติบโต หรือให้ผลผลิตต่ำมาก และจำกัดชนิดพืชที่นำมาใช้ปลูกในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด

แนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องดิน

– แก้ปัญหาความเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดรุนแรงมากของดิน ลดความเป็นกรดจัดมากหรือกรดรุนแรงมากในดิน และควบคุมไม่ให้ดินเกิดกรดเพิ่มขึ้น โดยการใช้วัสดุปูน เช่น ปูนมาร์ล ปูนโดโลไมท์ หินปูนบด ปูนขาว และปูนแคลไซต์ เป็นต้น เพื่อลดความรุนแรงของความเป็นกรดและสารพิษในดิน

– ปรับดินให้ร่วนซุย งดเผาตอซังและไถกลบตอซังข้าวร่วมกับการปลูก และไถกลบพืชปุ๋ยสด ปุ๋ยคอก แกลบ หรือเถแกลบ ไถพรวนดินในช่วงความชื้นดินที่เหมาะสมที่ระดับความลึกแตกต่างกันในแต่ละปีหรือขุดหลุมปลูก ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก เพื่อช่วยให้ดินร่วนซุยและไม่แน่น

แนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ

– ปรับปรุงสภาพน้ำที่เป็นกรดจัดมาก ใส่หินปูนบดลงในคลองระบายหรือคลองส่งน้ำ หรือใส่ปูนประมาณ 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร พร้อมทั้งคอยตรวจสอบความเป็นกรดของน้ำเป็นระยะๆ

– จัดหาแหล่งน้ำจืด พัฒนาแหล่งน้ำจืด และจัดทำระบบส่งน้ำและทางระบายแยกส่วนกันมาใช้ในพื้นที่ปลูกพืช

เลือกชนิดพืชที่เหมาะสมมาปลูก

ดินเปรี้ยวจัดที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขความเป็นกรดของดินแล้ว สามารถปลูกพืชได้เกือบทุกชนิด แต่ต้องมีการจัดการเรื่องน้ำและธาตุอาหารพืชให้เหมาะสม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ประเทศไทยมีพื้นที่ผลิตถั่วเขียวประมาณ 829,145 ไร่ มีความต้องการเมล็ดพันธุ์ 4,146 ตัน แต่รัฐผลิตได้ 617 ตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 15 ของความต้องการเมล็ดพันธุ์ทั้งประเทศ ตั้งแต่ปี 2557 เกิดปัญหาฝนแล้งทำให้เกษตรกรไม่สามารถทำนาปรังได้ ประกอบกับนโยบายแทรกแซงราคาข้าวสิ้นสุดลง เกษตรกรจึงหันมาปลูกถั่วเขียวแทน
“ในชีวิตประจำวันของทุกท่าน ได้รับประทานสมุนไพรบ้างหรือไม่ อ่ะๆ อย่าเพิ่งบอกว่าไม่ เพราะหลายสิ่งรอบตัวที่รับประทานกันทุกวัน ล้วนมีสมุนไพรอยู่มากมาย ตั้งแต่พริก กระเพรา กระเทียม ขิง ข่า ตะไคร้ ไปจนถึง ใบมะกรูด แต่สมุนไพรเหล่านี้เมื่อมนุษย์รับประทานก็จะเป็นผลดีต่อสุขภาพ แต่ตรงกันข้ามหากนำไปใช้กับ