หนอนชอนใบอ้อย (แมลงดำหนามอ้อย)

หนอนชอนใบอ้อย (แมลงดำหนามอ้อย)

(Sugarcane hispid beetle)

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Rhadinosa reticulate Baly

วงศ์ : Hispidae

รูปร่างลักษณะ :

หนอนชอนใบอ้อย หรือ แมลงดำหนามอ้อย เป็นด้วงปีกแข็งมีขนาดเล็ก ตัวยาว 3-4 มิลลิเมตร มีสีดำ บนหลังและปีกมีหนามแข็งยาวแหลมอยู่ทั่วไป ตัวเมียวางไข่ใบเดี่ยว ๆ ไว้ใต้พื้นผิวใบ ไข่ฟักเป็นตัวในเวลา 5-8 วัน ระยะตัวหนอน 12-15 วัน ระยะ ดักแด้ 5-7 วัน ต่อจากนั้นจึงเป็นตัวเต็มวัย มีการผสมพันธุ์และวางไข่ต่อไป

พืชอาหารและลักษณะการทำลาย :

แมลงดำหนามอ้อย สามารถทำลายอ้อยด้วยการชอนไช ในระยะหนอนเข้ากัดกินเนื้อภายใต้เยื่อผิวใบ มีลักษณะเป็นทางยาว โดยเริ่มตั้งแต่ขนาดเล็กมาก แล้วค่อยๆกว้างขึ้น เห็นเป็นสีขาว เมื่อเป็นตัวเต็มวัยแล้วยังคงกัดกินผิวใบต่อไป

การป้องกันกำจัด

โดยปกติ ในไร่อ้อยไม่พบความเสียหายถึงขั้นที่ต้องทำการกำจัด หากจำเป็นจะต้องใช้ยาฆ่าแมลงชนิดที่เหมาะแก่การใช้กำจัดแมลงชนิดนี้ ได้แก่ ฟอสฟามิดอน 0.03%, เมทาซิสท้อกซ์ 0.1% หรือ ไดอาซีโนน 0.2% สามารถทำลายหนอนซึ่งอยู่ภายใต้ผิวใบได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

การดูดธาตุอาหารของพืช พืชได้รับคาร์บอนและออกซิเจนจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยการสังเคราะห์แสงจากใบพืชและส่วนที่มีสีเขียว ส่วนธาตุอาหารพืชในรูปของไอออนพืชได้รับเช่นกัน การดูดธาตุอาหาร พืชโดยส่วนต่างๆของพืช ได้แก่ การดูดธาตุอาหารของพืชโดยใช้ส่วนต่างๆของพืช และ การดูดซับธาตุอาหารของพืชทางราก สารอาหารสามารถ
การทำนาในประเทศไทย เกษตรกรมีการปลูกข้าวนาปี หรือ ข้าวที่ต้องอาศัยน้ำฝนในการเพาะปลูก เป็นส่วนมาก ซึ่งเพาะปลูกได้เพียงหนึ่งรอบต่อปี เกษตรกรหลายรายจึงจำใจปล่อยแปลงนาของตนให้รกร้าง ไม่ได้มีการใช้ประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงเป็นการเสียโอกาสในการสร้างรายได้เป็นอย่างมาก แต่พี่น้องเกษตรกรที่ ต.ปากดุก
การปลูกมะนาวไม่ใช่เรื่องยาก แต่การทำให้มะนาวที่ปลูกได้ผลผลิตที่ดีและตรงใจที่สุดต้องอาศัยเทคนิค ในบทความนี้เราจะมาแชร์เคล็ดลับการเกษตร ปลูกมะนาวอย่างไรให้ลูกดก น้ำเยอะ ออกลูกทั้งปี จะเก็บไว้กินก็ได้ หรือจะปลูกขายก็ทำเงินดี