ลักษณะพื้นที่ปลูกอ้อยที่เหมาะสม

1. สภาพพื้นที่เหมาะสม

  • พื้นที่ดอน หรือที่ลุ่มไม่มีน้ำท่วมขัง
  • ความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,500 เมตร
  • ความลาดเอียงไม่เกิน 3 เปอร์เซ็นต์
  • ห่างไกลจากแหล่งมลพิษ
  • การคมนาคมสะดวกอยู่ห่างจากโรงงานน้ำตาลไม่เกิน 60 กิโลเมตร

2. ลักษณะดิน

  • ดินร่วน ดินร่วนเหนียว หรือดินร่วนปนทราย
  • ความอุดมสมบูรณ์ของดินปานกลาง มีอินทรียวัตถุไม่ต่ำกว่า 1.5 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัสที่เป็น ประโยชน์มากกว่า10 ส่วนในล้านส่วน โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้มากกว่า 80 ส่วนในล้านส่วน
  • ระดับหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร
  • การระบายน้ำและถ่ายเทอากาศดี
  • ค่าความเป็นกรดด่างระหว่าง 5.5-7.0
  • ค่า อีซีหรือความเค็มไม่เกิน 4.0 เดซิซีเมนต่อเมตร

ตารางแสดงค่ามาตราฐานความเหมาะสมของดินที่ปลูกอ้อย

3. สภาพภูมิอากาศ

  • อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต 30-35 องศาเซลเซียส และต้องการอุณหภูมิกลางคืน  18-22 องศาเซลเซียส ในช่วงสุกแก่ หรืออ้อยอายุ 10-11 เดือน
  • ปริมาณน้ำฝน 1,200-1,500 มิลลิเมตร/ปี กระจายสม่ำเสมอในช่วงอ้อยอายุ 1-8 เดือน และมีช่วงปลอดฝน 2 เดือน ก่อนการเก็บเกี่ยว
  • มีแสงแดดจัด

4. แหล่งน้ำ

  • มีน้ำเพียงพอสำหรับใช้เมื่อจำเป็นสำหรับแปลงพันธุ์ควรมีน้ำเพียงพอใช้ตลอดฤดูปลูก
  • ค่าอีซีหรือความเค็มไม่เกิน 0.75 เดซิซีเมน/เมตร 
  • ต้องเป็นน้ำสะอาดปราศจากสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ที่มีพิษปนเปื้อน

5. วางแผนการผลิต

อ้อยเป็นวัตถุดิบของอุตสาหกรรมน้ำตาล จำเป็นต้องวางแผนการผลิตให้พอเพียงกับความต้องการใช้ตลอดฤดู

  • ผู้ปลูกต้องติดต่อขอโควต้าส่งอ้อยเข้าโรงงาน ที่อยู่ใกล้ไร่อ้อยมากที่สุด เพื่อจัดการปัจจัยการผลิตให้พอเพียงกับความต้องการใช้ตลอดฤดูปลูก
  • จดทะเบียนเป็นผู้ปลูกอ้อย ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527
  • วางแผนการปลูกอ้อยให้มีอายุเก็บเกี่ยวสอดคล้องกับช่วงเปิดหีบอ้อยของโรงงาน คือ ระหว่างเดือน ธ.ค.-เม.ย.

บทความที่เกี่ยวข้อง

เนื่องจากข้าวแดงหอมที่ปะปนไปกับผลผลิตข้าวขาว จะทำให้ข้าวขาวขาดมาตรฐานตามประกาศของกระทรวงพาณิชย์ ที่กำหนดไม่ให้มีข้าวแดงปนในข้าวขาว 100% ชั้น 1 ชั้น 2 และ ชั้น 3 แม้แต่เมล็ดเดียว ดังนั้น กรมการข้าวจึงกำหนดมาตรการการปลูกข้าวแดงหอม ดังนี้ ควรปลูกในพื้นที่เฉพาะที่กำหนดไว้เท่านั้น และไม่ควรปลูกใกล้เคียง
ในปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมี ซึ่งทำให้เกิดต้นทุนในการผลิตสูง แต่ก็มีเกษตรกรหลายรายหันกลับมาผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองในนาข้าว โดยอาศัยหลักการพึ่งพากันของธรรมชาติ เกิดองค์ความรู้จากการสังเกตว่า พืชผักใบเขียวในส่วนยอดอ่อนๆ จะมีฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโตอยู่ในปริมาณมาก เมื่อนำมาหมักให้เ
การทำนาดำในปัจจุบันมีหลายวิธีการในการผลิต และยังมีการนำเครื่องจักรกลต่างๆมาใช้ในกระบวนการผลิตมากขึ้น หากเกษตรกรเลือกวิธีการและการใช้เครื่องจักรกลไม่เหมาะสมกับการทำงาน จะส่งผลให้ผลผลิตเสียหาย และต้นทุนในการผลิตสูง ดังนั้นวันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการผลิตและการเลือกใช้เครื่องจักรกลให้เหมาะสมกับกระบวนการ