ลดการใช้น้ำด้วยการดูแลดิน

วิธีการจัดการดินที่ใช้น้ำน้อย

1. การคลุมดิน (Mulching) เป็นการเก็บความชื้นในดินเพื่อให้พืชที่ปลูกสามารถนําน้ำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

ชนิดวัสดุคลุมดิน (ควรเลือกวัสดุคลุมดินที่หาได้ง่าย และเหมาะสมกับชนิดพืชที่ปลูก)

1. วัสดุเศษพืช เช่น แกลบ ฟางข้าว ขี้เลื่อย กากอ้อย หญ้าแห้ง ฯลฯ

2. วัสดุสังเคราะห์ เช่น กระดาษ แผ่นพลาสติก

ประโยชน์การคลุมดิน

ด้านกายภาพ :

–  ลดแรงกระแทกของเม็ดฝน

–  ลดอุณหภูมิภายในดิน และลดการจับตัวเป็นแผ่นแข็งที่ผิวดินเนื่องจากการสูญเสียน้ำ

–  รักษาสภาพภูมิอากาศบริเวณรอบทรงต้นพืชให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต

–  ลดการระเหยน้ำจากผิวดิน ชะลอการไหลบ่าของน้ำ และลดการชะล้าง พังทลายของดิน

ด้านเคมี :

–  ช่วยเร่งปฏิกิริยาในการย่อยสลายสารประกอบไนโตรเจนจากวัสดุหรือสารอินทรีย์จากตอซังหรือเศษซากพืชที่ใส่ลงไปในดินให้เร็วขึ้น

ด้านชีวภาพ

–  เพิ่มกิจกรรมจุลินทรีย์ในดินทําให้พืชเจริญเติบโต และให้ผลผลิตคุณภาพดีขึ้น

2. การปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย เช่น การปลูกพืชคลุมดิน (Cover Crops) 

เป็นการปลูกพืชที่มีใบหนาแน่น หรือมีระบบรากแน่นปกคลุมหน้าดิน และยึดดินไว้ เช่น การปลูกพืชตระกูลถั่วหรือตระกูลหญ้า

ชนิดของพืชคลุมดิน

1.  พืชตระกูลถั่ว : พืชปุ๋ยสดตระกูลถั่ว (ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม ปอเทือง โสนอัฟริกัน ถั่วมะแฮะ) ถั่วปืนตอย ถั่วคาโลโปโกเนียม ถั่วคุดซู ถั่วไซราโตร ถั่วซีรูเลียม

2.  พืชตระกูลหญ้า : หญ้าเนเปีย หญ้ากินนี

3.  หญ้าแฝก (ตัดใบคลุมดิน) 

ควรเลือกพืชคลุมดินที่เจริญเติบโตเร็ว แข่งกับวัชพืชไม่ให้ตั้งตัวได้ทัน เลื้อยปกคลุมพื้นที่ว่าง ถ้าเป็นพืชตระกูลถั่วจะยิ่งดี เพราะสามารถตรึงไนโตเจนจากอากาศ เมื่อพืชคลุมดินตายจะปลดปล่อยธาตุอาหารลงสู่ดิน

ประโยชน์ของพืชคลุมดิน

ด้านกายภาพ :

–  ลดแรงกระแทกของเม็ดฝน

–  ลดการสูญเสียธาตุอาหารที่เกิดจากการชะล้างพังทลายของดิน

–  รักษาความชุ่มชื้นในดิน

ด้านเคมี :

–  เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุ และธาตุอาหารพืช ดินมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น ทําให้พืชเจริญเติบโตและผลผลิตดีขึ้น

ด้านชีวภาพ

–  เพิ่มกิจกรรมจุลินทรีย์ในดินและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมทําให้พืชเจริญเติบโต และให้ผลผลิตคุณภาพดีขึ้น

ด้านอื่นๆ :

–  ลดอัตราการใช้ปุ๋ยเคมี

–  เพิ่มรายได้ ลดค่าใช้จ่าย

บทความที่เกี่ยวข้อง

ความสำคัญ แตนเบียนไข่ไตรโคแกรมมา หรือแตนตาแดง เป็นแมลงที่มีขนาดเล็กมาก เมื่อเจริญเต็มที่มีขนาด ประมาณ 0.50 มิลลิเมตร ลำตัวสีน้ำตาลเหลืองขุ่น ตาสีแดง บริเวณเส้นปีกมีขนอ่อนเรียงเป็นแนวตรง แตนเบียนไข่ไตรโคแกรมมาทำลายไข่ของผีเสื้อต่างๆ ได้หลายชนิด เช่น หนอนกออ้อย หนอนกอข้าว หนอนห่อใบข้าว หนอนเจาะ ล้าต้น
การส่งเสริมให้เกษตรกรใช้รถดำนาเดินตาม ในพื้นที่นาขนาดเล็ก ที่ชุมชนวัดบ้านทรายใต้ ต.พิชัย อ.เมือง จ.ลำปาง กว่า 40 ปีที่สยามคูโบต้า ซึ่งเป็นผู้นำในธุรกิจเครื่องจักรกลการเกษตรในอาเซียนได้เติบโตและยืนหยัดในการพัฒนาสินค้าและบริการที่เป็นเลิศ เพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาภาคเกษตรกรรมของประเทศไทยให้ก้าวหน้า
โรคใบจุดจากเชื้อเฮลมินโธสปอเรี่ยม (Northern Leaf Spot หรือ Helminthosporium Leaf Spot) ลักษณะอาการ พบอาการตั้งแต่ใบแรกจนถึงใบธง แผลเป็นจุดค่อนข้างกลมสีเหลือง หรือน้ำตาลขนาดเล็ก มีวงแหวนสีเหลืองล้อมรอบ ขนาดความกว้างยาวของแผลอยู่ระหว่าง 0.5 – 4.0 x 0.5 – 40.0 มม. เมื่อความชื้นสูงแผลขยายใหญ่