ฝ่าวิกฤตภัยแล้งด้วยพืชหลังนา

จากสถานการณ์ภัยแล้งในปัจจุบัน ทำให้เกิดปัญหาในการทำนาเนื่องจากน้ำไม่เพียงพอต่อการปลูกข้าว  2 รอบต่อปี นายบุญเรือง พลายลหาร อายุ 42 ปี บ้านเลขที่ 17/2 หมู่ที่ 7 ต.บ้านสระ อ.สามชุก  จ.สุพรรณบุรี จัดการพื้นที่เพาะปลูก 25 ไร่โดยการปลูกข้าว 1 รอบต่อปีและหลังจากการเก็บเกี่ยว จึงทำการปลูกพืชหลังนา โดยเลือกปลูกถั่วเขียวเนื่องจากผลตอบแทนสุทธิ และอัตราผลตอบแทนต่อการลงทุนสูง นอกจากนั้นเกษตรกรทำการเลี้ยงวัวเนื้อ ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ในช่วงการพักนาและเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาภัยแล้งได้อีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งมีกิจกรรมทางการเกษตรดังรูปที่ 1

รูปที่ 1 กิจกรรมทางการเกษตร

เทคนิคการปลูกข้าว

 เกษตรกรเลือกปลูกข้าวพันธุ์หอมปทุมธานี 1เนื่องจากต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยกระโดดหลังขาว และเหมาะกับพื้นที่เพาะปลูกเป็นดินทราย ทำให้การเจริญเติบโตของข้าวได้ดี  ซึ่งเกษตรกรเริ่มจากการเตรียมดินในช่วงต้นเดือน ก.ค. หลังจากนั้นสูบน้ำเข้าพื้นที่ปลูกให้สูงประมาณ 4-5 เซนติเมตร โดยแหล่งน้ำมาจากคลองมะขามเฒ่าอู่ทอง และทำการปั่นโรตารี่ ขลุบดิน เมื่อทำการเตรียมดินครบทุกขั้นตอนแล้วทำการหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวปริมาณ 30 กิโลกรัม/ไร่ โดยเมล็ดพันธุ์ข้าวจะต้องทำการแช่น้ำเป็นระยะเวลา 1 วันและทำการบ่มก่อนการหว่านเพื่อให้มีรากงอก หลังจากนั้นทำการใส่ปุ๋ย 3  ครั้ง  ครั้งที่ 1คือ 30 วันหลังจากการหว่านเมล็ดโดยใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0  เพื่อช่วยให้พืชมีใบสีเขียว มีส่วนในการสังเคราะห์แสง ทำให้พืชเจริญเติบโตมีความสูง ใบเจริญงอกงามมีขนาดใหญ่ ใบสีเขียวเข้ม

  ครั้งที่ คือ 45 วันหลังจากการหว่านเมล็ดโดยใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0  เพื่อเพิ่มผลผลิต ป้องกันแมลงและเชื้อโรคได้ดีมาก โดยเฉพาะ นาข้าว พืชไร่ ทำให้พืชเขียวนาน

  ครั้งที่ 3 คือ 70-75 วันหลังจากการหว่านเมล็ดโดยใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-22-8 ทำให้ต้นข้าวแกร่ง ไม่ล้มง่าย และเพิ่มผลผลิต

เมื่อใส่ปุ๋ยครบทั้ง 3 ครั้งแล้วก็ทำการรอเวลาเก็บเกี่ยวช่วงเดือนตุลาคม ซึ่งผลผลิตที่ได้จะขายในรูปแบบต้นสดเนื่องจากประหยัดเวลและค่าจ้างด้านแรงงาน ส่วนฟางข้าวจะทำการอัดก้อนเพื่อเก็บไว้เป็นอาหารให้กับวัว

เทคนิคการปลูกถั่วเขียว

หลังจากหมดฤดูการปลูกข้าวเกษตรกรทำการเตรียมดินโดยการไถกลบตอซังด้วยผานบุกเบิก  ปั่นโรตารี่ หว่านเมล็ดถั่วเขียว และปั่นโรตารี่กลบเมล็ด ตามลำดับ หลังจากนั้นทำการดูแลวัชพืช และโรคแมลง โดยเกษตรกรกล่าวว่า “จะทำการกำจัดโรคและแมลงเมื่อเห็นอาการที่ผิดปกติเท่านั้น เนื่องจากจะเสียค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน และสารเคมีสูงขึ้น” หลังจากการปลูกเป็นระยะเวลาประมาณ 80-90 วันทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตโดยราคาอยู่ที่ประมาณ 25,000 บาทต่อตัน

การเลี้ยงวัวเนื้อ

วัวเนื้อที่เกษตรกรเลี้ยง คือ พันธุ์บราห์มัน มีทั้งหมด 14 ตัว ได้แก่ แม่พันธุ์ 7 ตัว และลูกพันธุ์ 7 ตัวซึ่งหลักการเลี้ยงวัวเนื้อคือ ต้องให้อาหารและน้ำอย่างเพียงพอเต็มที่ โดยเกษตรกรใช้ฟางข้าวอัดก้อนที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวข้าว และหญ้าเนเปียร์ที่ทำการซื้อจากไร่ เป็นอาหารสำหรับวัว ราคาวัวเนื้อที่เกษตรกรสามารถขายได้ ดังนี้

1.  ตัวผู้ อายุประมาณ 1 ปีราคาอยู่ที่ประมาณ 20,000-25,000 บาท/ตัว

2.  แม่พันธุ์พร้อมลูกในท้อง ราคาอยู่ที่ประมาณ 40,000 บาท/ตัว

การปลูกพืชหลังนาและการเลี้ยงวัวเป็นอีกช่องทางที่ช่วยเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้นและฝ่าวิกฤตภัยแล้งไปได้ แต่เกษตรกรต้องมีการจัดการเพาะปลูกเพื่อวางแผนการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้สิ่งเหลือใช้เช่น ฟางข้าว ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

บทความที่เกี่ยวข้อง

การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง นอกเหนือจากการปรับปรุงบำรุงดิน ร่วมกับการอนุรักษ์ดิน และการใช้พันธุ์มันสำปะหลังพันธุ์ดีแล้ว การจัดการดูแลที่ดีโดยเริ่มตั้งแต่ ฤดูกาลปลูกที่เหมาะสม การเตรียมดินดี การเตรียมท่อนพันธุ์ปลูกระยะปลูกที่เหมาะสม ตลอดจนการใช้ปุ๋เคมีในอัตราที่เหมาะสม การกำจัดวัชพืชเป็นปัจจัยที่
มันสำปะหลังเป็นพืชหัว ส่วนของผลผลิตที่เก็บเกี่ยวคือ ส่วนของหัวที่เกิดจากการขยายใหญ่ของราก ดังนั้น การเตรียมดินที่ดีโดยการไถให้ลึก และพรวนดินให้ร่วนซุย นอกจากจะช่วยทำลายวัชพืชในแปลงปลูกเดิมให้หมดสิ้นแล้ว ยังช่วยให้ดินมีการระบายน้ำได้ดี และมีผลทำให้ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังที่ปลูกสัมผัสกับดินได้มาก