ปัญหาผลผลิตมันสำปะหลังต่ำ เนื่องจากขาดจุลธาตุสังกะสี

ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช มีอยู่ 16 ธาตุ แต่มีเพียง 7 ธาตุ เท่านั้นที่พืชต้องการใช้ในปริมาณน้อยมาก และเราเรียกธาตุเหล่านี้ว่า จุลธาตุ (Micronutrient) ได้แก่ เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) สังกะสี (Zn) ทองแดง (Cu) โบรอน (B) โมลิดินัม (Mo) คลอรีน (Cl) แม้ว่าพืชต้องการธาตุเหล่านี้น้อย แต่ก็มีความจำเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดสังกะสีในมันสำปะหลัง ซึ่งในปัจจุบันเป็นปัญหาของเกษตรกรจำนวนมาก

ความสำคัญของธาตุสังกะสี

เป็นส่วนประกอบที่จำเป็นของเอนไซม์หลายชนิด รวมทั้งออกซิเจนและฮอร์โมนในพืช เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างกรดอินโดลอะเซติก (LAA) เป็นธาตุที่จำเป็นต่อการสร้างคลอโรฟิลล์ และการสร้างเมล็ดพืช ตลอดจนมีบทบาทในการสังเคราะห์โปรตีน ช่วยส่งเสริมการใช้ประโยชน์ของธาตุฟอสฟอรัสและไนโตรเจนในพืช

ลักษณะอาการขาดธาตุสังกะสีในมันสำปะหลัง

พบเห็นโดยทั่วไปในดินด่าง จะมีลักษณะการยืดต้นช้า พบจุดหรือแถบสีขาว หรือเหลือง บนใบอ่อน ใบอาจย่นหรือเปลี่ยนรูปร่าง อาจพบจุดแผลเซลล์ตายในใบล่างและอาจรุนแรงทำให้ต้นตาย ส่งผลถึงความอยู่รอดและผลผลิตมันสำปะหลัง

สาเหตุ

  • พื้นที่มีการชะล้างพังทลายของหน้าดิน ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
  • ปลูกมันสำปะหลังในที่เดิมเป็นเวลานาน ไม่มีการปลูกพืชหมุนเวียน
  • ดินมีความเป็นด่างสูง (pH สูง) หรือดินที่มีแคลเซียม (Ca) สูง
  • เกษตรกรใส่ปุ๋ยธาตุอาหารหลักอย่างเดียว

ข้อแนะนำ

  • ชุบท่อนพันธุ์ด้วยปุ๋ยสังกะสี (ซิงค์ ซัลเฟต) ละลายน้ำในอัตรา 0.4 กก. ต่อน้ำ 20 ลิตร เป็นเวลา 15 นาทีก่อนปลูก
  • ปุ๋ยสังกะสี (ซิงค์ ซัลเฟต) ละลายน้ำอัตรา 0.8 กก. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบที่อายุ 1,2 และ 3 เดือนหลังปลูก หรือเมื่อต้นมันสำปะหลังแสดงอาการขาดธาตุสังกะสี

บทความที่เกี่ยวข้อง

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น สนับสนุน โครงการบริหารจัดการเชื้อพันธุกรรมข้าวโพด โดยดำเนินการภายใต้ศูนย์วิจัยปรับปรุงพันธ์พืชเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน ซึ่งม รศ.ดร.กมล เลิศรัตน์ เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้เก็บ รวบรวมเชื้อพันธุกรรมข้าวโพด เน้นกลุ่มข้าวโพดฝัก
ศัตรูธรรมชาติของแมลงสัตว์ศัตรูข้าวที่สำคัญพบทั่วไป ได้แก่ แมลงห้ำ แมลงเบียน แตนเบียน หนอนกอข้าว แมลงห้ำ แมลงห้ำมี 3 ชนิด คือ ด้วงเต่า แมลงปอ และมวนเขียวดูดไข่ ด้วงเต่า ตัวเต็มวัยมีลักษณะกลม ขนาดประมาณ 0.3 – 0.7 เซนติเมตร ด้านล่างแบนราบ ด้านบนโค้งนูน
สถานการณ์การจำหน่ายน้ำตาลทราย ให้แก่ผู้ประกอบกิจการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกปี พ.ศ. 2559 บริษัทผู้ผลิตสินค้าฯ ได้รับสิทธิซื้อน้ำตาลทรายโควตา ค. จ้านวน 98 บริษัท ปริมาณน้ำตาลทรายที่ให้สิทธิ จ้านวน 3,651,037 กระสอบ (100 กก./กส.) เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ.2558 ร้อยละ 7.32 ณ 31 กรกฏาคม 2559 บริษัทผู้ผลิตสินค้าฯ