ปลูกมันสำปะหลังอย่างไรให้ได้ผลผลิตสูง

การปลูกมันสำปะหลังให้ได้ผลผลิตสูงนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย  ดังนั้นวันนี้จะแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกับ คุณอนันต์ บุญสมปอง บ้านเลขที่ 64/4  หมู่ 2  ต.จอระเข้เผือก อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี อดีตรองผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ปัจจุบันได้ผันมาเป็นเกษตรกรเต็มตัว ซึ่งสามารถผลิตมันสำปะหลังสดได้ 2,000 ตันต่อปี บนพื้นที่กว่า 700 ไร่ รายได้เฉลี่ยปีละ 3,400,000 บาทต่อปี  เรามาดูเทคนิคการเพาะปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกรท่านนี้กันว่าปลูกอย่างไรให้ได้ผลผลิตสูง

ปฏิทินการเพาะปลูกมันสำปะหลัง

โดย7 วันก่อนเริ่มทำการเตรียมดิน คุณอนันต์ จะทำการโรยขี้วัวผสมขี้ไก่ที่ผ่านการตากแดดแล้วลงแปลงเพาะปลูก ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้นแทนการใส่ปุ๋ยรองพื้นก่อนการปลูก หลังจากนั้นจึงเริ่มทำการเพาะปลูกและดูแลรักษามันสำปะหลังตามปฏิทินการเพาะปลูก โดยขั้นตอนการดูแลรักษามันสำปะหลังของคุณอนันต์นั้น  จะพิเศษกว่าเกษตรกรท่านอื่น คือ การให้อาหารเสริมทางใบ  เพื่อป้องกันการระบาดของเพลี้ยแป้งและเพลี้ยไฟ นอกจากนั้นยังช่วยสร้างแป้งให้กับมันสำปะหลังได้โดยตรง ซึ่งจะทำการฉีดพ่นในช่วงเวลาเช้าประมาณ 10 โมง หรือหลัง 5โมงเย็น เนื่องจากเป็นช่วงที่ปากใบพืชเปิดเต็มที่ทำให้พืชสามารถใช้ประโยชน์จากอาหารเสริมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่ออายุมันสำปะหลังครบ 18 เดือน จะทำการเก็บเกี่ยวทันที เนื่องจากมันสำปะหลังมีการสะสมแป้งเต็มที่ และมีน้ำหนักสูงสุด ทำให้ได้ราคาขายที่สูง 

แต่ถ้าหากมันสำปะหลังที่มีอายุเกิน 10 เดือนขึ้นไปได้รับผลกระทบจากภัยแล้งต้องทำการเก็บเกี่ยวทันทีอีกหนึ่งเคล็ดลับที่สำคัญของคุณอนันต์ คือการปลูกมันสำปะหลังต่อทันที เพื่อป้องกันมันสำปะหลังกระทบแล้ง และลดการเกิดวัชพืชในแปลง ถือว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถช่วยลดต้นทุนในการผลิตได้อีกด้วย โดยการปลูกวิธีนี้ไม่ต้องทำการพักแปลง แต่ก่อนการปลูกต้องใส่ปุ๋ยรองพื้น เพื่อเพิ่มธาตุอาหารในดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ และที่ขาดไม่ได้สำหรับการดูแลรักษามันสำปะหลังฉบับคุณอนันต์ นั้นก็คือการให้อาหารเสริมทางใบ  

เทคนิคพิเศษสำหรับการปลูกมันสำปะหลัง

1.  พื้นที่ที่ทำการปลูกมันสำปะหลังมาแล้วอย่างน้อย 2 ปี จะต้องทำการเปลี่ยนพืชปลูกเป็นอ้อยหรือพืชบำรุงดิน เพื่อป้องกันการระบาดของโรคและแมลง และยังเป็นการเพิ่มปุ๋ยในดินได้อีกด้วย

2.  วิธีการคัดเลือกท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง คือ ปราศจากโรค ,ปราศจากแมลง ,อายุ 12 เดือนขึ้นไป และไม่มีบาดแผลที่บริเวณท่อนพันธุ์

จากบทความจะเห็นได้ว่า ถ้าหากเกษตรกรใส่ใจรายละเอียดตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมดิน การปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว และการจัดการหลังการก็บเกี่ยว สามารถเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มกำไร ให้กับเกษตรกรได้อย่างมาก

บทความที่เกี่ยวข้อง

ช่วงหน้าฝนแบบนี้สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยคือปริมาณน้าที่มากขึ้น และความชื้นในอากาศที่สูงขึ้น หากฝนตกติดต่อกันเกินกว่า 2-3 วัน ควรมีการวางแผนที่ดี เพื่อป้องกันและกาจัดโรคพืชที่ตามมาในหน้าฝน ซึ่งเชื้อราเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทาให้เกิดโรคพืชมากที่สุด พืชหลายชนิดเป็นเชื้อราได้ง่าย และมีการระบาดได้อย่างรวดเร็ว
ทำไมต้องเป็นถั่วลิสง? เพราะเป็นพืชที่ต้องการใช้น้ำปริมาณ 611 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ และมีอายุเก็บเกี่ยวที่ 85-110 วัน ซึ่งทำให้พี่น้องชาวอีสานสามารถเพาะปลูกได้ เนื่องจากไม่ต้องหาแหล่งน้ำมากในหน้าแล้ง และใช้เวลาในการเพาะปลูกไม่นาน เป็นการเพิ่มรายได้หลังสิ้นฤดูนาปี “ถั่วลิสง เป็นพืชที่นิยมปลูก