เพราะอะไร เกษตรกรไทยควรผันตัวเป็น
สมาร์ทฟาร์มเมอร์ (Smart Farmer)
ในปัจจุบันนวัตกรรมเข้ามามีบทบาทในการทำเกษตรเป็นอย่างมาก ทำให้รูปแบบการทำเกษตรเกิดการ
เปลี่ยนแปลง เกษตรกรจึงควรปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงนี้ โดยก้าวไปสู่การเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ (Smart Farmer) หรือ เกษตรกรปราดเปรื่อง ผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจด้านเทคโนโลยีและการเกษตร สามารถนำมาปรับใช้ร่วมกันได้อย่างลงตัว ช่วยให้การทำเกษตรมีประสิทธิภาพมากขึ้น
สมาร์ทฟาร์มเมอร์ (Smart Farmer) คืออะไร
สมาร์ทฟาร์มเมอร์ (Smart Farmer) หรือ เกษตรกรปราดเปรื่อง คือ เกษตรกรผู้มีความรู้ความสามารถในการเกษตรด้านใดด้านหนึ่ง เข้าใจถึงความต้องการของตลาด สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยเข้ากับการเกษตร ช่วยให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและปริมาณที่สูง ตอบสนอง
ความต้องการของตลาดได้เป็นอย่างดี โดยยังคงไว้ซึ่งหลักการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นหลัก เป็นผู้นำการเกษตรของไทยเพื่อแข่งขันในระดับโลก
ข้อดีของการศึกษาองค์ความรู้เพื่อเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์
(Smart Farmer)
ข้อดีของการเป็น Smart Farmer มีดังนี้
1. ก้าวมาเป็นผู้เชี่ยวชาญ (Experts) ในสายงานเกษตรที่รับผิดชอบ
สมาร์ทฟาร์มเมอร์ (Smart Farmer) ในปัจจุบัน ต่างมีความเชี่ยวชาญในสายงานใดสายงานหนึ่งของการเกษตรเช่น กสิกรรม, ปศุสัตว์, ประมง, และป่าไม้ โดย Smart Farmer สามารถนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาปรับใช้เพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ เช่น ดินขาดสารอาหาร, ศัตรูพืช, โรคพืชและสัตว์ ฯลฯ ทำการเกษตรได้อย่างสะดวกราบรื่น และสามารถเป็นที่ปรึกษาให้เกษตรกรรายอื่น ๆ ให้ก้าวเข้าสู่การเป็น Smart Famer
ได้เช่นเดียวกัน
2. เปลี่ยนวิถี หรือต่อยอดการทำเกษตรแบบเดิม ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
สมาร์ทฟาร์มเมอร์ (Smart Farmer) ต่างก็เข้าถึงข้อมูลและเทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถนำมาวิเคราะห์ ปรับปรุงและพัฒนาการทำเกษตรให้ดียิ่งขึ้น ช่วยทุ่นแรงทุ่นเวลา ได้รับผลผลิตที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับเช่น เกษตรปลอดภัย, เกษตรอินทรีย์, GMOs (พืชดัดแปลงพันธุกรรม) และ GMP (มาตรฐานการผลิตอาหาร) ทั้งยังสามารถแปรรูปให้ผลผลิตการเกษตรมีมูลค่าเพิ่มขึ้น
3. ปลูกฝังพฤติกรรมการเรียนรู้
ด้วยชุดข้อมูล และเทคโนโลยีการเกษตรที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว ทำให้มีวิธีการทำเกษตรรูปแบบใหม่เพิ่มขึ้นอย่างมากมายในทุกวัน สมาร์ทฟาร์มเมอร์ (Smart Farmer) ควรพัฒนาตนเอง และเพิ่มศักยภาพการเกษตรให้ก้าวทันโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
4. ลดต้นทุน เพิ่มกำไรและคุณภาพ
สมาร์ทฟาร์มเมอร์ (Smart Farmer) ต้องมีความเข้าใจในเรื่องของการตลาด สามารถตอบสนองต่อสิ่งที่ตลาดคาดหวัง รู้ว่าควรผลิตอะไร ให้กับคนกลุ่มใด และใช้วิธีการแบบไหนเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ตลาดต้องการ โดยคำนึงถึงการเพิ่มมูลค่าและการลดต้นทุน สร้างผลกำไร เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีประสิทธิภาพ และแข่งขันในตลาดโลกได้
วิธีการลงทะเบียนเพื่อการเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ (Smart Farmer)
รายละเอียดการสมัครเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ (Smart Farmer) มีดังนี้
1. คุณสมบัติพื้นฐานการเป็น สมาร์ทฟาร์มเมอร์ (Smart Farmer)
- มีอายุระหว่าง 17 – 45 ปี และเริ่มต้นทำเกษตร
- มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการทำเกษตร ต้องการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของตนเอง
สมัครใจเข้าร่วมโครงการ และต้องเข้าร่วมกิจกรรมตลอดระยะเวลาโครงการ - ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตรแล้ว
2. เอกสารประกอบการสมัครสมาร์ทฟาร์มเมอร์ (Smart Farmer)
- เอกสารยื่นขอสมัครสมาร์ทฟาร์มเมอร์ (Smart Farmer) สามารถดาวน์โหลดได้ ที่นี่
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาทะเบียนเกษตรกร / ใบรับรองการขึ้นทะเบียนเกษตรกร
3. ติดต่อขอสมัครเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ (Smart Farmer)
สมัครเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ (Smart Farmer) ได้ที่สำนักงานเกษตรจังหวัด และสำนักงานเกษตรอำเภอ
สรุปทั้งหมด เกี่ยวกับ สมาร์ทฟาร์มเมอร์ (Smart Farmer)
สมาร์ทฟาร์มเมอร์ (Smart Farmer) หรือ เกษตรกรปราดเปรื่อง คือผู้นำการเกษตรยุคใหม่ ที่จะช่วย
ยกระดับประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการทำการเกษตร ช่วยให้เกษตรกรไทยสามารถก้าวทันเทคโนโลยี มีศักยภาพแข่งขันกับนานาประเทศในตลาดโลก ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
คุณก็เรียนรู้การทำเกษตรแบบสมาร์ทฟาร์มเมอร์ (Smart Farmer) ได้! แค่มาเยี่ยมชม KUBOTA FARM
เรียนรู้การเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ (Smart Farmer) เกษตรกรผู้ปราดเปรื่อง ที่ KUBOTA FARM
เยี่ยมชมและสร้างประสบการณ์กับฟาร์มเกษตรยุคใหม่ ที่รวบรวมเทคโนโลยีการเกษตรล้ำสมัยไว้ในที่เดียว เปิดประสบการณ์ก่อนใครแบบไม่มีค่าใช้จ่ายได้ที่นี่ คลิกเลย หรือติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ผ่านช่องทางดังนี้
- KUBOTA CONNECT เบอร์ 02-029-1747
- Facebook Page: Siam Kubota และ Kubota Drone Club – คูโบต้าโดรนคลับ
- ศึกษาข้อมูลสินค้าคูโบต้าผ่านเว็บไซต์ Siam Kubota
- ติดต่อผ่าน LINE Official @siamkubota
- ค้นหาตัวแทนจัดจำหน่าย คลิกที่นี่
อ้างอิงข้อมูล: สำนักงานปลัดกระทรวงการเกษตรและสหกรณ์