คำนวณอย่างไร ให้น้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูกตลอดทั้งปี

ทำอย่างไรให้มีน้ำเพาะปลูกใช้เพียงพอตลอดทั้งปี?

น้ำ เป็นทรัพยากรหลักในการเพาะปลูก หากไม่มีน้ำก็เพาะปลูกไม่ได้ บางทีฝนทิ้งช่วง ผลผลิตก็เสียหาย จะทำอย่างไรดีให้มีน้ำใช้เพียงพอตลอดทั้งปี

การบริหารจัดการน้ำเพื่อให้มีน้ำใช้เพียงพอได้ตลอดทั้งปีจึงเป็นสิ่งจำเป็นมาก จึงควรคิดคำนวณหาวิธีการสำรองน้ำไว้ใช้กัน เริ่มจากการคำนวณว่าในปีหนึ่ง ๆ เรามีความจำเป็นต้องใช้น้ำเพื่อการเกษตรในปริมาณเท่าใด โดยดูจากความต้องการน้ำของพืชที่ปลูก เช่น ภายในแปลงของเราปลูกอ้อย และมันสำปะหลัง เราก็ควรดูความต้องการ การใช้น้ำของอ้อย และมันสำปะหลัง
ว่าเป็นเท่าไหร่  โดยนำปริมาณการใช้น้ำของพืชทั้งสองชนิดมาบวกกัน ก็จะได้ปริมาณการใช้น้ำของพืชในแปลงนั่นเอง

จากนั้นดูปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาทั้งหมดในพื้นที่ว่ามีปริมาณเท่าใด รวมทั้งประเมินช่วงเวลา
ที่ฝนทิ้งช่วง เพื่อที่จะคำนวณได้ว่าต้องสำรองใช้น้ำในปริมาณเท่าใด

จากนั้นจึงสร้างแหล่งกักเก็บน้ำด้วยการขุดบ่อเก็บน้ำให้มีความจุเพียงพอ

นำปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาในพื้นที่บวกกับปริมาณน้ำในบ่อที่สำรองไว้ นำไปหักลบ
กับความต้องการน้ำของพืชที่ปลูก ผลต่างต้องเหลือเป็นบวก น้ำที่กักเก็บไว้ใช้
จึงจะเพียงพอต่อความต้องการนั่นเอง

ดาวน์โหลด :

ที่มาของข้อมูล :

บทความที่เกี่ยวข้อง

การเพาะกล้าถือเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของข้าว และลดการสูญเสียต้นทุน หากเพาะกล้าได้ดี การทำนาในขั้นตอนต่อไปก็จะดีตามไปด้วย ในบทความนี้ KUBOTA จะมาเผยเทคนิคการเพาะกล้าฉบับคูโบต้า จะมีอะไรบ้างตามไปดูกันเลย
ทำไมต้องเป็นถั่วลิสง? เพราะเป็นพืชที่ต้องการใช้น้ำปริมาณ 611 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ และมีอายุเก็บเกี่ยวที่ 85-110 วัน ซึ่งทำให้พี่น้องชาวอีสานสามารถเพาะปลูกได้ เนื่องจากไม่ต้องหาแหล่งน้ำมากในหน้าแล้ง และใช้เวลาในการเพาะปลูกไม่นาน เป็นการเพิ่มรายได้หลังสิ้นฤดูนาปี “ถั่วลิสง เป็นพืชที่นิยมปลูก
เปิดมุมมองการลงทุน PFAL ในวันที่สภาพอากาศไม่เป็นใจต่อการเพาะปลูก เพราะ PFAL สามารถควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ในการเพาะปลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถปลูกพืชได้ตลอดทั้งปี