ปลูกผักในโรงเรือน เทคนิคการเพาะปลูกนอกฤดู สร้างรายได้ตลอดปี

ปลูกผักในโรงเรือน เทคนิคการเพาะปลูกนอกฤดู สร้างรายได้ตลอดปี

ในยุคปัจจุบันที่สภาพอากาศแปรปรวนจากภาวะโลกเดือด (Global Boiling) ทำให้เกษตรกร
เพาะปลูกพืชผักลำบากมากขึ้น การปลูกผักในโรงเรือนจึงอาจะเป็นทางออกที่ดี ที่มีประสิทธิภาพ
ที่สูง และตอบโจทย์วิกฤตที่เกษตกรกำลังเผชิญอยู่ได้ มาเรียนรู้เทคนิคการปลูกผักในโรงเรือน สร้างผลผลิตได้ตลอดปีในบทความนี้กับ KAS

ปลูกผักในโรงเรือน คืออะไร

การปลูกผักในโรงเรือน คือ การปลูกผักในที่ร่ม ภายในโรงเรือนหรือสิ่งก่อสร้าง เพื่อป้องกันแมลงทำลายพืชผัก และกันฝน ชะล้างธาตุอาหารบริเวณหน้าดิน ทำให้พืชเติบโตช้าลง

โรงเรือนปลูกพืชในประเทศไทย

โดยปกติโรงเรือนในประไทยจะมีข้อดีดังที่ได้กล่าวไป แต่ยังมีอีกหนึ่งทางเลือกคือ Evap
หรือภาษาที่เรียกกันทั่วไปว่า พัดลมอีแวป (Evaporative Cooling System) ที่ช่วยลดอุณหภูมิจากภายนอกได้ถึง 5 องศา ช่วยให้มีอุณหภูมิที่เหมาะสมสามารถปลูกพืชได้ตลอดปี แม้นอกฤดูกาลเพาะปลูกที่สภาพอากาศไม่เป็นใจ

โรงเรือนที่เหมาะสำหรับปลูกผักในโรงเรือน

เทคนิคการปลูกผักในโรงเรือน สร้างผลผลิตดี มีคุณภาพสูง

10 เทคนิคการปลูกผักในโรงเรือน มีดังนี้

1. การเลือกพืชและสายพันธุ์

การเลือกพืชและสายพันธุ์ คือ ขั้นตอนแรกของการปลูกผักในโรงเรือน ซึ่งจะส่งผลไปยังขั้นตอนต่อไปทั้งหมด ดังนั้นเกษตรกรควรเลือกให้ดี โดยควรเลือกสายพันธุ์ที่ราคาสูง ตลาดต้องการ อัตรางอกดี ให้ผลผลิตได้มาก มีภูมิต้านทานต่อศัตรูพืช และตอบสนองต่อธาตุอาหารพืชได้ดี เพื่อให้คุ้มค่ากับการลงทุน

ผักที่เหมาะสำหรับปลูกผักในโรงเรือน

2. การเลือกโรงเรือน

หลังจากที่ได้สายพันธุ์พืชที่จะปลูกแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการเลือกโรงเรือน ซึ่งโรงเรือนมีหลากหลายประเภท เช่น ทรงโค้ง ทรงจั่ว ทรงฟันเลื่อย ฯลฯ ซึ่งมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป เกษตรกรควรเลือกโรงเรือนให้ตรงกับพืชที่จะเพาะปลูก เนื่องจากส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยตรง อีกทั้งยังต้องเหมาะสมกับขนาดพื้นที่ของเกษตรกร โดยโรงเรือนสามารถติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ เพิ่มเติมได้ เช่น เครื่องปรับอุณหภูมิ เครื่องวัดความชื้น ระบบน้ำอัตโนมัติ เป็นต้น เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับพืช

3. การเตรียมพื้นที่หรือภาชนะเพาะปลูก

การเตรียมพื้นที่หรือภาชนะเพาะปลูกภายในโรงเรือนถือเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้ขั้นตอนใด หากปลูก
ลงในดินควรนำดินไปปรับปรุงคุณภาพให้มีความเหมาะสมกับพืชที่ปลูกก่อน หรือหากปลูก
แบบไร้ดินก็ต้องเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ตามระบบที่ปลูก เช่นปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponic) ก็ต้องเตรียมระบบรางน้ำ เป็นต้น

4. คัดเลือกเมล็ดพันธุ์

การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ คือ ขั้นตอนการตรวจเช็กเมล็ดพันธุ์ว่ามีคุณภาพดีหรือไม่ โดยดูจากความสมบูรณ์ภายนอกของเมล็ดพันธุ์ผ่านสายตา หรือนำไปแช่น้ำซึ่งเมล็ดพันธุ์จะแบ่งออกเป็น
2 กลุ่ม คือ

  • กลุ่มที่จม หมายถึง เมล็ดพันธุ์มีคุณภาพดี มีโอกาสงอกสูง
  • กลุ่มที่ลอย หมายถึง เมล็ดพันธุ์คุณภาพต่ำ มีโอกาสงอกต่ำ

ดังนั้นการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์แบบแช่น้ำ ควรเลือกเมล็ดพันธุ์ที่จม เพื่อให้เมล็ดงอกสม่ำเสมอกัน ลดต้นทุนการเพาะกล้าและช่วยคัดเกรดเมล็ดพันธุ์เพิ่มอัตราการงอกได้ดีขึ้น

5. การเพาะกล้า

หลังจากที่ได้เมล็ดพันธุ์ที่ดีแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการเพาะกล้ามีขั้นตอน ดังนี้

  1. นำเมล็ดพันธุ์คุณภาพดี แช่ในน้ำอุ่นที่มีอุณหภูมิ 50-55 องศา เป็นเวลา 1 ชั่วโมง
  2. ต่อมานำเมล็ดขึ้นและห่อด้วยผ้าชุบน้ำที่บิดหมาด นำใส่ในพลาสติกปิดฝา และเก็บไว้ในที่ร่ม
  3. หลังจากนั้นให้มาเตรียมถาดเพาะโดยนำวัสดุเพาะกล้าลงในถาดเพาะปาดให้เรียบเสมอกัน
  4. เจาะรูให้มีความลึก 0.5 – 1 ซม. และ หยอดเมล็ด 2-3 เมล็ด/ หลุม กลบด้วยวัสดุเพาะและรดน้ำให้ชุ่ม หว่านปูนขาวเพื่อป้องกันแมลง
  5. นำถาดเพาะไปเก็บไว้ในที่ร่มเพื่อบ่มให้เมล็ดงอกพร้อมกัน
  6. โดยเมล็ดจะงอกภายใน 7 วัน ซึ่งจะเติบโตเป็นต้นกล้าที่พร้อมปลูกใน 10 – 30 วัน
    โดยขึ้นอยู่กับชนิดของพืช
  7. ผักตระกูลแตง จะใช้ต้นกล้าอายุ 7 – 10 วัน
  8. ผักคะน้าหรือกวางตุ้ง จะใช้ต้นกล้าอายุ 10 – 15 วัน

6. การย้ายกล้าลงปลูก

เมื่อได้กล้าที่เติบโตแล้ว ให้ทำการย้ายลงดินที่เตรียมไว้ โดยต้องเว้นระยะห่างของกล้าและความลึกของหลุมให้พอดี โดยในช่วงอาทิตย์แรก ควรทำหมวกกระดาษหรือตาข่ายสำหรับพรางแสง
เพื่อให้กล้าปรับตัว ประมาณ 1-2 อาทิตย์ เมื่อกล้าแข็งแรงดีแล้วให้ถอดออก ให้พืชสังเคราะห์แสงตามปกติ

ปลูกผักในโรงเรือน

7. การรดน้ำและใส่ปุ๋ย

เมื่อปลูกพืชเสร็จแล้ว เกษตรกรควรหมั่นรดน้ำและหว่านปุ๋ยในปริมาณที่พอเหมาะ และเหมาะสม
กับพืชที่เพาะปลูก โดยรดน้ำเป็นประจำเช้า – เย็น ซึ่งควรระวังการรดน้ำที่มากเกินไปเพราะ
อาจทำให้รากเน่าได้ และควรหมั่นหว่านปุ๋ยเพื่อไม่ให้พืชขาดธาตุอาหาร ซึ่งอาจทำให้
การเจริญเติบโตของพืชหยุดชะงัก

8. การควบคุมศัตรูพืชและโรคพืช

ปลูกผักในโรงเรือน จะช่วยลดความเสี่ยงจากศัตรูและโรคพืชได้เป็นอย่างดี แต่เกษตรกร
ควรหมั่นตรวจสอบโรงเรือนปลูกผักอย่างสม่ำเสมอ และมีการฉีดพ่นสารชีวภัณฑ์เป็นประจำ
เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกันไม่ให้พืชเกิดความเสียหาย

9. การจัดการและการดูแลพืช

พืชแต่ละชนิดมีวิธีการดูแลที่แตกต่างกันออกไป เช่น พืชที่ให้ผลอย่าง มะเขือเทศ เมลอน
จำเป็นต้องผสมเกสรถึงจะสามารถสร้างผลผลิตได้ โดยเกษตรกรต้องศึกษาวิธีการผสมเกสร
ที่เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิด นอกจากนี้ยังสามารถนำแมลงที่ช่วยผสมเกสร เช่น ผึ้ง ต่อ
ผีเสื้อ ฯลฯ เข้ามาในโรงเรือนเพาะปลูกแต่ต้องทำด้วยความระมัดระวัง หรือถ้าอยากศึกษา
การผสมเกสรด้วยตัวเองคลิกที่นี่

10. การเก็บเกี่ยวผลผลิตและการดูแลหลังเก็บเกี่ยว

เมื่อผักเข้าสู่ระยะเก็บเกี่ยว เกษตรกรควรเริ่มเก็บเกี่ยวด้วยวิธีการที่เหมาะสม เช่น ตัด เด็ด
ดึง ฯลฯ โดยใช้อุปกรณ์ที่สะอาด เพื่อให้ผลผลิตมีความสมบูรณ์ รสชาติดี สีสันสวยงาม
และไร้สารปนเปื้อน

ประโยชน์ของการปลูกผักในโรงเรือน

ข้อดีของการปลูกผักในโรงเรือน

ข้อดีของการปลูกผักในโรงเรือน มีดังนี้

  • เพิ่มผลผลิต: การปลูกผักในโรงเรือน จะช่วยลดความเสี่ยงจากฝนที่ชะล้างแร่ธาตุบริเวณหน้าดิน และแมลงที่จะเข้ามาทำลายผัก ช่วยให้ผักเติบโตได้อย่างแข็งแรง สร้างผลผลิต
    ที่สมบูรณ์ ไม่มีร่องรอยการกัดหรือแทะ
  • สร้างรายได้ตลอดปี: การปลูกผักในโรงเรือนช่วยให้สามารถผลิตผักได้ตลอดปี
    ไม่ต้องพึ่งพาฤดูกาล สร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง
  • ลดความเสี่ยงจากศัตรูพืชและโรคพืช: โรงเรือนเป็นพื้นที่ปิด สามารถป้องกันเชื้อโรค
    และแมลงศัตรูพืชต่าง ๆ ที่อาจทำให้พืชอ่อนแอหรือกัดกินผลผลิตให้เสียหาย
  • ลดการใช้สารเคมี: โรงเรือนบางชนิดสามารถป้องกันแมลงได้ จึงสามารถลดการใช้สารกำจัดโรคและแมลงลงได้

สรุปเกี่ยวกับการปลูกผักในโรงเรือน เทคนิคสร้างรายได้แบบเกษตรกรยุคใหม่

การปลูกผักในโรงเรือน คืออีกหนึ่งในวิธีการเพาะปลูกที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกรยุคใหม่
ช่วยให้ควบคุมการเพาะปลูกได้ทุกกระบวนการ ตั้งแต่คัดเลือกสายพันธุ์ไปจนถึงการเก็บเกี่ยว เกษตรกรควรเริ่มศึกษาการปลูกผักในโรงเรือนอย่างจริงจัง เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีมีราคา
สร้างรายได้ตลอดปี ศึกษาการปลูกผักในโรงเรือนได้แล้วที่ KUBOTA FARM คลิกเลย

อ้างอิงข้อมูลจาก
RMUTSB, DOAE, MJU

ดาวน์โหลด :

ที่มาของข้อมูล :

บทความที่เกี่ยวข้อง

สยามคูโบต้า นำองค์ความรู้ KUBOTA (Agri) Solutions เกษตรครบวงจร ไปต่อยอดและพัฒนาเกษตรกร ด้วยการทำแปลงทดสอบการปลูกพืชหมุนเวียน (Revolving crop model) ในพื้นที่นาข้าว ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทำนาห้วยตาดข่า จ.อุดรธานี โดยร่วมกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชขอนแก่น กรมวิชาการเกษตร
ภัยแล้ง คือปัญหาที่เรามักได้ยินเป็นประจำ เป็นปัญหาใหญ่ที่สร้างผลกระทบในหลากหลายภาคส่วน โดยเฉพาะภาคการเกษตรที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ดังนั้นในบทความนี้ KUBOTA จะพาไปทำความรู้จักกับภัยแล้ง พร้อมแนะนำวิธีการรับมือ จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย