บันทึกปฏิทินการเพาะปลูก

การเกษตรแบบไม่ยุ่งยาก ทำได้จริงหรือ?

ในวันที่สภาพอากาศแปรปรวน โรคและแมลงศัตรูพืชทวีความรุนแรงขึ้นทุกวัน การทำเกษตร
จึงเต็มไปด้วยความผันผวน วิธีการทำเกษตรแบบเดิม ๆ อาจไม่ได้ผลผลิตทางการเกษตรที่ดี
ดังเดิม

“บันทึกปฎิทินการเพาะปลูก” (KAS Crop Calendar on LINE) จาก KAS
ผู้ช่วยด้านการเกษตรที่ใช้งานได้สะดวกง่ายดาย เป็นแหล่งข้อมูลการเพาะปลูก
และบันทึกข้อมูลทางการเกษตร ทำให้เกษตรกรสามารถวางแผนบริหารจัดการ
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

วิธีการใช้งานสะดวกง่ายดาย เพียงเข้าไปที่ LINE Official (LINE OA) : @siamkubota
แล้วคลิกเมนูด้านล่าง “KAS บันทึกปฏิทินการเพาะปลูก”

บันทึกปฏิทินเพาะปลูก ช่วยให้เกษตรกรสร้างแผนที่การเพาะปลูกได้ด้วยตนเอง
สามารถวาดแผนที่แปลง ระบุข้อมูลแปลงเพื่อบันทึกผล

ช่วยแนะนำขั้นตอนในการเพาะปลูก เกษตรกรสามารถจัดการกับข้อมูลการทำงานได้ด้วยตัวเอง
ไม่ว่าจะเป็นการบันทึก หรือแก้ไขข้อมูล บันทึกรายรับรายจ่าย

ทั้งยังสรุปภาพรวมการเพาะปลูก และรายได้สำหรับการเพาะปลูกในรอบนั้น ๆ ให้เกษตรกร
เห็นภาพได้อย่างชัดเจน เพื่อสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์และวางแผนการเพาะปลูกในรอบถัดไป

ระหว่างการใช้งาน ระบบยังแจ้งเตือนการทำงานในขั้นตอนต่อไปล่วงหน้า 1 สัปดาห์
ผ่านทาง LINE OA อีกด้วย

ที่สำคัญ KAS Crop Calendar on LINE บันทึกปฏิทินการเพาะปลูก ยังใช้งานได้ทุกที่ สะดวกสบาย ง่ายดายผ่านทางมือถือ โดยสามารถเข้าใช้งานได้ที่ LINE : @Siamkubota แล้วคลิก “KAS Crop Calendar บันทึกปฏิทินการเพาะปลูก” หรือเข้าใช้งานที่เว็บไซต์ KAS ได้ที่ https://kas.siamkubota.co.th/cropcalendar-on-line

ดาวน์โหลด :

ที่มาของข้อมูล :

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทำไมต้องเป็นถั่วลิสง? เพราะเป็นพืชที่ต้องการใช้น้ำปริมาณ 611 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ และมีอายุเก็บเกี่ยวที่ 85-110 วัน ซึ่งทำให้พี่น้องชาวอีสานสามารถเพาะปลูกได้ เนื่องจากไม่ต้องหาแหล่งน้ำมากในหน้าแล้ง และใช้เวลาในการเพาะปลูกไม่นาน เป็นการเพิ่มรายได้หลังสิ้นฤดูนาปี “ถั่วลิสง เป็นพืชที่นิยมปลูก
ชีวภัณฑ์ มิตรคู่เกษตรกร ผู้ปกป้องพืชผักจากศัตรูพืช วิธีการเกษตรที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีห่วงโซ่อาหารเข้ากับเกษตรกรรมอย่างลงตัว อีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจในยุคที่การใช้สารเคมีไม่ตอบโจทย์สำหรับผู้บริโภค เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งชีวภัณฑ์คืออะไร ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพจริงหรือไม่ หาคำตอบได้ในบทความนี้กับ KUBOTA