เครื่องยนต์ 4 จังหวะ คืออะไร แตกต่างจากเครื่องยนต์ 2 จังหวะอย่างไร?

เครื่องยนต์ 4 จังหวะ คืออะไร แตกต่างจากเครื่องยนต์ 2 จังหวะอย่างไร?

เครื่องยนต์ 4 จังหวะ คือ ขุมพลังสำหรับเครื่องจักร ที่จะคอยส่งพลังงานให้เครื่องจักร
ขับเคลื่อนทำงานในด้านต่าง ๆ เช่นการเกษตร การก่อสร้าง อุตสาหกรรม ฯลฯ ช่วยทดแทนแรงงาน ลดค่าใช้จ่าย โดยเครื่องยนต์ 4 จังหวะคืออะไร มีข้อดีอย่างไร ขั้นตอนการทำงาน
แบบไหน ในบทความนี้ KUBOTA จะมาอธิบายให้ฟัง

เครื่องยนต์ 4 จังหวะ คืออะไร

เครื่องยนต์ 4 จังหวะ คือ เครื่องยนต์ที่มีการทำงานของลูกสูบแบ่งออกเป็น 4 จังหวะ ได้แก่ ดูด, บีบอัด,ระเบิด และคาย เมื่อทำครบ 4 จังหวะก็จะกลับมาเริ่มใหม่อีกครั้ง เพื่อเปลี่ยนส่วนผสมไอดี (อากาศ + น้ำมัน) ให้เป็นพลังงานกล แล้วส่งออกไปขับเคลื่อนเครื่องจักรเพื่อทำงานต่าง ๆ

ข้อดีของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ

เครื่องยนต์ 4 จังหวะ มีข้อดีอยู่ 5 ข้อดังนี้

  • ประหยัดน้ำมัน เครื่องยนต์ 4 จังหวะ มีการเผาไหม้สมบูรณ์ สร้างพลังงานได้มากทำให้ลดการใช้น้ำมัน
  • มลพิษต่ำ เครื่องยนต์ 4 จังหวะ สามารถเผาไหม้ได้สมบูรณ์ ทำให้ปล่อยไอเสียน้อย
  • เสียงเบา เครื่องยนต์ 4 จังหวะเดินเรียบ ทำให้เกิดเสียงน้อย
  • ดูแลรักษาง่าย หาอะไหล่ได้ง่ายกว่า เนื่องจากปัจจุบันเครื่องยนต์ 4 จังหวะ เป็นมาตรฐานของการใช้งานในปัจจุบัน
  • ปรับแต่งเครื่องยนต์ได้มากกว่า มีชิ้นส่วนที่มากกว่าทำให้สามารถปรับแต่งได้หลากหลาย

เครื่องยนต์ 4 จังหวะ มีขั้นตอนการทำงานอย่างไร

เครื่องยนต์ 4 จังหวะมีขั้นตอนการทำงานดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 จังหวะดูด

ลูกสูบที่อยู่ด้านบนลงสู่ด้านล่าง วาล์วไอดีที่อยู่ด้านบนจะเปิดออก เพื่อดูดอากาศและน้ำมัน
เข้าสู่กระบอกสูบ เรียกว่าส่วนผสมไอดี และวาล์วไอดีจะปิดลงเมื่อสิ้นสุดจังหวะดูด

ขั้นตอนที่ 2 จังหวะอัด

ทำงานต่อจากจังหวะดูด โดยกระบอกสูบจะเคลื่อนตัวจากล่างขึ้นสู่ด้านบน และบีบอัดส่วนผสมไอดีให้รวมกัน

ขั้นตอนที่ 3 จังหวะกำลัง

เมื่อส่วนผสมไอดีรวมกันแล้ว จังหวะนี้หัวเทียนจะทำการจุดระเบิด และเผาไหม้ส่วนผสมไอดี
แรงดันจากการระเบิดจะดันกระบอกสูบ และลูกสูบกลับลงสู่ด้านล่างอีกครั้ง

ขั้นตอนที่ 4 จังหวะการคาย

กระบอกสูบและลูกสูบ ที่ถูกดันลงไปด้านล่างจะกลับขึ้นสู่ด้านบนอีกครั้ง พร้อมเปิดวาล์วไอเสีย เพื่อระบายไอเสียให้ออกไปสู่ภายนอก

ขอบคุณภาพจาก : rmutsb

เครื่องยนต์ 4 จังหวะแตกต่างจากเครื่องยนต์ 2 จังหวะอย่างไร

เครื่องยนต์ 4 จังหวะแตกต่างจากเครื่องยนต์ 2 จังหวะดังนี้

  • ด้านไอเสีย – เครื่องยนต์ 2 จังหวะ มีการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ทำให้ปล่อยไอเสียออกมามากกว่า เครื่องยนต์ 4 จังหวะ
  • ด้านมลภาวะเสียง – เครื่องยนต์ 2 จังหวะมีรอบเดินเครื่องยนต์ที่ไม่เรียบ ทำให้มีเสียงดัง และแหลมมากกว่า เครื่องยนต์ 4 จังหวะ  
  • ด้านความเร็วออกตัว – เครื่องยนต์ 2 จังหวะออกตัวได้เร็วกว่า เพราะจังหวะ
    การทำงานต่อรอบสั้นกว่า ทำให้สามารถออกตัวได้ไวกว่าเครื่องยนต์ 4 จังหวะ
  • ด้านการประหยัดน้ำมัน – เครื่องยนต์ 2 จังหวะใช้น้ำมันมากกว่า เพราะเผาไหม้เชื้อเพลิงได้ต่ำทำให้จำเป็นต้องใช้น้ำมันปริมาณเพื่อสร้างพลังงาน ซึ่งต่างจากเครื่องยนต์ 4 จังหวะที่เผาไหม้ได้สมบูรณ์
  • ด้านการสึกหรอเครื่องยนต์ – เครื่องยนต์ 2 จังหวะสึกหรอไว เพราะระบายความร้อนได้น้อยกว่า เครื่องยนต์ 4 จังหวะ

สรุปทั้งหมด เกี่ยวกับเครื่องยนต์ 4 จังหวะ

เครื่องยนต์ 4 จังหวะ แหล่งกำเนิดพลังงานเครื่องจักรยอดนิยมในปัจจุบัน ด้วยการเผาไหม้
ได้สมบูรณ์ สร้างพลังงานได้มาก ประหยัดน้ำมัน เสียงเบา ไอเสียต่ำ ซ่อมบำรุงง่าย และปรับแต่งได้หลากหลาย ช่วยให้เจ้าของธุรกิจ ทุ่นแรง ทุ่นเวลา ประหยัดต้นทุน และสร้างผลกำไรได้มากขึ้น

ลงทุนเครื่องยนต์ดีเซลคูโบต้า เพื่องานเกษตรที่ดียิ่งกว่าต่อโลก

ลงทุนทั้งทีต้องเครื่องยนต์ดีเซลคูโบต้า แข็งแรง ทนทาน ซ่อมบำรุงง่าย ด้วยเครื่องยนต์ดีเซล
4 จังหวะ มาพร้อมกับ

  • ถังน้ำมันขนาด 10.5 ลิตร สำหรับเครื่องยนต์ขนาด 10-15.5 แรงม้า และ 14.5 ลิตร สำหรับเครื่องยนต์ขนาด 18 แรงม้า  ช่วยให้ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง
  • ตะแกรงเหล็กฝั่งพัดลมและหม้อน้ำ ทนทาน ป้องกันการกระแทก และช่วยดักจับฝุ่น
    ลดการอุดตันในหม้อน้ำ และป้องกันเครื่องร้อน
  • ฝาครอบเครื่องยนต์ ลดความเสียหายที่อาจะเกิดขึ้นกับหม้อน้ำ และชิ้นส่วนในเครื่องยนต์
  • ลดการสั่นสะเทือนด้วยจุดยึด 3 จุด
  • ไฟหน้าสว่าง
  • ช่องมองน้ำมันแบบหลอดใส PVC
  • สามารถนำไปใช้เป็นต้นกำลัง เพื่อทำงานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสูบน้ำ เตรียมดิน
    เพื่อทำการเกษตร ขนส่ง ปั่นไฟ เป็นต้น

สนใจสั่งซื้อหรืออ่านรายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องยนต์ดีเซลคูโบต้าเพิ่มเติม คลิกเลย

หากคุณต้องการสั่งซื้อ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมของเครื่องยนต์ดีเซลคูโบต้าติดต่อสอบถามได้ทันทีผ่านช่องทางดังต่อไปนี้

ดาวน์โหลด :

ที่มาของข้อมูล :

บทความที่เกี่ยวข้อง

สำหรับการปรับปรุงบำรุงดินทำได้หลากหลายวิธี โดยการใช้อินทรียวัตถุในรูปแบบต่างๆ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักปุ๋ยหมักชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยพืชสด การใช้วัสดุคลุมดินหรือการไถกลบตอซังของพืชที่ปลูก แต่หลายๆวิธีการที่กล่าวมานั้นต้องมีการจัดเตรียมหรือจัดหามาจากแหล่งภายนอก บางครั้งต้องเสียค่าใช้จ่าย วิธีการไถกลบ
การทำนาดำในปัจจุบันมีหลายวิธีการในการผลิต และยังมีการนำเครื่องจักรกลต่างๆมาใช้ในกระบวนการผลิตมากขึ้น หากเกษตรกรเลือกวิธีการและการใช้เครื่องจักรกลไม่เหมาะสมกับการทำงาน จะส่งผลให้ผลผลิตเสียหาย และต้นทุนในการผลิตสูง ดังนั้นวันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการผลิตและการเลือกใช้เครื่องจักรกลให้เหมาะสมกับกระบวนการ