Smart Farm คืออะไร การทำเกษตรอัจฉริยะ ควบคุมด้วยเทคโนโลยี

Smart Farm คืออะไร การทำเกษตรอัจฉริยะ ควบคุมด้วยเทคโนโลยี

Smart Farm หรือ Smart Agriculture อีกขั้นของรูปแบบการทำเกษตรยุคใหม่ที่สามารถยกระดับ
งานเกษตรเพื่อสร้างผลกำไรและเพิ่มเติมคุณภาพชีวิตให้กับเกษตรกรไทยได้อย่างมหาศาล บทความนี้ KUBOTA จะมาอธิบายเกี่ยวกับ Smart Farm การทำเกษตรอัจฉริยะให้เกษตรกรไทยทุกรายแบบง่าย ๆ
มีอะไรที่ต้องรู้บ้าง มาดูกันเลย

Smart Farm คืออะไร

สมาร์ทฟาร์ม (Smart Farm) หรือ Smart Agriculture หรือรู้จักในชื่อ เกษตรอัจฉริยะ คือการเกษตรรูปแบบใหม่ที่นำเทคโนโลยีมาเพื่อใช้ทุ่นแรงและใช้ประมวลผลข้อมูล (Data) ในการบริหาร
ทำงานเกษตรที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิต Smart Farm จึงเป็นเทคโนโลยีที่นำมาใช้คาดการณ์แนวโน้ม
เพื่อปรับตัวให้สอดคล้องกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้นั่นเอง

Smart Farm

Smart Farm มีความสำคัญอย่างไรในปัจจุบัน

ปัจจุบันมีปัจจัยหลายด้านที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง และส่งผลกระทบต่อการทำเกษตรมากมาย ไม่ว่าจะเป็น
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โรคพืช โรคแมลง ฝนตกไม่แน่นอน ก่อให้เกิดปัญหาในการบริหารจัดการน้ำ เกิดพื้นที่น้ำท่วม-แล้งซ้ำซาก เป็นต้น การทำเกษตรรูปแบบเก่าอาจไม่สามารถสร้างผลผลิตได้มากเท่าที่เคยทำได้อีกต่อไป ดังนั้น Smart Farm หรือ Smart Agriculture จึงเข้ามามีส่วนสำคัญในการใช้เทคโนโลยีเพื่อเก็บข้อมูล (Data) ในการผลิต ติดตามและวิเคราะห์กระบวนการทำงาน ตรวจสอบ คาดเดา อันนำไปสู่การปรับปรุงกระบวนการในการทำงาน รวมไปถึงการทุ่นแรงการทำเกษตร ตั้งแต่ การปรับพื้นที่ เตรียมดิน ไปจนถึง การเก็บเกี่ยว ผ่านการใช้เครื่องจักรกลอัจฉริยะ เพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต
ให้เกษตรกร เรียกได้ว่า Smart Farm เข้ามาช่วยได้ครบวงจรงานเกษตรเลยทีเดียว

Smart Agriculture

Smart Farm การทำเกษตรอัจฉริยะในแต่ละขั้นตอน

Smart Farm หรือเกษตรฉริยะ จะช่วยให้แต่ละขั้นตอนของงานเกษตรมีประสิทธิภาพมากขึ้นดังนี้

  1. Precision Planting – ลงเมล็ดพันธุ์ให้เหมาะสมกับดิน ตามประเภทของพืช ด้วยปริมาณเมล็ด
    ที่เหมาะสม
  2. Precision Fertilizing – ให้ปุ๋ยในปริมาณที่แตกต่างกันตามความต้องการของธาตุอาหารในดินในแต่ละพื้นที่
  3. Precision Spraying – ฉีดสารบำรุงพืช กำจัดวัชพืชในปริมาณที่แตกต่างกัน ตามความหนาแน่นของวัชพืชในแต่ละจุด หรือฉีดพ่นไปยังวัชพืชโดยตรง โดยไม่เกิดการสูญเสียสารโดยไม่จำเป็น
  4. Precision Irrigation – ระบบให้น้ำอัจฉริยะ ที่ให้น้ำตามค่าความชื้นในดิน และความต้องการน้ำของพืชในแต่ละช่วงอายุ

เทคโนโลยีที่นำมาใช้สำหรับ Smart Farm

ตัวอย่างของเทคโนโลยี Smart Farm หรือเกษตรอัจฉริยะมีดังนี้

  • โดรน (Drone) – บินสำรวจ เก็บข้อมูลพื้นที่ หว่านเมล็ด พ่นยา
  • เครื่องจักรกลการเกษตร (Agricultural Machinery) เช่น แทรกเตอร์ รถขุด
    รถเกี่ยวนวดข้าวที่ติดตั้งระบบ GPS Telematics ติดตามข้อมูลการทำงาน และพฤติกรรม
    การใช้งานเครื่องจักรได้ จึงวางแผนการทำงานได้อย่างเหมาะสม เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้เครื่องจักร
  • ระบบ IoT (Internet of Things)  ใช้เทคโนโลยี IoT ช่วยเก็บข้อมูลที่ต้องการโดยอัตโนมัติ ประหยัดทรัพยากรและค่าใช้จ่าย เช่น การใช้เซนเซอร์วัดความชื้นในดิน เซนเซอร์วัดแสง เซนเซอร์ตรวจจับแมลง และสถานีตรวจวัดอากาศ เพื่อเก็บข้อมูล วิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูล
    สภาพแวดล้อม ว่าพื้นที่เพาะปลูกในแต่ละพื้นที่ควรได้รับน้ำ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ปริมาณเท่าไรจึงจะ
    เหมาะสม ช่วยประหยัดทรัพยากรทางการเกษตร
  • ระบบคาดการณ์การเพาะปลูกล่วงหน้า (Predictive Analytic) ใช้คาดการณ์เหตุการณ์
    หรือความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับผลผลิต เพื่อช่วยตัดสินใจ เช่น คาดการณ์วันเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม
  • ระบบจัดการโรงเรือนอัตโนมัติ (Greenhouse Automation) ติดตามและควบคุม
    สภาพแวดล้อมในการเพาะปลูกภายในโรงเรือน เช่นการไหลเวียนอากาศ ความชื้น แสง
    สรุปข้อมูลภาพรวมภายในโรงเรือนได้อัตโนมัติ
  • ใช้เพื่อรวบรวม จัดเก็บข้อมูลในการทำเกษตร เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตให้ดียิ่งขึ้น
โดรน Smart Farm

ข้อดีของการทำเกษตรอัจฉริยะ Smart Farm

ข้อดีของการทำเกษตรอัจฉริยะ Smart Farm มีดังนี้

  1. เพิ่มผลผลิตและคุณภาพของผลผลิต – Smart Farm ช่วยให้เกษตรกรสามารถวิเคราะห์พันธุ์ของเมล็ดพันธุ์ พื้นที่ปลูกที่เหมาะสม และปัจจัยอื่น ๆ ที่เพิ่มผลผลิตให้ได้มากขึ้นเหนือกว่าการทำเกษตรรูปแบบเดิม
  2. ลดต้นทุนการผลิต – เทคโนโลยี Smart Farm ช่วยให้เกษตรกรสามารถคำนวณปริมาณปุ๋ยและเมล็ดพันธุ์ได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ไม่สิ้นเปลืองทรัพยากร
  3. รักษาสิ่งแวดล้อม – จากการวิเคราะห์การใช้ทรัพยากรที่แม่นยำ ทำให้เกษตรกรลดการใช้น้ำ ปุ๋ย สารเคมี ต่าง ๆ ลงได้มาก สามารถช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้พอสมควร
  4. ทุ่นแรงเกษตรกร – การนำ Smart Farm และเครื่องจักรกลการเกษตรต่าง ๆ มาใช้ ช่วยจบงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ไม่จำเป็นต้องสังเกตการเองตลอด 24 ชั่วโมง
  5. พัฒนาองค์ความรู้ยุคใหม่แก่เกษตรกร – แน่นอนว่าองค์ความรู้การเกษตรดั้งเดิมนั้นมีคุณค่า แต่หากมีองค์ความรู้ใหม่ ๆ เช่น Smart Farm ผนวกเข้าเสริม จะทำให้เกษตรกรไทยมีวิสัยทัศน์
    ที่กว้างขึ้น ต่อยอดทำงานเกษตรได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

สรุปทั้งหมด เกี่ยวกับ Smart Farm

ด้วยการรุดหน้าของ เทคโนโลยี ที่ก้าวหน้า นับวินาที ปฏิเสธไม่ได้ว่าเกษตรกรไทยควรศึกษา
และนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาเพื่อพัฒนางานเกษตร เพื่อเปลี่ยนงานเกษตรยุคเก่า สู่ฟาร์มเกษตรยุคใหม่ เกษตรอัจฉริยะ Smart Farm เพื่อให้ได้ผลกำไรมากขึ้น แต่ใช้ต้นทุนที่ลดลง

การเกษตรอัจฉริยะ

เยี่ยมชม Smart Farm ได้ฟรี! กับ KUBOTA Smart Farm

สำรวจและศึกษาเทคโนโลยี Smart Farm เพื่อนำองค์ความรู้ไปพัฒนาธุรกิจของคุณ ฟรี! กับ KUBOTA Smart Farm ลงทะเบียนเข้าร่วมชมได้แล้ววันนี้ คลิกที่นี่! หรือติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ผ่านช่องทางดังนี้

ดาวน์โหลด :

ที่มาของข้อมูล :

บทความที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มชุดดินที่ 35 การกำเนิด : เกิดจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่ และ เคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางไม่ไกลนักของหินแกรนิตบริเวณลานตะพัก เชิงเขา เนินเขา หรือพื้นที่ที่เหลือค้างจากการกัดกร่อน สภาพพื้นที่ : ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนชัน มีความลาดชัน 2-12 % การระบายน้ำ : ดี การซึมผ่านได้ของน้ำ : เร็ว
ถั่วลิสงเป็นพืชตระกูลถั่วที่ให้ประโยชน์ทั้งเป็นพืชบำรุงดิน และขายเป็นรายได้สำหรับเกษตรกร นำมาปลูกหลังเก็บเกี่ยวข้าวได้ทั้งในพื้นที่อาศัยน้ำชลประทานและไม่อาศัยน้ำชลประทาน แต่การปลูกถั่วลิสงหลังเก็บเกี่ยวข้าวโดยไม่อาศัยน้ำชลประทานสามารถทำได้ในบางพื้นที่เท่านั้น 1. การเลือกพื้นที่ปลูก พื้นที่ทำนา