รู้จักอุณหภูมิสะสม

อุณหภูมิสะสม คืออะไร และเอาไว้ใช้ทำอะไร

อุณหภูมิสะสม เป็นวิธีการคํานวณค่าของอุณหภูมิหรือพลังงานความร้อน (Heat Unit) จํานวนหนึ่งในแต่ละวันโดยใช้ข้อมูลอุณหภูมิสูงสุด(maximum temperature) อุณหภูมิต่ำสุด(minimum temperature) ของอากาศในแต่ละวันตลอดช่วงฤดูปลูกของพืชแต่ละชนิด และอุณหภูมิวิกฤติต่ำสุดที่พืชแต่ละ ชนิดจะมีชีวิตอยู่รอดได้ แต่ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ (base temperature) เพื่อนําค่าอุณหภูมิรายวัน ที่คํานวณได้มาหาผลรวมของอุณหภูมิสะสม (accumulated growing degree-day หรือ ∑GDD) ที่ สัมพันธ์กับระยะพัฒนาการของพืชจากระยะหนึ่งไปสู่อีกระยะหนึ่งโดยไม่เกี่ยวข้องกับระยะเวลา หรืออายุปลูกของพืช

ถึงแม้ว่าสภาพภูมิอากาศที่พืชขึ้นอยู่จะผันแปรไปอย่างไรก็ตาม พืชจะเจริญถึงระยะนั้นได้จะต้องมี GDD ถึงจํานวนที่กําหนดก่อน ถ้าในระหว่างที่พืชนั้นขึ้นอยู่ มีอากาศหนาวเย็นหรือมีอุณหภูมิต่ำ พืชก็จะต้องใช้เวลานานขึ้น (ในการเจริญถึงระยะนั้นๆ) เพื่อรวมอุณหภูมิให้ได้ถึงจํานวนที่กําหนดก่อน ในทางตรงกันข้ามถ้าพืชนั้นเจริญอยู่ในระหว่างที่มีอุณหภูมิสูง พืชก็ใช้จํานวนวันน้อยกว่าในการสะสมอุณหภูมิให้ได้จํานวนเดียวกันนั้น

การนำข้อมูลอุณหภูมิสะสมไปใช้

การนําข้อมูลในส่วนของอุณหภูมิที่พืชได้รับในแต่ละวันมาเป็นปัจจัยหนึ่งเพื่อใช้ในการทํานายการเจริญเติบโตและพัฒนาการของพืชในแต่ละระยะตลอดจนกระทั่งพืชนั้นสุก ซึ่งสามารถคํานวณได้ตามสมการดังนี้

∑GDD =(T.max + T.min )/2 – T base

เมื่อ T.max = อุณหภูมิสูงสุดประจําวัน

     T.min = อุณหภูมิต่ำสุดประจําวัน

     T base = อุณหภูมิต่ำสุดที่พืชจะสามารถเจริญเติบโตได้ตามปกติ

    (โดยใช้ค่า T.base เท่ากับ 10 สำหรับข้าวทุกสายพันธุ์ ทุกระยะการเจริญเติบโต)

T.Base สำหรับแต่ละพืชมีดังนี้

ที่มา :เฉลิมพล แซมเพชร (2542) สรีรวิทยาการผลิตพืชไร่. ภาควิชาพืชไร่. ภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 276 หน้า.

       Kumar, T. and Verma, B. (2022). GDD (Growing Degree Days): Phenology Forecasting for Crops. Just Agriculture, 2(6), 1-4.

       Sie, M., Dingkuhn, M., Wopereis, M.C.S. and Miezan, K.M. (1998). Rice crop duration and leaf appearance rate in a variable thermal environment. I. Development of an empirically based model.

ดาวน์โหลด :

ที่มาของข้อมูล :

บทความที่เกี่ยวข้อง