วิธีป้องกันโรคพืช ปกป้องผลผลิตให้ปลอดภัยจากโรค

วิธีป้องกันโรคพืช ปกป้องผลผลิตให้ปลอดภัยจากโรค

โรคพืช ตัวการทำลายพืชผล หนึ่งในปัญหาสำคัญของเกษตรกร หากไม่สามารถยับยั้งได้จะส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่อง สร้างความสูญเสียมหาศาลต่อพืชผลและเกษตรกร ดังนั้นวันนี้ KAS จะมาอธิบายเกี่ยวกับโรคพืช เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจ ป้องกันโรคพืชได้อย่างเหมาะสม จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย

โรคพืชคืออะไร

โรคพืช คือ ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของพืช เช่น ใบหด เหี่ยวเฉา
มีกลิ่นเหม็น ฯลฯ ซึ่งมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่าง ๆ รอบบริเวณแปลงเพาะปลูก ทำให้พืชอ่อนแอ
หรือแห้งตาย คุณภาพและปริมาณผลผลิตต่อแปลงลดลง ส่งผลให้เกษตรกรสูญเสียโอกาส
และรายได้อย่างมหาศาล

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคพืช

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคพืชมีอยู่ 4 ปัจจัยดังนี้

  1. สายพันธุ์พืช (Host) พืชแต่ละสายพันธุ์จะมีภูมิต้านทานต่อโรคบางชนิดไม่เท่ากัน เช่น มีภูมิคุ้มกันโรค A แต่ไวต่อการเกิดโรค B เป็นต้น  
  2. เชื้อสาเหตุ (Pathogen) ตัวต้นเหตุที่ทำให้เกิดโรคพืช เช่น เชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส แมลง
    และสัตว์พาหะ ซึ่งต้องเป็นเชื้อที่มีความรุนแรงมากพอต่อการเกิดโรคพืช
  3. สภาพแวดล้อม (Environtment) สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมหรือเอื้อให้เกิดความผิดปกติกับพืช เช่น อุณหภูมิสูงเกินไป ความชื้นต่ำ การจัดการน้ำที่ไม่ดี เป็นต้น
  4. ระยะเวลา (Time) ระยะเวลาที่พืชอาศัยและเชื้อโรคสัมผัสกัน ระยะเวลาที่ใบเปียกในขณะที่อุณหภูมิเหมาะสมต่อการเกิดโรค ระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการแพร่กระจายของสปอร์ การงอกของสปอร์ การติดเชื้อ เป็นต้น
ปัจจัยการเกิดโรคพืช

โรคพืชมีกี่ประเภท ตัวอย่างโรคพืชและวิธีป้องกัน

โรคพืชสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. โรคพืชที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต

โรคพืชที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ เช่น เชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส แมลง และสัตว์ที่เป็นพาหะ โดยโรคพืชประเภทนี้สามารถแพร่กระจายเชื้อได้อย่างรวดเร็วผ่าน ลม ฝน น้ำ และดิน หรือถ่ายทอด
ผ่านส่วนขยายพันธุ์ เช่น เมล็ดพันธุ์ เป็นต้น หากไม่สามารถยับยั้งได้ทัน จะสร้างความเสียหาย
อย่างรุนแรงให้กับพืชในบริเวณรอบ ๆ

ตัวอย่างของโรคพืชที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต

  • โรคแอนแทรคโนสในพริก: เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum spp. ในระยะแรกจะทำให้พริกมีจุดด่างสีน้ำตาล หลังจากนั้นจะขยายออกไปเรื่อย ๆ จนพริกเกิดการเน่าเสีย ป้องกันได้โดยใช้สารเคมีป้องกันเชื้อรา จัดการสภาพแวดล้อมให้แห้ง และหมั่นตรวจสอบแปลงเพาะปลูกอย่างสม่ำเสมอ
  • โรคใบไหม้ในมะเขือเทศ: เกิดจากเชื้อรา Phytophthora Infestans ทำให้ใบมะเขือเทศมีสีเขียวหม่นคล้ายน้ำร้อนลวก โดยจะขยายต่อไปเรื่อย ๆ จนใบแห้งไหม้เป็นสีน้ำตาล ป้องกันได้โดยการพ่น
    สารชีวภัณฑ์ Bacillus Subtilis ปรับระยะการปลูกไม่ให้แน่นจนเกินไป และหมั่นตรวจสอบ
    แปลงเพาะปลูกอย่างสม่ำเสมอ
โรคพืช

2. โรคพืชที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต

โรคพืชที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต เช่น ดินมีธาตุอาหารน้อย สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม น้ำไม่เพียงพอ หรือการใช้สารเคมีที่ไม่ถูกต้อง โดยโรคพืชชนิดนี้จะไม่สามารถแพร่กระจายได้ ทำให้มีผลกระทบน้อยกว่าโรคพืชที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต

ตัวอย่างโรคพืชที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต

  1. โรคขาดธาตุเหล็กในข้าวโพด: เกิดจากดินที่มีธาตุเหล็กน้อย ไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต
    ของข้าวโพด ส่งผลให้ใบของข้าวโพดมีสีเหลือง ป้องกันได้โดยใช้ปุ๋ยที่มีธาตุเหล็ก และหมั่น
    ตรวจสอบความเข้มข้นของธาตุอาหารในดินอย่างสม่ำเสมอ
  2. โรคขาดธาตุแมกนีเซียมในอ้อย : เกิดจากดินที่มีธาตุแมกนีเซียมน้อย ไม่เพียงพอต่อการ
    เจริญเติบโตของอ้อย ส่งผลให้ใบของอ้อยมีจุดคล้ายกับสนิมเหล็ก ลำต้นแคระแกร็น ป้องกันได้
    โดยใช้ปุ๋ยที่มีธาตุแมกนีเซียม และหมั่นตรวจสอบความเข้มข้นของธาตุอาหารในดินอย่างสม่ำเสมอ
โรคพืช จากสิ่งไม่มีชีวิต

ผลกระทบจากโรคพืชที่ส่งผลเสียต่อเกษตรกร

โรคพืชทำให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิต ทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณ ส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกร หากมีการระบาดของโรคพืช เกษตรกรส่วนใหญ่มักจะใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งได้ผล
อย่างชะงัด รวดเร็ว ทันใจ แต่การใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชนั้น ไม่เพียงแต่กำจัดศัตรูพืชเท่านั้น
แต่จะทำให้ศัตรูธรรมชาติถูกกำจัดไปด้วยและมักได้รับผลกระทบมากกว่าศัตรูพืช ฉะนั้นในระยะยาว
ศัตรูธรรมชาติจะลดลง ทำให้ศัตรูพืชขยายพันธุ์ได้มากขึ้น ส่งผลเสียต่อผลผลิตของเกษตรกร

สรุปเกี่ยวกับโรคพืช

โรคพืช เป็นสิ่งที่สร้างผลกระทบต่อการเกษตรอย่างมหาศาล ทั้งต่อตัวพืชที่ทำให้อ่อนแอหรือตาย
และตัวเกษตรกรที่ต้องสูญเสียรายได้ แต่โรคพืชนั้นสามารถป้องกันและควบคุมได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ เกษตรกรจึงควรให้ความสนใจและศึกษาอย่างละเอียด เพื่อที่แก้ปัญหาหรือป้องกันได้อย่างถูกต้อง
ลดผลกระทบที่เกิดขึ้น ส่งผลให้พืชสามารถเติบโตได้อย่างแข็งแรง ผลผลิตที่ออกมามีคุณภาพ
ติดตามความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับการป้องกันโรคพืชแบบนี้ได้ที่ KAS หรือ KUBOTA (Agri) Solutions

ดาวน์โหลด :

ที่มาของข้อมูล :

บทความที่เกี่ยวข้อง

“รู้ว่าใช้เคมีอันตราย แต่เห็นผลทันที อยากใช้ชีวภัณฑ์นะ แต่ออกฤทธิ์ช้า ไม่ทันการณ์”คำตอบที่มักคุ้นเคย แม้จะรู้พิษภัยของการใช้สารเคมี แต่ด้วยปัจจัยหลายอย่าง ทำให้เกษตรกรจำนวนไม่น้อย ไม่อาจตัดใจเลิกใช้สารเคมีนั้นได้ แต่ในวันที่สารเคมีไม่สามารถจัดการศัตรูพืชได้ สารชีวภัณฑ์จึงเป็นตัวเลือกที่ไม่ควรมองข้าม