วิธีปลูกมะเขือเทศให้โตเร็ว ผลสวย ลูกดก กำไรเบ่งบาน

วิธีปลูกมะเขือเทศให้โตเร็ว ผลสวย ลูกดก กำไรเบ่งบาน

การปลูกมะเขือเทศให้ผลสวยและลูกดกเร็ว เพื่อผลกำไรที่มากขึ้นล้วนเกิดจากการดูแลและจัดการที่เหมาะสมตลอดกระบวนการปลูก ซึ่งมีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นพันธุ์ของมะเขือเทศ
การเตรียมเมล็ดพันธุ์ สภาพอากาศ ดินที่เหมาะสม และการใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตรที่เหมาะสม
เพื่อทุ่นแรง ซึ่งหากคุณเป็นเกษตรกรที่ต้องการปลูกมะเขือเทศให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ บทความนี้
KUBOTA (Agri) Solutions จะมาบอกวิธีการและเทคนิคที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับการปลูกมะเขือเทศ

ชนิดของมะเขือเทศ

ก่อนทำการปลูกมะเขือเทศ สิ่งสำคัญที่ต้องเลือกชนิดของมะเขือเทศที่จะปลูก โดยมี 2 ชนิดด้วยกัน 

มะเขือเทศแบบพุ่ม (Determinate Tomato Plants)

เป็นพันธุ์ที่มีลำต้นลักษณะเป็นพุ่ม ผลมีขนาดเล็ก ช่อดอกเกิดได้ทุก 2 ข้อของลำต้น โดยมะเขือเทศพันธุ์นี้ส่วนมากจะออกดอกในเวลาใกล้เคียงกัน ซึ่งการปลูกมะเขือเทศพันธุ์นี้มีข้อดีคือช่วยทุ่นเวลาได้ดี
เพราะสามารถเก็บได้พร้อมกัน

มะเขือเทศแบบเลื้อย (Indeterminate Tomato Plants)

เป็นพันธุ์ที่มีลำต้นเลื้อย ผลมีขนาดปานกลาง – ใหญ่ ไม่มีดอกที่ปลายยอด ตามปกติในการปลูกมะเขือเทศพันธุ์นี้ ต้นจะทอดยอดออกไปเรื่อย ๆ มีช่อดอกน้อยกว่าเมื่อเทียบกับมะเขือเทศแบบไม่ทอดยอดคือ
เกิดช่อดอกทุกๆ 3 ข้อ โดยการปลูกมะเขือเทศพันธุ์นี้ต้องใช้ไม้ค้ำลำต้นหรือเชือกพลาสติกขึงเพื่อ
พยุงลำต้นและช่วยให้ผลมีคุณภาพดีขึ้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของมะเขือเทศ

อีกหนึ่งสิ่งที่มองข้ามไม่ได้ในการปลูกมะเขือเทศ ก็คือลักษณะทางพฤกษศาสตร์ โดยแบ่งออกเป็น
5 ลักษณะหลัก ๆ ดังนี้ 

  1. ลำต้น : ลำต้นของมะเขือเทศมีลักษณะตั้งตรง เป็นไม้พุ่มเตี้ยกึ่งเลื้อย ความสูง 50 – 150 ซม. ลำต้นมีสีเขียวและมีขน พร้อมกับมีเมือกด้านในลำต้น
  2. ดอก : ดอกของมะเขือเทศเกิดเป็นช่อบนลำต้นระหว่างข้อ ดอกมีกลีบเลี้ยงสีเขียว 5 – 10 กลีบ
    มีกลีบดอก 5 กลีบ สีเหลือง รูปร่างคล้ายหอกเชื่อมติดกันที่โคน เมื่อดอกบานกลีบเลี้ยงและกลีบดอกก็จะมีลักษณะโค้งออก
  3. ผล : ลักษณะเป็นผลเดี่ยว มีขนาดรูปร่างและสีต่างกัน รูปทรงของผลมีทั้งกลมและรี ตั้งแต่
    ขนาดเล็กประมาณ 3 ซม. ไปจนถึงใหญ่ประมาณ 10 ซม. ผิวนอกลีบเป็นมัน สีของผลจะขึ้นอยู่กับเม็ดสี 2 ชนิด คือไลโคปีน (Lycopene) ซึ่งทำให้เกิดสีแดง และแคโรทีน (Carotene) ทำให้เกิดสีเหลืองแดง ส้มและสีน้ำตาลอ่อน เนื้อภายในมีเมล็ดเรียงและมีรสเปรี้ยว
  4. เมล็ด : รูปร่างค่อนข้างกลมและแบน มีสีน้ำตาลอ่อน ขนาด 0.2 – 0.5 ซม. มีขนสั้น ๆ โดยรอบเป็นจำนวนมาก
  5. ราก : มะเขือเทศมีระบบรากเป็นแบบรากแก้ว มีรากแขนงเจริญไปตามแนวนอนไปได้ไกลถึง 60 ซม. และสามารถเจริญในแนวดิ่งได้ลึกประมาณ 100-120 ซม. อีกทั้งยังสามารถเกิดรากได้ทั่วไป
    ตามลำต้นที่สัมผัสกับผิวดินซึ่งเป็นลักษณะพิเศษเฉพาะของมะเขือเทศ

พันธุ์มะเขือเทศที่นิยมปลูกในไทย มีอะไรบ้าง ?

พันธุ์ที่นิยมปลูกมะเขือเทศในไทย มีหลัก ๆ 5 พันธุ์ดังนี้

มะเขือเทศองุ่น (Grape Tomato)

มะเขือเทศองุ่น มีลักษณะรีและยาว ขนาดไม่ใหญ่ เนื้อไม่ฉ่ำและมีน้ำน้อย ออกผลในลักษณะเป็นพวง
มีหลายลูกต่อพวง โดยการปลูกมะเขือเทศองุ่นสามารถทำได้ด้วยการใส่ถาดเพาะ และวางในที่ที่ไม่โดนฝน
และมีแสงแดดพอประมาณ ใช้เวลาประมาณ 14 – 15 วัน ต้นมะเขือเทศจะมีความสูงประมาณ 4 – 5 นิ้ว
จากนั้นจึงย้ายไปปลูกในโรงเรือน

ภาพจาก southernliving

มะเขือเทศสีดา (Srida Pink Egg Tomato)

มะเขือเทศสีดา มีลักษณะรีและยาวคล้ายกับมะเขือเทศองุ่น มีสีแดงอมชมพูและมีขนาดเล็ก ออกผล
ในลักษณะเป็นพวงโดยมีจำนวนลูกต่อพวงไม่เยอะ โดยการปลูกมะเขือเทศสีดาสามารถทำได้ด้วยการปลูก
ในดินร่วนปนทรายที่ระบายน้ำดี และชอบแสงแดด โดยปลูกแบบเพาะกล้าในกระบะ หลังต้นกล้ามีอายุ
1 เดือน สามารถย้ายลงปลูกในแปลงปลูก และหลังจากผ่านไป 20 – 25 วันจึงทำค้างเพื่อให้ผล
อยู่บนผิวดิน

ภาพจาก wattsfarms

มะเขือเทศเถาว์ (Vine Tomato)

มะเขือเทศเถาว์ มีลักษณะการเจริญเติบโตเป็นต้นเลื้อย ออกผลเป็นเครือ มีทั้งลูกสีเขียว เหลือง และแดง

และมีขนาดเล็กมาก โดยการปลูกมะเขือเทศเถาว์สามารถทำได้ด้วยการปลูกในที่ ๆ มีแสงแดดส่องถึง และให้น้ำเป็นประจำในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป

ภาพจาพ my garden

มะเขือเทศบีฟสเต็ก (Beefsteak Tomato)

มะเขือเทศบีฟสเต็กเป็นมะเขือพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ มีสีแดงออกส้ม ออกผลในลักษณะเป็นพวง มีจำนวนประมาณ 4 – 5 ลูกต่อพวง โดยการปลูกมะเขือเทศบีฟสเต็กสามารถทำได้โดยเริ่มจากการนำเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศแช่ในน้ำสะอาดก่อนลงปลูก ในระหว่างที่กำลังโตควรรดน้ำให้ชุ่มทุกวัน และวางในบริเวณที่มีแสงแดดพอประมาณ เมื่อกล้าอายุ 20 – 30 วัน จึงจะสามารถย้ายไปปลูกลงดินได้

ภาพจาก futurecdn

มะเขือเชอร์รี่ Cherry Tomato

มะเขือเทศเชอร์รี่มีลักษณะกลมคล้ายลูกเชอร์รี่ สีแดงจัด และมีขนาดไม่ใหญ่มาก ออกผลในลักษณะ
เป็นพวงโดยมีจำนวนค่อนข้างเยอะต่อ 1 พวง โดยการปลูกมะเขือเทศเชอร์รี่สามารถทำได้โดยการดน้ำ
ให้พอชุ่มแล้วนำเมล็ดมะเขือเทศเชอร์รี่หยอดลงในถาดหลุม หลุมละ 2 เมล็ด และหมั่นรดน้ำทั้งช่วงเช้า
กลางวัน เย็น โดยระวังไม่ให้น้ำมากจนเกินไปเพราะอาจทำให้ต้นกล้าเสี่ยงเกิดโรคได้ง่าย

ภาพจาก mucci production

วิธีปลูกมะเขือเทศให้ได้กำไร โตไว ผลสวย เต่งตึง

หากรู้วิธีปลูกมะเขือเทศอย่างมีประสิทธิภาพ จะทำให้ได้ผลผลิตที่ผลสวย เต่งตึง มีสีแดงสด
และได้กำไรงามอย่างแน่นอน โดยวิธีปลูกมะเขือเทศให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการนั้นมีขั้นตอนหลัก ๆ
7 ข้อ ดังนี้

1.    เตรียมเมล็ดพันธุ์และการเพาะกล้า

การเพาะกล้าเพื่อเตรียมปลูกมะเขือเทศทำได้หลัก ๆ 3 วิธีดังนี้

1.1 การปลูกมะเขือเทศแบบเพาะในกระบะ

ใช้ในกรณีที่ต้องการต้นกล้าจํานวนไม่มากนักและใช้ดินในการเพาะจํานวนน้อย โดยกระบะที่ใช้เพาะเมล็ด
ควรมีขนาดประมาณ 45 – 60 ซม. และลึกไม่เกิน 10 ซม. มีรูให้น้ำระบายได้

ใส่ดินที่ร่อนแล้ว 3 ส่วน ปุ๋ยคอก 1 ส่วน ทรายหรือแกลบ 1 ส่วน แล้วโรยเมล็ดเป็นแถว โดยการใช้
ไม้ทาบเป็นร่องเล็ก ๆ ระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 5 – 7 ซม. แล้วกลบเมล็ดด้วยแกลบหรือทราย
บาง ๆ รดน้ำให้ชุ่มและใช้สารป้องกันกําจัดแมลงศัตรูพืช เมื่อกล้าอายุได้ 15 วัน หรือมีใบจริง 2 ใบ
ให้ย้ายกล้าลงใส่ถุงพลาสติกที่มีดินผสมบรรจุอยู่จนกระทั่งกล้าสูงประมาณ 30 ซม. หรือมีอายุ
30 – 40 วันจึงทําการย้ายกล้าลงแปลงปลูก ก่อนการย้ายปลูกควรนำต้นกล้าออกมารับแสงแดดประมาณ 3 วันก่อนย้ายปลูก และควรงดให้น้ำ 1 วัน เพื่อให้ต้นกล้าแข็งแรง และรากยึดจับกับดิน
สะดวกต่อการย้าย จะทำให้ต้นมะเขือเทศฟื้นตัวเร็วขึ้น

1.2 การปลูกมะเขือเทศแบบเพาะในแปลง

นิยมใช้ในกรณีที่ต้องการต้นกล้าเป็นจํานวนมาก ขนาดของแปลงควรกว้าง 1 เมตร ความยาวขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่หรือปริมาณกล้าที่ต้องการ ทางเดินระหว่างแปลงควรมีระยะประมาณ 50 เซนติเมตร
โดยขั้นตอนในการเพาะคือผสมดินด้วยปุ๋ยคอกและทรายตามอัตราส่วน 3:1 ทําการเพาะเมล็ดโดยโรยเมล็ด
เป็นแถวห่างกัน 10 ซม. เมื่อกล้ามีอายุ 20 – 25 วัน หรือมีใบจริงอย่างน้อย 2 – 3 ใบ ก็สามารถย้าย
ลงแปลงปลูกได้ แปลงเพาะควรมีตาข่ายคลุมแปลง เพื่อป้องกันแดด ลม ฝน ซึ่งหากหาวัสดุหรือผ้า
คลุมแปลงไม่ได้ อาจจะลองใช้ฟางข้าวใหม่มาคลุมบาง ๆ เมื่อเมล็ดงอกจึงดึงฟางออกบางส่วนเพื่อให้
ต้นกล้าโผล่พ้นฟางได้ง่ายมีความแข็งแรงมากขึ้น

1.3 การปลูกมะเขือเทศแบบเพาะในถาด

เป็นวิธีเพาะกล้าที่สะดวกและพัฒนาจากวิธีการเพาะกล้าในกระบะเพาะ โดยทำได้ง่าย ๆ คือเตรียมเพาะเมล็ดมะเขือเทศลงในถาดเพาะ จากนั้นเมื่อกล้ามีอายุได้ประมาณ 20 – 30 วัน หรือมีใบจริงอย่างน้อย 2 – 3 ใบจึงเตรียมย้ายไปปลูกลงในแปลง โดยใช้วิธีเอามือบีบที่ด้านล่างสุดของถาด ต้นกล้าจะหลุดออกมา
จากถาดพร้อมดินปลูกและต้นกล้ามะเขือเทศไม่ได้รับความกระทบกระเทือนมากเกินไป

2.    ปลูกมะเขือเทศในสภาพอากาศที่เหมาะสม

เนื่องจากมะเขือเทศเป็นพืชเมืองหนาว อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตจะอยู่ที่ประมาณ 18 – 28 องศาเซลเซียส และหากมะเขือเทศที่ปลูกโดนฝนหรือโดนแดดมากเกินไปอาจทำให้เกิดโรคได้ง่ายและมีผลผลิตน้อยกว่าที่ควรจะเป็น โดยควรรู้เทคนิคปลูกมะเขือเทศที่ถูกต้องเพิ่มเติม เพื่อให้ได้ผลผลิตเพิ่มและลูกดกมากยิ่งขึ้น

3.    ดินต้องดี ในการปลูกมะเขือเทศ

ดินที่เหมาะสมในการปลูกมะเขือเทศที่สุดคือดินร่วน เพราะมีอินทรียวัตถุสูง ระบายน้ำได้ดี และมีค่า pH อยู่ที่ 6.0 – 6.8 เพราะหากดินเป็นกรดหรือเป็นด่างมากเกินไปจะทําให้ดินขาดธาตุอาหารบางอย่างได้
หรือธาตุอาหารบางชนิดจะละลายออกมามากเกินไปจนส่งผลให้เป็นพิษต่อมะเขือเทศที่ปลูกมากกว่า
เป็นการสร้างธาตุอาหารที่ดี โดยรายละเอียดของดินที่เหมาะสมกับการปลูกพืชชนิดต่าง ๆ นั้นก็จะมีคุณสมบัติและลักษณะที่กันออกไป

4.    การให้น้ำที่ถูกต้อง

มะเขือเทศเป็นพืชที่ต้องการน้ำอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่เริ่มปลูกไปจนถึงผลมีการเปลี่ยนสีเพราะเริ่มแก่
หลังจากนั้นควรลดการให้น้ำลงเพราะอาจทําให้ผลแตกได้ แต่หากมะเขือเทศขาดน้ำหรือถูกให้น้ำอย่างกะทันหัน ก็จะทําให้ผลแตกได้เช่นกัน นอกจากนี้การให้น้ำมากเกินไปจะทําให้ดินแฉะ ซึ่งจะทําให้เกิดเชื้อราและส่งผลให้มะเขือเทศเน่าได้ ดังนั้นจึงต้องระวังการให้น้ำในแต่ละช่วงการเจริญเติบโตสำหรับการปลูก
มะเขือเทศอย่างเหมาะสม

ภาพจาก gardenlux

5.    การใส่ปุ๋ย

การใส่ปุ๋ยในการปลูกมะเขือเทศนั้น ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินว่าควรต้องมีการปรับปรุงดินสภาพต่าง ๆ ให้มีธาตุอาหารอะไรเพิ่มเติมบ้าง เช่น

  • สภาพดินเหนียว ปุ๋ยเคมีที่ใช้ควรมีไนโตรเจนและโพแทสเซียมเท่ากัน และเน้นฟอสฟอรัสสัดส่วน
    ที่สูงขึ้น เช่นสูตร 12-24-12 หรือ 15-30-15
  • สภาพดินร่วนควรให้ปุ๋ยที่มีโพแทสเซียมสัดส่วนสูงขึ้นแต่ไม่ควรสูงกว่าฟอสฟอรัส เช่นสูตร
    10-20-15
  • สภาพดินทราย ซึ่งเป็นดินที่ไม่ค่อยมีธาตุโพแทสเซียมควรให้ปุ๋ยที่มีธาตุโพแทสเซียมสัดส่วนสูงกว่าตัวอื่น ๆ เช่นสูตร 15-20-20, 13-13-21 และ 12-12-17
  • หากปลูกมะเขือเทศนอกฤดูจะต้องใช้ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูงเนื่องจากมะเขือเทศจะต้องใช้ไนโตรเจนจำนวนมากในสภาพที่อุณหภูมิสูง

6.    การทำค้าง

อีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญของการปลูกมะเขือเทศคือการทำค้าง โดยสำหรับพันธุ์มะเขือเทศที่ทอดยอดหรือพันธุ์เลื้อยจำเป็นต้องทำการปักค้าง เพราะการปักค้างจะทำให้สะดวกต่อการดูแลรักษา ช่วยให้ฉีดยาป้องกันแมลงได้อย่างทั่วถึง ป้องกันผลไม่เปื้อนพื้นดิน และสะดวกต่อการเก็บเกี่ยวได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยการใช้ไม้หลักปักค้างต้นก่อนระยะออกดอกหรือเมื่อมะเขือเทศอายุประมาณ 20 – 25 วันหลังย้ายปลูก ด้วยวิธีการ
ใช้เชือกผูกกับลำต้นไขว้กันเป็นเลข 8 มีขั้นตอนดังนี้

  1. เตรียมไม้ไผ่ 3 ท่อน / ต้น และเชือกสำหรับมัด
  2. ปักไม้ไผ่หรือไม้รวก 3 ท่อนลงดิน โดยทำมุมเอียง 45 องศา
  3. รวบปลายไม้ให้เอนเข้าหากัน
  4. ผูกเชือกมัดปลายไม้เป็นกระโจม
  5. ใช้ไม้พาดขวางระหว่างค้าง (ส่วนยอดกระโจมที่อยู่ด้านบนสุด) เพื่อเพิ่มความแข็งแรง
  6. มัดลำต้นมะเขือเทศกับค้างให้ยอดเลื้อยขึ้นไปตามแนวของค้าง

ภาพจาก Thairath

7.    การเก็บเกี่ยว

การเก็บเกี่ยวขึ้นอยู่กับพันธุ์ของมะเขือเทศ แต่โดยเฉลี่ยแล้วมะเขือเทศจะเริ่มออกดอก และจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุประมาณ 70 – 90 วัน ซึ่งระยะเริ่มปลูกถึงเก็บเกี่ยวนั้นจะใช้เวลาประมาณ 4-5 เดือน

โดยลักษณะผลที่เก็บเกี่ยวขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการปลูกมะเขือเทศ

  • ปลูกมะเขือเทศเพื่อส่งตลาด : ควรเก็บในระยะที่ไม่แก่จัด คือระยะที่ผลเป็นสีเขียวและเริ่มเปลี่ยนเป็นสีชมพูเรื่อ ๆ โดยที่ต้องเก็บผลในระยะที่ไม่แก่จัดเนื่องผลผลิตทนทานกว่าในระหว่างการขนส่ง และเมื่อมะเขือเทศถูกวางขายในตลาดก็จะมีสีส้มหรือสีแดง
  • ปลูกมะเขือเทศเพื่อส่งโรงงานอุตสาหกรรม : ต้องเก็บในระยะผลสุกแล้ว ซึ่งจะเป็นสีแดงหรือสีส้มทั้งผล และเก็บไม่ให้มีขั้วผลติดมากับผล เพราะหากมีขั้วผลติดมาด้วย โรงงานอุตสาหกรรมจะ
    คัดทิ้งเนื่องจากเมื่อนําไปทําผลิตภัณฑ์แล้วจะทําให้คุณภาพและสีของมะเขือเทศเสีย

ภาพจาก baania

ผักคู่อริและศัตรูพืชของการปลูกมะเขือเทศ

เมื่อรู้วิธีปลูกมะเขือเทศแล้ว อีกสิ่งที่มองข้ามไม่ได้เลยคือต้องระวังผักคู่อริ (ผักที่เมื่อปลูกใกล้กันแล้ว
จะทำให้ผักอีกชนิดเติบโตได้แย่ลงและเกิดโรคได้)ในการปลูกมะเขือเทศ โดยมีหลัก ๆ คือ ผักชีฝรั่ง มันฝรั่ง โรสแมรี่ พริก และพืชตระกูลเดียวกับมะเขือเทศ เช่น มะเขือพันธุ์ต่างๆ

นอกจากนั้น ศัตรูพืชหลัก ๆ ของการปลูกมะเขือเทศมีอยู่ 2 ชนิด คือหนอนชอนใบที่จะเจาะผลและใบของมะเขือเทศ ทำให้ผลผลิตเสียหายสูงได้ถึง 90% และแมลงหวี่ขาว ซึ่งเป็นแมลงประเภทปากดูดที่จะดูดน้ำเลี้ยงของมะเขือเทศ ทำให้พืชหงิกงอและต้นแคระแกร็น

เครื่องจักรกลทางการเกษตรที่ช่วยทุ่นแรงการปลูกมะเขือเทศ

แนะนำเครื่องจักรกลทางการเกษตรจาก KUBOTA ที่ช่วยให้การปลูกมะเขือเทศมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

อุปกรณ์ยกร่องต่อพ่วงแทรกเตอร์ BF615

  • ปรับความกว้างได้หลายขนาด ตอบโจทย์ทุกงานการปลูกได้อย่างมืออาชีพ
  • ช่วยให้ผิวแปลงเรียบ สม่ำเสมอ
  • ช่วยลดการยุบตัวของแปลงที่เกิดจากน้ำฝน
  • ขนาดแปลงที่ปรับได้: 60 / 80 / 100 / 120 / 150 ซม.
  • ราคาเพียง 19,900 บาท

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมอุปกรณ์ยกร่อง BF615 คลิกที่นี่

สรุปทั้งหมด เกี่ยวกับการปลูกมะเขือเทศ

โดยสรุป การปลูกมะเขือเทศ จำเป็นต้องใส่ใจทุกรายละเอียดตั้งแต่การเลือกชนิดที่จะปลูก การเตรียมดิน การเพาะปลูก การดูแลต่าง ๆ ไปจนถึงขั้นตอนสุดท้ายอย่างการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้มะเขือเทศที่มีคุณภาพ ผลสวย และเต่งตึงอย่างแท้จริง โดยหากมีเครื่องจักรกลทางการเกษตรที่ได้มาตรฐานและทำมาเพื่อ
การปลูกผักและผลไม้อย่าง อุปกรณ์ยกร่อง BF615 จาก KUBOTA แน่นอนว่าคุณจะได้มะเขือเทศที่มีคุณภาพสูง

หากคุณต้องการติดต่อสอบถามเพิ่มเติม / สั่งซื้อ สามารถติดต่อเราได้ตามช่องทางด้านล่างนี้

  • KUBOTA CONNECT ติดต่อกับเราที่เบอร์ 02-029-1747
  • Facebook Fanpage: Siam Kubota และ Kubota Drone Club – คูโบต้าโดรนคลับ
  • ดูสินค้าทั้งหมดผ่านเว็บไซต์: SiamKubota
  • อัปเดตสิทธิพิเศษ หรือติดต่อผ่านทาง LINE OA: @siamkubota
  • รับชมวีดีโอการใช้งานเครื่องจักรกลทางการเกษตรที่: SIAMKUBOTA

ดาวน์โหลด :

ที่มาของข้อมูล :

บทความที่เกี่ยวข้อง

ประเทศไทยมีพื้นที่ผลิตถั่วเขียวประมาณ 829,145 ไร่ มีความต้องการเมล็ดพันธุ์ 4,146 ตัน แต่รัฐผลิตได้ 617 ตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 15 ของความต้องการเมล็ดพันธุ์ทั้งประเทศ ตั้งแต่ปี 2557 เกิดปัญหาฝนแล้งทำให้เกษตรกรไม่สามารถทำนาปรังได้ ประกอบกับนโยบายแทรกแซงราคาข้าวสิ้นสุดลง เกษตรกรจึงหันมาปลูกถั่วเขียวแทน
งาดำ สายพันธุ์ที่นิยมปลูก ได้แก่ งาดำบุรีรัมย์ งาดำนครสวรรค์ งาดำ มก.18 งาขาว สายพันธุ์ที่นิยมปลูก ได้แก่ พันธุ์เมืองเลย พันธุ์เชียงใหม่ พันธุ์ร้อยเอ็ด 1 พันธุ์ มข. 1 พันธุ์มหาสารคาม 60 งาดำ–แดง หรืองาเกษตร ได้แก่ พันธุ์พื้นเมืองพิษณุโลก พันธุ์พื้นเมืองสุโขทัย พันธุ์ มข.3