รู้จัก การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ การปลูกพืชในน้ำไม่ง้อดิน

รู้จัก การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ การปลูกพืชในน้ำไม่ง้อดิน

การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ วิธีการเพาะปลูกสุดสร้างสรรค์ เปลี่ยนแปลงการเพาะปลูกแบบเดิมที่ใช้ดิน
สู่รูปแบบใหม่ที่ใช้น้ำซึ่ง ดีกว่า ล้ำกว่า คุ้มกว่า ตอบโจทย์การเกษตรในทุกมิติ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
คืออะไร ต่างจากเดิมแค่ไหน ? KAS จะมาบอกให้

การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ คืออะไร

การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ คือ การปลูกผักโดยใช้ สารละลาย (น้ำผสมกับปุ๋ย AB) แทนการใช้ดิน
ซึ่งสารละลายจะประกอบไปด้วยธาตุอาหารต่าง ๆ ที่พืชจำเป็นต้องได้รับ โดยพืชสามารถดูดซับโดยตรง ทำให้พืชเติบโตอย่างรวดเร็ว แข็งแรง และผลผลิตที่ออกมามีคุณภาพกว่าการใช้ดิน

การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ มีกี่แบบ

การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์มีอยู่ 5 แบบ ดังนี้

1. ระบบปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แบบน้ำตื้น หรือ Nutrient Film Technique (NFT)

เป็นระบบการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แบบน้ำตื้นและหมุนเวียน โดยส่วนใหญ่จะปลูกโดยใช้รางที่มาพร้อมระบบหมุนเวียนน้ำ ซึ่งจะทำให้สารละลายไหลผ่านรากของผักอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง ระดับความลึกของสารละลายควรอยู่ประมาณที่ 1 – 3 ซม. ซึ่งจะมีลักษณะเหมือนแผ่นฟิล์มบาง ๆ โดยวิธีนี้จะทำให้พืช
ได้รับธาตุอาหารและอากาศอย่างทั่วถึง แต่มีข้อควรระวังคือหากไฟฟ้าขัดข้องพืชอาจตายได้

ระบบปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ แบบน้ำตื้น

2. ระบบปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แบบน้ำลึก หรือ Deep Flow Technique (DFT)

เป็นระบบการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แบบน้ำลึกและนิ่ง โดยส่วนใหญ่จะปลูกบนวัสดุที่ลอยน้ำได้ เพื่อยึดลำต้นไว้ไม่ให้ล้มหรือจมน้ำ เช่น โฟม พลาสติก ฟองน้ำ เป็นต้น โดยรากของผักจะแช่อยู่ในสารละลายที่มีระดับความลึกอยู่ที่ 5 – 10 ซม. ซึ่งระบบนี้เป็นที่นิยมของเกษตรกรไทย เนื่องจากสามารถใช้วัสดุที่หาได้ทั่วไป ทั้งยังไม่ต้องกังวลหากระบบไฟฟ้าขัดข้อง แต่มีข้อควรระวังคือการขาดอากาศ เนื่องจากไม่มีระบบหมุนเวียนซึ่งอาจทำให้ผักตายได้

ระบบปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ แบบน้ำลึก

3. ระบบปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แบบกึ่งน้ำลึก หรือ Dynamic Root Floating Technique (DRFT)

เป็นระบบการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แบบกึ่งน้ำลึก โดยจะมีวิธีปลูกที่คล้ายกับระบบปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
แบบน้ำลึก (DFT) มาพร้อมกับระบบหมุนเวียนน้ำของระบบปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แบบน้ำตื้น (NFT)
ทำให้ได้รับข้อดีและกลบข้อด้อยของทั้ง 2 ประเภท เกษตรกรจึงไม่จำเป็นต้องดูแลพืชมากนัก แต่พืช
ยังเติบโตอย่างแข็งแรงและสม่ำเสมอ

4. ระบบปลูกผักแบบน้ำขึ้นน้ำลง หรือ Food and Drain (FAD)

เป็นระบบการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แบบน้ำขึ้นน้ำลง เป็นวิธีการปลูกผักที่จะแช่รากของผักไว้ในสารละลายช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้พืชสามารถดูดซับธาตุอาหารได้อย่างเต็มที่ หลังจากนั้นให้เกษตรกรปล่อยน้ำทิ้งเพื่อเพิ่มอากาศ และให้เติมสารละลายเข้าไปอีกครั้ง โดยทำสลับกันไปจนถึงเวลาเก็บเกี่ยว วิธีนี้จะทำให้พืชเติบโตอย่างสม่ำเสมอ แต่เกษตรกรควรมีความรู้ในการปรับระดับน้ำ ให้เหมาะสมตามการเจริญเติบโต
ของพืช

ระบบปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ แบบน้ำขึ้นน้ำลง

5. ระบบปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ร่วมกับสัตว์น้ำ หรือ Aquaponic

เป็นวิธีการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แบบผสมผสาน ด้วยวิถีการทำเกษตรอินทรีย์ ที่จะเลี้ยงปลาในตู้ควบคู่ไปกับการปลูกผัก โดยจะหมุนเวียนน้ำจากตู้ปลาที่มีของเสียจากปลาที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ซึ่งสามารถทดแทนสารละลายได้ นำไปยังถาดเพาะปลูกผัก ในทางกลับกันก็สามารถส่งของเสียจากพืชไปสู่ตู้ปลาได้เช่นกัน
ส่งผลให้ได้รับผักไฮโดรโปนิกส์แบบออแกนิก แต่มีข้อควรระวัง เช่น อาหารปลาที่ผ่านกระบวนการทางเคมี ซึ่งอาจทำให้ผักปนเปื้อนสารเคมีได้ เป็นต้น

10 ผักไฮโดรโปนิกส์ราคาดีที่แนะนำให้ปลูก

  • กรีนโอ๊ค
  • เรดโอ๊ค
  • บัตเตอร์เฮด
  • ฟินเลย์
  • ผักกาดหอม
  • ผักกาดแก้ว
  • กวางตุ้ง
  • ต้นหอม
  • ขึ้นฉ่าย
  • เรดคอรัล

ข้อดีของการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

ข้อดีของการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

  1. ปลูกผักได้ตลอดปี ผักไฮโดรโปนิกส์สามารถเติบโตได้ตลอดปี
  2. ผักเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ผักไฮโดรโปนิกส์จะดูดซับสารละลายได้โดยตรง สามารถผสม
    สารอาหารที่เหมาะสมกับความต้องการของพืช ทำให้เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
  3. ประหยัดพื้นที่เพาะปลูก การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์สามารถปลูกได้โดยไม่ต้องพึ่งดินทำให้ปลูกได้
    ในทุกพื้นที่
  4. ลดขั้นตอนการทำงาน การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ไม่จำเป็นต้องเตรียมดิน ยกร่อง และกำจัดวัชพืช
  5. ผลผลิตมีคุณภาพและราคาสูง การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์สามารถควบคุมธาตุอาหารได้อย่างเหมาะสม ช่วยให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและราคาสูง
  6. ผลผลิต สะอาด ปลอดภัย การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ จะทำให้ได้ผลผลิตที่มีความสะอาดและปลอดภัย เนื่องจากควบคุมการเพาะปลูกได้ทั้งหมด

สรุปเกี่ยวกับผักไฮโดรโปนิกส์

การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ เป็นวิธีการเกษตรที่จะเปลี่ยนแปลงการเพาะปลูกจากดินไปสู่น้ำ ยกระดับปริมาณผลผลิตต่อพื้นที่ให้สูงขึ้น ช่วยให้เกษตรกรไทยก้าวข้ามปัญหาพื้นที่เพาะปลูกไม่เพียงพอ ศึกษาการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ยกระดับคุณภาพชีวิตได้แล้ว ที่นี่ หรือติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ผ่านช่องทางดังนี้

ดาวน์โหลด :

ที่มาของข้อมูล :

บทความที่เกี่ยวข้อง

ถั่วเขียวผิวดำ หรือ ถั่วแขก หรือถั่วเม็ดนุ่น เป็นชื่อเรียกที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ มีลักษณะต้น ใบ กิ่งก้าน ฝัก และเมล็ดใกล้เคียงกับถั่วเขียวธรรมดา ฝักอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสด ส่วนเปลือกถั่วและซากลำต้นใช้เป็นอาหารสัตว์ ยังสามารถปลูกไว้เพื่อใช้ทำปุ๋ยพืชสดได้ ปัจจุบันผลผลิตของถั่วเขียวผิวดำตลาดของ