เพลี้ยแป้งในนาข้าว

เพลี้ยแป้ง (rice mealy bug)

เพลี้ยแป้งเพศเมียไม่มีปีก ลำตัวเป็นปล้องค่อนข้างสั้นยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร  มีผงแป้งคลุมอยู่ภายนอก  มักพบเป็นกลุ่มระหว่างกาบใบและลำต้นข้าว  มักอยู่กับที่ไม่เคลื่อนไหวเมื่อฉีกกาบใบดูจะพบแมลงมีสีขาวคล้ายแป้งปกคลุม และเมื่อเอาส่วนแป้งที่ปกคลุมอยู่จะพบ แมลงตัวสีชมพู  เพศผู้มีปีก เคลื่อนย้ายโดยอาศัยมดพาไป หรืออาศัยลมพัดพาไป เพลี้ยแป้ง Pseudococus มีการลอกคราบ 3 ครั้ง ๆละ 5 วัน ระยะตัวเต็มวัย นาน 13 วัน วางไข่ได้ประมาณ 109 ฟอง เพศผู้ลอกคราบ 4 ครั้ง ระยะเวลานาน 15 วัน

ลักษณะการทำลาย
เพลี้ยแป้ง ทำลายข้าวโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นข้าวตั้งแต่ระยะกล้าถึงระยะออกรวง  ส่วนใหญ่พบทำลายช่วงระยะข้าวแตกกอ  ถ้ามีปริมาณมากทำให้กาบใบและใบข้าวเป็นสีเหลืองถึงน้ำตาล  เหี่ยวแห้ง  แคระแกร็นและแห้งตายทั้งกอ ต้นที่ไม่แห้งตายก็ไม่สามารถออกรวงได้ตามปรกติ หรืออกรวงก็มีเมล็ดลีบ  พบระบาดเป็นครั้งคราว มักพบระบาดเป็นหย่อมๆหรือบางจุด ยกเว้นปีที่อากาศแห้งและฝนแล้ง  ความเสียหายจะเกิดขึ้นมาก เช่นในภาคเหนือตอนบน หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

การป้องกันกำจัด

  • เมื่อข้าวแตกกอ ถ้าพบต้นข้าวเน่าฟุบตายหรือแห้งตายเป็นหย่อมๆ  และพบเพลี้ยแป้งให้ถอนต้นข้าวที่มีเพลี้ยแป้งมาเผาทำลาย
  • ในแหล่งที่พบการทำลายเป็นประจำ อย่าปล่อยพื้นนาแห้ง
  • เมื่อมีการระบาดรุนแรง ใช้สารมาลาไทออน (มาลาไธออน 57% อีซี)

บทความที่เกี่ยวข้อง

การอนุรักษ์ดินและน้ำ นอกเหนือจากการปรับปรุงดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำและมีสมบัติอื่น ๆ ไม่เหมาะสมให้ดีขึ้นโดยวิธีการต่าง ๆ ข้างต้นแล้ว ในขณะเดียวกันควรมีการป้องกันหรือควบคุมความเสื่อมโทรมของดินไปด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการอุดรูรั่วหรือป้องกันการสูญเสียเนื้อดินที่ดีรวมทั้งอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารออกไป
ผีเสื้อหนอนกระทู้กล้า Spodoptera mauritia (Boisduval) เป็นผีเสื้อกลางคืน ปีกคู่หน้าสีเทาปนน้ำตาล ความกว้างของปีกกางออกประมาณ 3.5-4 เซนติเมตร