เปียกสลับแห้งแกล้งข้าว

ในการทำนาข้าวแบบดั้งเดิมนั้นหนึ่งฤดูการเพาะปลูกจะใช้น้ำประมาณ 700 -1,500 มิลลิเมตร ดังนั้นเทคนิคการจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้ง(แกล้งข้าว)สามารถประหยัดน้ำได้ประมาณ 30% -50%  ลดปัญหานาหล่ม ป้องกันเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเนื่องจากความชื้นที่โคนกอข้าวต่ำ และกระตุ้นการออกรากของข้าว ซึ่งวิธีการนี้เหมาะสำหรับนาในเขตชลประทานที่สามารถควบคุมน้ำ มีการจัดการพื้นที่ มีสระน้ำที่สามารถหมุนเวียนน้ำในพื้นที่ได้

อุปกรณ์สำหรับการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง ท่อพีวีซีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง  4 นิ้ว  ความสูง  25 เซนติเมตร  เจาะรูจำนวน  40 รู 

วิธีการใช้อุปกรณ์

นำท่อดูน้ำไปฝังในแปลงนาที่มีพื้นเรียบ โดยให้ปากท่อพ้นผิวดินประมาณ 5 เซนติเมตรหลังจากนั้นเอาดินภายในท่อออกให้หมด จะสังเกตเห็นว่าระดับน้ำภายในท่อและภายนอกท่อเท่ากัน

เทคนิคสำหรับการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง

คือ การขังน้ำในแปลงนาที่ระดับความลึก 5 เซนติเมตรในช่วงหลังจากการปักดำ จนกระทั่งข้าวเริ่มตั้งท้องและออกดอกจะต้องทำการเพิ่มระดับน้ำในแปลงนา ซึ่งการปล่อยข้าวขาดน้ำหรือแกล้งข้าวมีด้วยกัน 2 ช่วง คือ

1.  ช่วงข้าวอายุประมาณ 35-40 วัน เป็นเวลา 14 วันหรือจนกว่าดินในแปลงนาแตกระแหง แล้วจึงปล่อยน้ำเข้านา

2.  ช่วงข้าวอายุประมาณ 50 – 60 วัน เป็นเวลา 14 วันหรือจนกว่าดินในแปลงนาแตกระแหง แล้วจึงปล่อยน้ำเข้านา

ซึ่งการปล่อยหน้าดินให้แตกระแหงในช่วงที่ต้นข้าวเจริญเติบโตนั้น ช่วยให้ข้าวได้รับแสงแดดอย่างเพียงพอ รากข้าวจะได้รับออกซิเจนเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดรากใหม่เพิ่มขึ้น แต่การทำนาแบบเปียกสลับแห้งนี้มีข้อควรระวังคือ ในช่วงข้าวตั้งท้อง ห้ามปล่อยน้ำให้แห้งเด็ดขาด และไม่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ในการปลูกข้าวที่เป็นดินทรายและดินเค็ม โดยกิจกรรมการเพาะปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้ง หรือการแกล้งข้าวในหนึ่งฤดูปลูกมีรายละเอียดดังรูปที่ 1

รูปที่ 1 ปฏิทินกิจกรรมการปลูกแบบเปียกสลับแห้ง หรือการแกล้งข้าว

จะเห็นได้ว่าการปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้งนี้เหมาะสำหรับสถานการณ์ภัยแล้งในปัจจุบันเนื่องจากวิธีการนี้เป็นการเพาะปลูกข้าวโดยสามารถบริหารจัดการน้ำที่มีอยู่ให้เพียงพอต่อความต้องการของต้นข้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกษตรกรยังสามารถลดต้นทุนในการผลิตได้อีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

สาเหตุ : เกิดจากเชื้อรา Cephalosporium, Fusarium และ Acremonium การระบาด 1. ทางท่อนพันธุ์ 2. เชื้อราอยู่ในดินและเศษซากจะเข้าทําลายอ้อย เมื่อปลูกพันธุ์ที่อ่อนแอ 3. โรคจะแพร่กระจายไปทางดินลม ฝน และน้ำชลประทาน ลักษณะอาการ อ้อยจะแสดงอาการใบเหลืองโทรม ต่อมาต้นจะแห้งตาย
เป็นกระแสรุนแรง สำหรับค่าฝุ่นละอองของประเทศไทยในช่วงนี้ เราได้ยินคำว่า PM 2.5กันทุกวัน ทำให้คนไทยมีความตระหนักถึงอันตรายของฝุ่นละออง PM 2.5กันมากขึ้น ความหมายของ PM คือ Particulate Matter ฝุ่นละอองที่ลอยฟุ้งอยู่ในอากาศ เป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน เทียบง่ายๆ คือมลพิษฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า