เกษตรกรรางวัลชนะเลิศลำดับที่ 1 ระดับจังหวัด ด้านผลผลิตมีคุณภาพของการปลูกข้าวเหนียว กข 6

ข้าวอินทรีย์เป็นการผลิตทางการเกษตรที่เน้นเรื่องของธรรมชาติเป็นสำคัญ อีกทั้งยังสามารถอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ รวมถึงการรักษาสมดุลธรรมชาติอย่างยั่งยืนอีกด้วย คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ในทุกๆวันนี้โลกมีวิวัฒนาการและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากมาย ในขณะที่การใช้สารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืชยังเป็นวิธีการที่จำเป็นต้องสำหรับการผลิตอยู่ จนเกิดภาวะมลพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตของคน พืช และสัตว์ ซึ่งในปัจจุบันกระแสการรักสุขภาพมีเพิ่มขึ้นเช่นกัน วิธีการผลิตโดยวิธีทางธรรมชาติ เป็นแรงจูงใจต่อผู้บริโภคและผู้รักสุขภาพอีกด้วย

คุณกาญจนา สมแคล้ว เกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ของชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า (SKCE) ผู้ปลูกข้าวเหนียว กข 6 ปัจจุบัน

อาศัยอยู่ที่ ต.หนองอ้อ อ.หนองวัอซอ จ.อุดรธานี  ผู้ดำรงตำแหน่งประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) โดยมีพื้นที่เพาะปลูกจำนวน 22 ไร่ โดยปลูก ข้าวพันธุ์ กข 6 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีความต้านทานต่อโรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง อีกทั้งยังเลือกผลิตพืชอินทรีย์ ช่วยลดต้นทุนด้านสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ยังช่วยให้ลำต้นแข็งแรง ไม่หักล้มง่าย ได้ผลผลิตสูง เหมาะสำหรับพื้นที่การปลูกข้าวที่ใช้เครื่องจักรในการเก็บเกี่ยว

การทำการเกษตรในปัจจุบัน พบว่า ไม่ประสบปัญหาการระบาดของศัตรูพืช ระบบนิเวศน์ค่อนข้างมีความสมดุลสูง การทำเกษตรที่ผ่านมา พอใจกับผลลัพธ์ที่ได้เนื่องจาก สุขภาพร่างกายแข็งแรง โดยไม่ต้องเสี่ยงกับปัญหาสุขภาพจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

เทคนิคและวิธีการเพาะปลูกของเกษตรกร ดังนี้

เกษตรกรเริ่มเตรียมเพาะปลูกในช่วงต้นฤดูฝนประมาณ เดือน พ.ค. หว่านปอเทืองในอัตรา 5 กิโลกรัม/ไร่  รอจนกว่าปอเทืองจะออกดอก ประมาณ 45-50 วัน จึงไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสด เนื่องจากเป็นพืชตระกูลถั่วที่มีไนโตรเจนสูง จากนั้นช่วงเดือน ก.ค. เริ่มปลูกเริ่มปลูก ขั้นตอนคือ ไถพรวนดินให้ดินละเอียด ดำนาด้วยรถดำนา Kubota โดยระยะในการปลูกอยู่ที่ 28 ซม. เมื่อผ่านไป 7 วัน ข้าวเริ่มตั้งตัว จะใช้น้ำหมักปลาปล่อยไปตามน้ำ หลังจากปล่อยน้ำหมักปลารอบแรกแล้ว นับระยะผ่านไป 15 วัน จึงปล่อยน้ำหมักปลาอีกครั้ง ซึ่งมีข้อดีคือใช้ในการบำรุงยอดพืช และช่วยให้รากพืชให้เจริญเติบโต ลำต้นแข็งแรง ออกดอกดี ติดผลดี รวมถึงต้านทานโรคได้ดีด้วย โดยฉีดพ่นเพื่อให้อาหารทางใบพืช

สูตรน้ำหมัก

  • 1.  เศษปลาสด 30 กิโลกรัม
  • 2.  กากน้ำตาล 10 กิโลกรัม
  • 3.  น้ำ 10 ลิตร
  • 4.  พด 9 จำนวน 1 ซอง  หมักในถังหมัก โดยคนทุกวันเป็นเวลา 1 สัปดาห์ เป็นระยะเวลา 60 วัน จึงสามารถนำมาใช้ได้

เทคนิคพิเศษ สำหรับการเตรียมแผงกล้าข้าว

ใช้เชื้อราไตรโครเดอร์มา แช่เมล็ดข้าวไว้เป็นเวลา 1 คืน บ่มเมล็ดเป็นระยะเวลา 2 คืน จากนั้นเมื่อเวลาผ่านไป 2 เดือน เป็นช่วงเวลาที่ข้าวอุ้มท้อง จึงใส่ปุ๋ยสุตร16-20-0 อีกครั้ง โดยเกษตรกรจะเริ่มเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนธันวาคม ผลผลิตอินทรีย์ที่ได้อยู่ที่ 450 กิโลกรัม/ไร่ สามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรไม่ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อไร่

จากตัวอย่างการปลูกข้าวอินทรีย์นี้จะเห็นว่า ปัจจุบันเกษตรกรเองก็มีส่วนช่วยผลักดันให้เกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิต ให้เป็นเกษตรทางเลือก เช่น เกษตรอินทรีย์ ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ในแง่สุขภาพของผู้บริโภค และคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น อาจจะมองไม่เห็นเป็นตัวเงินแต่มองเห็นในแง่ของสุขภาพ สิ่งแวดล้อมที่สมดุลและยั่งยืน

บทความที่เกี่ยวข้อง

พื้นที่ทำกินมีจำกัด จะจัดสรรอย่างไรดี ?
วันนี้ทางสยามคูโบต้าฯ ได้มีโอกาสได้สัมภาษณ์เกษตรกรผู้มากประสบการณ์ในด้านการเพาะปลูกข้าวโพดมานานกว่า 25 ปี ใน อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี นั่นก็คือ คุณอนงค์ วัตวงษ์ ซึ่งทำการเพาะปลูกข้าวโพดบนพื้นที่กว่า 50 ไร่ ให้เป็นเกษตรกรมืออาชีพถึงปัจจุบัน โดยที่เกษตรกรรายอื่นสามารถปฏิบัติตามได้อย่างแน่นอน
ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวแต่ละฤดู นอกจากจะเกิดการสูญเสียธาตุอาหารพืช ในเมล็ดที่เคลื่อนย้ายออกไปจากนาแล้ว หากมีการเผาหรือนำฟางไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นแทน จะทำให้เกิดการสูญเสียธาตุอาหารพืชในดินมากยิ่งขึ้น ดินจะมีธาตุอาหารพืชลดลง และเกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหาร ส่งผลให้ดินเสื่อมสภาพเร็วขึ้น ส่งผลกระทบต่อ