หอยเชอรี่

หอยเชอรี่ (golden apple snail) เป็นหอยทากน้ำจืดชนิดหนึ่ง ลักษณะคล้ายหอยโข่งบ้านเรา แต่สีเปลือกอ่อนกว่า (ภาพที่ 1) มีแหล่งกำเนิดอยู่ทางแถบอเมริกาใต้ นำเข้ามาในไทยเพื่อเลี้ยงขายเป็นอาหารและเลี้ยงประดับในตู้ปลา ต่อมาหลุดรอดลงแหล่งน้ำ และถูกปล่อยเมื่อไม่ต้องการ จนกลายเป็นสัตว์ศัตรูข้าวที่สำคัญในประเทศไทย

ภาพที่ 1 ตัวเต็มวัยหอยเชอรี่ Pomacea sp.  ภาพที่ 2 กลุ่มไข่หอยเชอรี่ และหอยเชอรี่ขณะวางไข่

รูปร่างลักษณะและการทำลาย

          หอยตัวเต็มวัยอายุ 3 เดือน (มีความสูง 2.5 เซนติเมตร) สามารถผสมพันธุ์และวางไข่ได้ แม่หอยจะวางไข่ในที่แห้งเหนือระดับน้ำ ไข่มีสีชมพูเกาะติดกันเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 388 – 3,000 ฟอง (ภาพที่ 2)  ไข่จะฟักเป็นตัวใน 7-12 วัน ลูกหอยกินสิ่งอ่อนนิ่ม เช่น สาหร่ายเป็นอาหาร และเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว หอยเชอรี่ชอบกินต้นข้าวอ่อนๆ ตั้งแต่ ข้าวงอก หรือตั้งแต่ก่อนปักดำจนถึงข้าวแตกกอ

การป้องกันกำจัด

  • เลือกวิธีปักดำโดยใช้ต้นกล้า อายุ 25-30 วัน
  • ช่วงเตรียมดิน : ทำร่องน้ำเทียมรอบแปลงเพื่อล่อให้หอยมารวมกันและเก็บทำลาย
  • ทุกครั้งที่สูบน้ำเข้านา ใช้เฝือกกั้นสวะ และหอยขนาดใหญ่ก่อน แล้วกั้นตามอีกชั้นด้วยตาข่ายตาถี่ หมั่นเก็บหอยและสวะออกเพื่อไม่ให้กีดขวางทางน้ำเข้า (ภาพที่ 3)
  • กำจัดหอยและกลุ่มไข่จากฤดูกาลที่แล้ว และป้องกันหอยใหม่ที่จะเข้ามา
  • ปักไม้ไผ่ตามข้างคันนา เพื่อล่อให้หอยมาไข่แล้วเก็บออกไปทำลาย
  • เก็บตัวหอยและกลุ่มไข่อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง อาจใช้พืช เช่น ใบมะละกอล่อ เพื่อให้หอยมารวมกันและเก็บทำลายได้ง่าย
  • ใช้ศัตรูธรรมชาติของหอย เช่น ปล่อยเป็ดไล่ทุ่งลงกินหอย (หลังจากเก็บเกี่ยวหรือก่อนทำนา) (ภาพที่ 4)
  • การใช้สารกำจัดหอย ได้แก่

1.  กากเมล็ดชา  ใช้หว่านในนาข้าว อัตรา  3 กิโลกรัมต่อไร่

2. นิโคซาไมด์ (nicorsamide) ชื่อการค้า ไบลุสไซด์ (Bayluscide) 70% WP อัตรา 50 กรัมต่อไร่

3. เมทัลดีไฮด์ (metaldehyde) ชื่อการค้า แองโกล-สลัก (Anglo slug) 5% หรือเดทมีล (Deadmeal) 4% เป็นเหยื่อพิษสำเร็จรูปอัดเม็ดใช้หว่านในอัตรา 0.5-1 กิโลกรัมต่อไร่

* ใช้สารกำจัดหอยหลังปักดำ หรือวันแรกที่เอาน้ำเข้านา และใช้ขณะมีน้ำอยู่ในนาสูง   5 เซนติเมตร

* ควรใช้ในกรณีที่มีการระบาดอย่างหนักและมีความเสียหายมากเท่านั้น และควรใช้สารเพียงครั้งเดียวต่อ 1 ฤดูปลูก

* ห้ามใช้สารอะบาแม็กติน สารเอ็นโดซัลแฟน และสารฆ่าแมลงอื่นๆ เพราะจะทำลายสภาพแวดล้อม

ภาพที่ 3 การใช้วัสดุกั้นทางที่ระบายน้ำเข้านา
ภาพที่ 4 ปล่อยเป็ดไล่ทุ่งลงในแปลงนาช่วงหลังเกี่ยวข้าว

บทความที่เกี่ยวข้อง

อายุเก็บเกี่ยว เริ่มเก็บเกี่ยวเมื่ออายุประมาณ 62-75 วัน ขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ เงื่อนไขการดำเนินการ 1. ฤดูกาล ในฤดูแล้งปลูกช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนมกราคม ช่วงปลูกหากกระทบอากาศเย็นจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต 2. ไม่ทนต่อสภาพน้ำท่วมขัง 3. ดินเหนียวไม่เหมาะสมกับการ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Leptocorisa acuta (Thunberg) Leptocorisa oratorius (Fabricius) วงศ์ : Alydidae อันดับ : Hemiptera ชื่อสามัญอื่น
“แผ่นเทียบสีใบข้าว” คือ อุปกรณ์วัดสีของใบข้าว โดยแผ่นดังกล่าวมีลักษณะเป็นแผ่นพลาสติกคุณภาพพิเศษ ประกอบด้วยแถบสีระดับต่าง ๆ 4-6 แถบ มีร่องเล็ก ๆเลียนแบบลักษณะของใบข้าว ซึ่งระดับสีบนแผ่นเทียบจะจำลองจากสีของใบข้าว หลังจากการใส่ปุ๋ยเคมี ประกอบด้วยสีเขียวเข้ม จางลงตามลำดับ