วิธีการรับมือน้ำเค็มเบื้องต้น

ในปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาน้ำเค็มไหลเข้าพื้นที่การเกษตรหลายแห่ง ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่ทำการเพาะปลูกพืชมากมาย และส่งผลกระทบต่อพืชโดยตรง เช่น ปลายใบไหม้ ต้นเหี่ยว และใบเหลือง ทำให้ผลผลิตของเกษตรกรลดลง

ซึ่งสาเหตุการเกิดน้ำเค็มในแต่ละภาคแตกต่างกันไป เช่น บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ เกิดจากในช่วงหน้าแล้งน้ำทะเลหนุนสูงทำให้มีน้ำเค็มผ่านเข้าระบบน้ำดิบในการผลิตน้ำประปา และเข้าสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ทำให้เกิดน้ำเค็มบนดิน ส่วนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกิดจากน้ำบาดาลเค็มและส่งผลให้น้ำผิวดินบางช่วงเกิดปัญหาความเค็ม

โดยวิธีการรับมือกับปัญหาเหล่านี้สามารถทำได้โดยจัดหาแหล่งน้ำสำรองหรือขุดสระเพื่อเก็บน้ำจืดจากแม่น้ำหรือน้ำธรรมชาติ เนื่องจากเมื่อถึงฤดูแล้งสามารถใช้น้ำสำรองในสระแทนการใช้น้ำจากธรรมชาติหรือบ่อดาลได้นั่นเอง

รูปแบบของการขุดสระ

ขั้นตอนในการขุดสระ

โดยรายละเอียดในขั้นตอนการขุดสระสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ เทคนิคและขั้นตอนการขุดสระน้ำเพื่อการเกษตรด้วยรถขุดคูโบต้า KX080-3

จากบทความรูปแบบการขุดสระข้างต้นนอกจากช่วยในการกักเก็บน้ำเมื่อน้ำเค็มเข้าบุกรุกพื้นที่เพาะปลูกแล้ว ยังเป็นการกักเก็บน้ำหรือสำรองไว้ใช้เมื่อถึงฤดูแล้ง ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรสามารถปลูกพืชและมีผลผลิตได้ตลอดทั้งปีนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ชุดดินในที่ดอนที่สำคัญ ในภาคกลาง 6. ชุดดินกำแพงแสน (Kamphaeng Saen series : Ks) กลุ่มชุดดินที่ 33 การกำเนิด : เกิดจากตะกอนน้ำพามาทับถมอยู่บนเนินตะกอนรูปพัด สภาพพื้นที่ : ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน 1-5 % การระบายน้ำ : ดี การซึมผ่านได้ของน้ำ : ปานกลาง
จุดกำเนิด ของการปลูกมันสำปะหลังเพื่อเลี้ยงโคนมในระบบอินทรีย์ของประเทศไทย เริ่มต้นจากกระแสการดูแลสุขภาพของคนทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น โดยเกษตรกรต้องการลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน แหล่งน้ำ และอากาศ รวมถึงการตอบแทนคุณแผ่นดินซึ่งเป็นที่ทำกินตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ
พบมาก ในนาชลประทาน ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง สาเหตุ เชื้อไวรัส Rice Ragged Stunt Virus (RRSV) อาการ ต้นข้าวเป็นโรคได้ ทั้ง ระยะกล้า แตกกอ ตั้งท้อง อาการของต้นข้าวที่เป็นโรค สังเกตได้ง่าย คือ ข้าวต้นเตี้ยกว่าปกติ ใบแคบและสั้นสีเขียวเข้ม แตกใบใหม่ช้ากว่าปกติ แผ่นใบไม่สมบ