ทำไมข้าวถึงล้ม

หลายท่านคงมีข้อสงสัยกับคำถามนี้ อันที่จริงแล้วปัญหาข้าวล้ม มีสาเหตุมาจากหลายประการ ตั้งแต่

1. พันธุ์ข้าว พันธุ์ที่มีต้นสูงจะมีโอกาสล้มได้ง่ายกว่าพันธุ์ต้นเตี้ย

2. มีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป และใส่ไม่ถูกช่วงเวลา ปุ๋ยไนโตรเจนมีผลต่อผลผลิตของข้าว แต่ถ้าใส่มากเกินไปจะเป็นการเพิ่มความสูงของต้นข้าว และเพิ่มความอิ่มน้ำของเซลล์พืช ทำให้หักล้มได้ง่ายขึ้น การใส่ที่ไม่ถูกช่วงเวลาโดยปกติช่วงที่เหมาะสมในการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากที่สุดคือ ช่วงระยะปักดำ และช่วงข้าวเริ่มตั้งท้อง หากใส่ผิดช่วงจะทำให้สูญเสียปุ๋ยและเป็นการทำให้ต้นข้าวเจริญทางใบมากเกินไป

3. ความเข้มของแสง ลมและฝน ถ้าปลูกข้าวผิดช่วงเวลาฤดูกาลอาจได้รับผลกระทบจากลมและฝนได้ และข้าวที่ปลูกหน้าแล้งหรือข้าวนาปรัง จะมีต้นเตี้ยกว่าข้าวที่ปลูกหน้าฝนฤดูนาปี

4. ส่วนที่สำคัญที่สุด ที่มีผลกระทบต่อการล้มของข้าวคือ วีธีการปลูก และระยะห่างระหว่างกอข้าว ข้าวที่ปลูกด้วยวิธี “นาดำ” จะมีรากที่ลึกลงไปในดิน ทำให้ลดการหักล้มได้มากกว่าข้าวนาหว่าน ที่รากเจิญเติบโตอยู่ที่ผิวดิน และการปักดำทำให้สามารถกำหนดระยะความถี่ห่างได้เหมาะสมกับพันธุ์ข้าว และความสมบูรณ์ของดิน อีกทั้งเมื่อข้าวมีระยะห่างที่เหมาะสมจะมีการแตกกอได้ดี และไม่ต้องโตแข่งความสูงเพื่อแย่งแสงแดด ทำให้ข้าวนาดำมีต้นที่เตี้ยกว่านาหว่าน เป็นผลให้ “ข้าวนาดำ ล้มยากกว่านาหว่าน” นั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง

มันสำปะหลัง สามารถปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด ดินที่ปลูกมันสำปะหลังในประเทศไทยส่วนใหญ่ เป็นดินเนื้อหยาบและมีความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ สภาพพื้นที่ มีลักษณะเป็นพื้นที่มีความลาดชัน จึงมักเกิดปัญหาเรื่องการชะล้างพังทลายของดินสูง เกิดปัญหาดินเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว ผลผลิตมันสำปะหลังลดลงเรื่อย ๆ
โรคใบไหม้แผลเล็ก (Southern Corn Maydis Leaf Blight) การระบาดของโรคนี้ในประเทศไทยมีเสมอทุกปีและระบาดเพิ่มมากขึ้นในหลายพื้นที่จนถึงปัจจุบัน โดยมีความรุนแรงกับข้าวโพดสายพันธุ์แท้ (Inbred line) บางสายพันธุ์ ข้าวโพดหวานข้าวโพดเทียน ข้าวโพดข้าวเหนียว เป็นต้น ลักษณะอาการ ระยะแรกจะเกิดจุดเล็ก ๆ สีเขียวอ่อน