ทำนาด้วยวิธีผสมผสานเพื่อลดต้นทุน

ปัจจุบันผลผลิตทางการเกษตรประสบปัญหาสารเคมีมีตกค้างจากการใช้สารเคมีในกำจัดวัชพืช ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพต่อผู้ปลูกรวมถึงผู้บริโภค แต่เกษตรกรหัวก้าวหน้าท่านนี้มีนามว่า  นายเสน่ห์ พันธ์ภูมิ อายุ 56 ปี บ้านเลขที่ 146 ม.1 ต.ศรีวิลัย อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด ได้รับเลือกให้เป็นปราชญ์พระราชา และหมอดินอาสา ได้นำวิธีการปลูกพืชแบบอินทรีย์ผสมกับการใช้ปุ๋ยเคมีมาปรับใช้กับการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ซึ่งทำให้การเพาะปลูกมีประสิทธิภาพสูงขึ้นและผลผลิตเพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ยผลผลิตอยู่ประมาณ 900กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งมีเทคนิคการปลูกและปฏิทินการเพาะปลูก(รูปที่ 1) ดังนี้

รูปที่ 1 ปฏิทินการเพาะปลูก

เริ่มต้นด้วยการไถดะในเดือนพฤษภาคม เพื่อให้ดินชั้นล่างได้ขึ้นมาสัมผัสอากาศรับออกซิเจนเพื่อกำจัดแมลงศัตรูพืช โรคพืชและวัชพืชและเป็นการตากดินทิ้งไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ จากนั้นไถพรวนซ้ำอีกครั้ง และตากดินอีก 1 สัปดาห์  โดยในขั้นตอนการพรวนดินจะต้องผสมปุ๋ยคอกเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์จากฟางข้าวที่เหลือหลังจากการเก็บเกี่ยว 

หลังจากนั้นทำการหว่านเมล็ดปริมาณโดยเฉลี่ย 10 กิโลกรัมต่อไร่ในช่วงเดือนมิถุนายน และทำการปั่นโรตารี่เพื่อกลบเมล็ด หลังจากนั้นช่วงเดือนกรกฎาคม-เดือนกันยายน ทำการดูแลต้นข้าวโดยใช้ปุ๋ยคอก และกำจัดวัชพืช ในช่วงเดือนตุลาคม ข้าวเริ่มออกรวงจะทำการใช้ปุ๋ยเคมีในการการเพิ่มน้ำหนักของรวงข้าว จะช่วยให้ข้าวเต็มเมล็ด ทำให้ข้าวมีน้ำหนักมากขึ้น หลังจากนั้นทำการเก็บเกี่ยวข้าวในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนและเดือนธันวาคม ทำการไถกลบตอซัง และนำฟางข้าวที่เหลือหลังจากการเก็บเกี่ยวนำมาอัดก้อนขายให้กับตลาดที่ต้องการซึ่งเป็นการเพิ่มรายได้ให้อีกทางหนึ่ง เพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ วัสดุปกคลุมดินหลังการหว่านเมล็ดพืช วัสดุคลุมดินสำหรับรักษาความชุ่มชื้นของดิน แก้ปัญหาดินเค็ม และที่สำคัญเป็นการลดการเผาไหม้ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของมลภาวะทางอากาศได้อีกด้วย

ขั้นตอนการทำปุ๋ยคอก

ส่วนผสมของปุ๋ยคอก

  1. ฟาง 1 ตัน (1,000 กิโลกรัม)
  2. กากมัน 1 ตัน
  3. สารเร่งซุปเปอร์ พด.1  1 ซอง
  4. น้ำหมักชีวภาพ
  5. กากน้ำตาล 20 กิโลกรัม

วิธีทำ

นำฟางข้าวหลังการเก็บเกี่ยวข้าวมากองไถประมาณ 3 รอบเอให้ฟางข้าวมีความร้อนและตากแดดเป็นระยะเวลา 3 เดือนหลังจากนั้นทำการรดน้ำวันละ 1 ครั้งเป็นเวลา 1 สัปดาห์ เมื่อครบ  1 สัปดาห์ ทำการพลิกกองฟางและรดน้ำวันละ 1 ครั้งเป็นเวลา 1 สัปดาห์เช่นเดิม หลังจากนั้นใช้ผ้าคลุมเพื่อหมักปุ๋ยคอกต่อเป็นเวลา 1 เดือน เมื่อครบระยะเวลาดังกล่าวสามารถนำปุ๋ยคอกไปใช้กับพืชได้ทันที

การผสมผสานทั้งปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี ทำให้เกษตรกรมีผลผลิตที่สูงขึ้น มีต้นทุนลดลง และไม่สร้างสารตกค้างของสารเคมีถือเป็นทางเลือกในการปรับเปลี่ยนจากการเรียนรู้ที่น่ายกย่อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

หนอนผีเสื้อหัวกะโหลก (Acherontia styx ; Death’s head hawk month) หรือเกษตรกรมักจะเรียกว่า “หนอนแก้ว” เป็นแมลงศัตรูที่มีพืชอาหารกว้าง พบในถั่วงา มะเขือ ยาสูบ มันเทศ ม่านบาหลี และแตง เป็นต้น วงจรชีวิตของหนอนผีเสื้อหัวกะโหลกใช้เวลา 49-56 วัน ผีเสื้อเพศเมียหนึ่งตัววางไข่ได้ประมาณ 125-156
พบมาก ในนาชลประทาน ภาคกลาง สาเหตุ เชื้อไวรัส Rice Grassy Stunt Virus (RGSV) อาการ ต้นข้าวเป็นโรคได้ ทั้งระยะกล้า แตกกอ ตั้งท้อง ต้นเตี้ยแคระแกรน เป็นพุ่มแจ้ แตกกอมาก เชื้อสาเหตุสายพันธุ์เดิมทำให้เกิดอาการใบแคบสีเขียวเข้ม แต่ในปัจจุบัน เชื้อสาเหตุสายพันธุ์ใหม่ที่พบทำให้เกิด