ข้าวพันธุ์ สังข์หยดพัทลุง

ชนิด : ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์ :
เป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่ปลูกดั้งเดิมใน จ.พัทลุง นาปี พ.ศ. 2531/32 ได้เริ่มคัดเลือกพันธุ์สังข์หยด (KGTC82239) จากแหล่งเก็บ อ.บางแก้ว จ.พัทลุง หนึ่งในสามแหล่งของข้าวสังข์หยดของจังหวัด ซึ่งมีความแปรปรวนในลักษณะทางพันธุกรรมของประชากรที่เก็บ ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุงคัดเลือกได้สายพันธุ์บริสุทธิ์มีความสูงของลำต้นสม่ำเสมอ เก็บเกี่ยวได้พร้อมกัน มีคุณภาพเมล็ดดีสม่ำเสมอ โดยคัดเลือกแบบหมู่ (mass selection) ในลักษณะดังกล่าวจำนวน 4 ชั่วอายุ จนได้สายพันธุ์สังข์หยด (KGTC82239-2) เป็นสายพันธุ์บริสุทธิ์ เมื่อ พ.ศ. 2543 มีลักษณะดีกว่าสายพันธุ์เดิมในลักษณะ ความสม่ำเสมอในการสุกแก่

การรับรองพันธุ์ : กรมวิชาการเกษตร มีมติรับรองพันธุ์ชื่อสังข์หยดพัทลุง เมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2550

ลักษณะประจำพันธุ์ :

  1. เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสงอ่อน
  2. อายุเก็บเกี่ยวประมาณวันที่ 10 ก.พ. เมื่อปลูกตามฤดูนาปีภาคใต้ (ปักดำกลางเดือนก.ย.)
  3. ทรงกอตั้ง ใบเขียว
  4. เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ข้าวซ้อมมือมีสีแดงปนสีขาว ข้าวจากรวงเดียวกันเมื่อขัดสีแล้ว บางเมล็ดมีสีขาวใส แต่ส่วนใหญ่มีลักษณะขาวขุ่น
  5. ระยะพักตัวของเมล็ดพันธุ์ประมาณ 8 สัปดาห์
  6. เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 9.3 x 2.1 x 1.7 มม.
  7. เมล็ดข้าวกล้องมีสีแดง ยาว x กว้าง x หนา = 6.7 x 1.8 x 1.6 มม.
  8. ปริมาณอมิโลสต่ำ (15±2 %)

ผลผลิต : เฉลี่ย 330 กิโลกรัมต่อไร่

ลักษณะเด่น : มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง ข้าวกล้องเมื่อหุงสุกจะมีความนุ่มเล็กน้อย

ข้อควรระวัง :

  1. ไม่ต้านทานโรคไหม้
  2. ไม่ควรปลูกใกล้เคียงกับแปลงปลูกข้าวขาว และควรแยกเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้โดยเฉพาะ

พื้นที่แนะนำ : พื้นที่ปลูกข้าวนาปี จ. พัทลุง

บทความที่เกี่ยวข้อง

นอกเหนือจากการปรับปรุงบำรุงดินร่วมกับการอนุรักษ์ดิน และการใช้พันธุ์มันสำปะหลังพันธุ์ดีแล้ว การจัดการดูแลดี โดยเริ่มตั้งแต่ ฤดูการปลูกที่เหมาะสม การเตรียมดินดี การเตรียมท่อนพันธุ์ปลูก ระยะปลูกที่เหมาะสมตลอดจนการใช้ปุ๋ยเคมีในอัตราที่เหมาะสม การกำจัดวัชพืชถือเป็นปัจจัยที่ทำให้ผลผลิตสูงขึ้น โดยเฉพาะการ
การทำนาในประเทศไทย เกษตรกรมีการปลูกข้าวนาปี หรือ ข้าวที่ต้องอาศัยน้ำฝนในการเพาะปลูก เป็นส่วนมาก ซึ่งเพาะปลูกได้เพียงหนึ่งรอบต่อปี เกษตรกรหลายรายจึงจำใจปล่อยแปลงนาของตนให้รกร้าง ไม่ได้มีการใช้ประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงเป็นการเสียโอกาสในการสร้างรายได้เป็นอย่างมาก แต่พี่น้องเกษตรกรที่ ต.ปากดุก
ชนิด : ข้าวเจ้า คู่ผสม : ได้จากการผสมพันธุ์ ระหว่างสายพันธุ์ BKNA6-18-3-2 กับสายพันธุ์ PTT85061-86-3-2-1 ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ในปี พ.ศ. 2533 ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ PTT90071-93-8-1-1 การรับรองพันธุ์