ข้าวพันธุ์ ปทุมธานี 1

ชนิด :  ข้าวเจ้า

คู่ผสม : ได้จากการผสมพันธุ์ ระหว่างสายพันธุ์ BKNA6-18-3-2 กับสายพันธุ์  PTT85061-86-3-2-1 ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ในปี พ.ศ. 2533 ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ PTT90071-93-8-1-1                    

การรับรองพันธุ์ : กรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2543

ลักษณะประจำพันธุ์ :

1. เป็นข้าวเจ้า ความสูงประมาณ 104 – 133 ซม.

 2. ไม่ไวต่อช่วงแสง

 3. อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 104 – 126 วัน

 4. กอตั้ง ใบสีเขียวมีขน กาบใบและปล้องสีเขียว ใบธงยาว ทำมุม 45 องศา 

 กับคอรวง โดยรวงอยู่ใต้ใบธง

 5. เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง มีขน มีหางเล็กน้อย

 6. ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3 – 4 สัปดาห์

 7. เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.5 x 2.4 x 1.9 มม.

 8. เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.6 x 2.1 x 1.7 มม.

 9. ปริมาณอมิโลส 15-19 %

 10. คุณภาพข้าวสุก นุ่มเหนียว มีกลิ่นหอมอ่อน

ผลผลิต : เฉลี่ย 650-774 กิโลกรัมต่อไร่

ลักษณะเด่น :

1. ผลผลิตสูง

2. ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยกระโดดหลังขาว

3. ต้านทานโรคไหม้ และโรคขอบใบแห้ง

ข้อควรระวัง : ค่อนข้างอ่อนแอเพลี้ยจักจั่นสีเขียว โรคใบหงิก และโรคใบสีส้ม                                   

พื้นที่แนะนำ : พื้นที่นาชลประทานในภาคกลาง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ไม่ว่าจะมีพื้นที่เกษตรกรรมมากหรือน้อย พื้นที่ปลูกข้าวจำนวน 10 ไร่ หรือเป็น 100 ไร่ พอถึงช่วงเวลาของการบำรุงรักษาที่ต้องฉีดพ่นสาร เกษตรกรย่อมไม่อยากสัมผัสกับสารเคมีโดยตรง และถ้าหาแรงงานมาฉีดพ่นสารไม่ได้ จะมีแนวทางจัดการได้อย่างไรบ้าง
ชุดดินในที่ดอนที่สำคัญ ในภาคใต้ 7. ชุดดินรือเสาะ (Rusoseries : Ro) กลุ่มชุดดินที่ 32 การกำเนิด : เกิดจากตะกอนของน้ำพามาทับถมอยู่บนตะพักลำน้ำหรือสันดินริมน้ำ สภาพพื้นที่ : ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน 1-5 % การระบายน้ำ : ดี การซึมผ่านได้ของน้ำ : ปานกลางถึงเร็ว
สำหรับการปรับปรุงบำรุงดินทำได้หลากหลายวิธี โดยการใช้อินทรียวัตถุในรูปแบบต่างๆ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักปุ๋ยหมักชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยพืชสด การใช้วัสดุคลุมดินหรือการไถกลบตอซังของพืชที่ปลูก แต่หลายๆวิธีการที่กล่าวมานั้นต้องมีการจัดเตรียมหรือจัดหามาจากแหล่งภายนอก บางครั้งต้องเสียค่าใช้จ่าย วิธีการไถกลบ