ข้าวพันธุ์ กข 6

ชนิด : ข้าวเหนียว

ประวัติพันธุ์ :
ปรับปรุงพันธุ์ โดยการใช้รังสีชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ โดยใช้รังสีแกมมาปริมาณ 20 กิโลเรด อาบเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 แล้วนำมาปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวบางเขนและสถานีทดลองข้าวพิมาย จากการคัดเลือกได้ข้าวเหนียวหลายสายพันธุ์ในข้าวชั่วที่ 2 นำไปปลูกคัดเลือกจนอยู่ตัวได้สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงสุดคือ สายพันธุ์ KDML105´65-G2U-68-254 นับว่าเป็นข้าวพันธุ์ดีพันธุ์แรกของประเทศ ที่ค้นคว้าได้โดยใช้วิธีชักนำพันธุ์พืชให้เปลี่ยนกรรมพันธุ์โดยใช้รังสี

การรับรองพันธุ์ : กรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2520

ลักษณะประจำพันธุ์ :

  1. เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 154 ซม.
  2. ไวต่อช่วงแสง
  3. ทรงกอกระจายเล็กน้อย ใบยาวสีเขียวเข้ม ใบธงตั้ง เมล็ดยาวเรียว
  4. เมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาล
  5. อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 21 พฤศจิกายน
  6. ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์
  7. เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 9.9 x 2.7 x 2.0 มม.
  8. เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.2 x 2.2 x 1.7 มม.
  9. คุณภาพข้าวสุก เหนียวนุ่ม มีกลิ่นหอม

ผลผลิต : เฉลี่ย 666 กิโลกรัมต่อไร่

ลักษณะเด่น :

  1. ให้ผลผลิตสูงและทนแล้งดีกว่าพันธุ์เหนียวสันป่าตอง
  2. คุณภาพการหุงต้มดี มีกลิ่นหอม
  3. ลำต้นแข็งปานกลาง
  4. ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล
  5. คุณภาพการสีดี

ข้อควรระวัง :

  1. ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง และโรคไหม้
  2. ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และแมลงบั่ว

พื้นที่แนะนำ : ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

บทความที่เกี่ยวข้อง

กำจัดข้าวเรื้อก่อนปลูก เตรียมแปลงโดยตากหน้าดินหลังเก็บเกี่ยวข้าวอย่างน้อย 2 สัปดาห์ แล้วใช้โรตารี่หรือขลุบย่ำ กลบตอซัง (ไม่ควรใช้ผานไถเพราะจะกลบเมล็ดข้าวเรื้อลงใต้ดิน ยากต่อการกำจัด) จากนั้นระบายน้ำออกให้หน้าดินแห้ง 2 สัปดาห์ ล่อให้ข้าวเรื้องอกใช้ขลุบย่ำกลับข้าวเรื้อหมักไว้ 3-5 วันก่อนคราดทำเทือกปลูก
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น สนับสนุน โครงการบริหารจัดการเชื้อพันธุกรรมข้าวโพด โดยดำเนินการภายใต้ศูนย์วิจัยปรับปรุงพันธ์พืชเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน ซึ่งม รศ.ดร.กมล เลิศรัตน์ เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้เก็บ รวบรวมเชื้อพันธุกรรมข้าวโพด เน้นกลุ่มข้าวโพดฝัก