การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์

ปัจจัยที่มีผลต่อการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์

การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์  คือการดำรงไว้ซึ่งความมีชีวิตของเมล็ดพันธุ์  (seed)  ให้ยาวนานออกไป  ฉะนั้นในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์จึงมีปัจจัยต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องหลายประการ  แต่โดยทั่วไปอาจสรุปได้   2  ประการ  คือ

1.ปัจจัยภายใน

1.ชนิดของเมล็ดพันธุ์(species)เมล็ดแต่ละชนิดมีอายุการเก็บรักษาแตกต่างกันไปตามพันธุกรรม เช่น ข้าวเก็บได้นานกว่าถั่วเหลือง

1.2 โครงสร้างและองค์ประกอบทางเคมีของเมล็ดพันธุ์เช่น เมล็ดที่มีองค์ประกอบของแป้งจะเก็บไว้ได้นานกว่าเมล็ดที่มีองค์ประกอบของไขมัน

 2.ปัจจัยภายนอก

2.1 อุณหภูมิความชื้นสัมพัทธ์ของสภาพการเก็บและความชื้นของเมล็ดเมล็ดจะเก็บรักษาไว้ได้อย่างปลอดภัยจะต้องมีความชื้นต่ำ เมล็ดที่มีความชื้นสูงจะมีขบวนการเมตาโบลิซึมสูง  นอกจากนี้โรคและแมลงจะเข้าทำลายได้ง่ายทำให้เสื่อมคุณภาพเร็ว  เก็บไว้ไม่ได้นานและเนื่องจากเมล็ดเป็นสิ่งที่มีคุณสมบัติที่เรียกว่า  “ไฮโกรสโคปิก”  (hygroscopic)  คือสามารถรับหรือถ่ายเทความชื้นของตัวเองให้สมดุลกับบรรยากาศภายนอก

2.2 การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว ควรเก็บเกี่ยวเมื่อถึงระยะแล้วเท่านั้นอย่าปล่อยไว้ในไร่นา  เพราะจะกระทบกับสภาพความชื้นที่แปรปรวน  การนวดและกะเทาะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังอย่าให้แตกร้าวและต้องลดความชื้นโดยการตากแดดและทำความสะอาด  แล้วบรรจุภาชนะโดยเร็ว  การปฏิบัติหรือการเก็บเกี่ยวที่ถูกต้องช่วยชะลอการเสื่อมคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ได้ทางหนี่ง

2.3 สภาพของที่เก็บรักษาควรมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมไม่เป็นอันตรายต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ที่เก็บรักษา

2.3.1 สภาพของโรงเก็บเมล็ดพันธุ์ที่ดี

2.3.1.1 โรงเก็บเมล็ดพันธุ์จะต้องมีคุณลักษณะที่แตกต่างและพิเศษกว่าโรงเก็บสินค้าทั่วๆไป ด้วยเหตุที่ว่าเมล็ดพันธุ์เป็นสิ่งมีชีวิตและจะต้องคงความมีชีวิตนี้ไว้ด้วย โรงเก็บจึงต้องมีสภาพที่เหมาะสมมั่นคงแข็งแรงและสามารถป้องกันสิ่งต่างๆที่จะมากระทบและเกิดอันตรายต่อสุขภาพของเมล็ดพันธุ์ได้โดยหลักการทั่วๆไป โดยสภาพของโรงเก็บเมล็ดพันธุ์ที่ดีควรมีลักษณะดังนี้

2.3.1.2 พื้นที่จัดเก็บควรราบเรียบสม่ำเสมอ มั่นคง แข็งแรง สามารถทานน้ำหนักเมล็ดพันธุ์ที่กดทับได้

2.3.1.3 ป้องกันน้ำได้น้ำเป็นศัตรูที่สำคัญที่สุดของเมล็ดพันธุ์ในระหว่างการเก็บรักษาโรงเก็บจึงต้องสามารถป้องกันน้ำได้ไม่ว่าจะเป็นการสาดจากน้ำฝน การไหลท่วมจากภายนอก หรือการซึมผ่านจากน้ำใต้ดิน

2.3.1.4 การระบายอากาศที่ดีการระบายอากาศให้เกิดการหมุนเวียนถ่ายเทภายในโรงเก็บเป็นการช่วยลดความเสี่ยงการเกิดความร้อนและความชื้นสะสมภายในกองเมล็ดพันธุ์ โรงเก็บที่มีการติดตั้งพัดลมดูดอากาศ จะช่วยในการระบายอากาศได้ดี

2.3.1.5 ป้องกันศัตรูได้โดยเฉพาะนก หนู และแมลง มักสร้างปัญหาเข้าทำลายเมล็ดพันธุ์ในระหว่างการเก็บรักษาเป็นอย่างมาก โรงเก็บจึงควรสร้างอย่างแข็งแรงมิดชิด ปราศจากร่องและซอกแตกตามผนังอาคาร อันทำให้ศัตรูต่างๆ นั้น เคลื่อนย้ายเข้าหรืออาศัยเป็นแหล่งหลบซ่อนได้ง่าย

2.3.1.6 ความสะอาด ความสะอาดของโรงเก็บและอาณาบริเวณเป็นสิ่งที่ต้องดูแลอยู่เป็นประจำ นอกจากจะช่วยลดอัตราการระบาดของศัตรูได้มากแล้ว โรงเก็บที่สะอาดยังสร้างภาพพจน์ความมีคุณค่าต่อสินค้าเมล็ดพันธุ์แก่ผู้ได้พบเห็นด้วย

สรุปข้อห้าม  7  ประการของการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์

 การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ที่ถูกวิธีคือ  การปฏิบัติต่อเมล็ดพันธุ์เพื่อรักษาหรือชะลอความเสื่อมคุณภาพ  ซึ่งคุณภาพดังกล่าวมีหลายลักษณะ  แต่ในที่นี้จะข้อกล่าวถึงข้อห้าม  7  ประการ  ดังนี้

  1. อย่าเก็บเมล็ดพันธุ์ที่มีความชื้นสูง  เพราะเมล็ดพันธุ์สามารถดูดความชื้นจากอากาศได้
  2. อย่าเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใกล้กับปุ๋ยหรือสารเคมีเพราะจะเกิดอันตรายโดยตรงต่อความงอกของเมล็ดพันธุ์
  3. อย่าเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใกล้กับแหล่งน้ำหรือสถานที่ชื้นแฉะ เพราะมีความชื้นสูงซึ่งจะทำให้เมล็ดพันธุ์มีอายุสั้นเพราะดูดความชื้น
  4. อย่าเก็บเมล็ดพันธุ์บนพื้นโดยตรง  เพราะพื้นจะถ่ายเทความชื้นสู่เมล็ดทำให้กันความชื้นไม่ได้  อากาศถ่ายเทไม่ดี  เมล็ดจะเน่าเสียหายเร็ว
  5. อย่าให้มีศัตรูโรคแมลงขณะเก็บรักษาเพราะจะทำลายเมล็ดโดยตรง
  6. อย่าเก็บเมล็ดที่ตายแล้วเพราะเสียเวลา  ทุน  แรงงาน  และสถานที่
  7. อย่าละเลยการตรวจสอบเมล็ดพันธุ์ขณะเก็บรักษาเพราะการตรวจสอบจะทำให้ทราบสภาพของคุณภาพเมล็ดพันธุ์เพื่อการวางแผนปฏิบัติการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเมล็ดพันธุ์

พึงระลึกเสมอว่าเมล็ดพันธุ์เป็นสิ่งมีชีวิตและมีคุณค่าการใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพดีเพาะปลูก  หมายถึงความสำเร็จของเกษตรกรจึงไม่ควรปล่อยปะละเลย  เมล็ดพันธุ์ไม่สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ในสภาพที่ไม่เหมาะสม  ดังนั้น  การให้การดูแลที่ถูกต้องเท่านั้นจะรักษาคุณภาพเมล็ดพันธุ์ไว้ได้นาน

บทความที่เกี่ยวข้อง

การใส่ปุ๋ย สูตรปุ๋ยยางพาราที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำให้ใช้ในปัจจุบันมี 6 สูตร แต่ละสูตรจะเหมาะสมกับเนื้อดินและอายุของต้นยางแตกต่างกัน ดังแสดงไว้ในตาราง ตารางแสดงสูตรปุ๋ยที่มีความเหมาะสมกับเนื้อดินและอายุของต้นยาง หมายเหตุ ฟอสฟอรัสในสูตรปุ๋ยเม็ดเป็นค่าของฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ ฟอสฟอรัสใน
การเลือกพื้นที่ ควรเลือกพื้นที่ ที่มีแหล่งน้ำเพียงพอตลอดฤดูปลูก หลีกเลี่ยงพื้นที่ลุ่มต่ำที่มีการระบายน้ำไม่ดี ฤดูปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา เดือนที่เหมาะสมสำหรับปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์คือเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม หรือปลูกทันทีหลังจากเก็บเกี่ยวข้าว เพื่อใช้ประโยชน์จากความชื้นที่เหลืออยู่ในดิน
ทำไม ? ต้องเก็บพันธุ์พืชท้องถิ่น ในยุคสมัยปัจจุบันที่การแก่งแย่งแข่งขันทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ การผลิตอาหารป้อนให้ทันความต้องการถือเป็นประเด็นสำคัญ การมุ่งปรับปรุงพันธุ์พืชอย่างไรให้ได้ผลผลิตมากๆ ทำให้เกิดพันธุ์พืชลูกผสมมากมายหลายสายพันธุ์ เมื่อเกิดการปรับปรุงไปเรื่อยๆ ก็จะทำให้เกิดฐานพันธุกรรมพืช