การอนุรักษาศัตรูธรรมชาติ

ศัตรูธรรมชาติของแมลงสัตว์ศัตรูข้าวที่สำคัญพบทั่วไป ได้แก่ แมลงห้ำ แมลงเบียน แตนเบียน หนอนกอข้าว    

แมลงห้ำ แมลงห้ำมี 3 ชนิด คือ ด้วงเต่า แมลงปอ และมวนเขียวดูดไข่ 

ด้วงเต่า ตัวเต็มวัยมีลักษณะกลม ขนาดประมาณ 0.3 – 0.7 เซนติเมตร ด้านล่างแบนราบ ด้านบนโค้งนูน ปีกเป็นเงา มีสีส้ม สีแสด หรือสีแดงบางชนิดมีจุดหรือแถบสีดำ เพศเมียวางไข่สีเหลืองอ่อนรูปกลมบนพื้นผิวพืช ตัวอ่อนมีรูปร่างยาวเรียวคล้ายกระสวย มีสีดำ บางครั้งจุดหรือแถบสีส้ม สีเหลืองอ่อน และสีขาว มีขา 3 คู่ด้วงเต่าเป็นตัวห้ำ ช่วยกัดกินเพลี้ยไฟและไข่ รวมทั้งหนอนตัวเล็ก ๆ ของหนอนกอข้าว และหนอนห่อใบข้าว

แมลงปอ เป็นแมลงห้ำ จับศัตรูข้าวขนาดเล็ก เช่น ผีเสื้อหนอนกอข้าว เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่นสีเขียว กินเป็นอาหาร

มวนเขียวดูดไข่ ตัวเต็มวัยมีขนาด 3 มิลลิเมตร ลำตัวสีเขียว หัวสีดำ หนวดยาว ปากแหลมใช้แทงเข้าไปดูดกินของเหลวภายในไข่เพลี้ยกระโดดและเพลี้ยจักจั่นที่ฝังอยู่ในกาบใบข้าว ทำให้บางครั้งชาวนาเข้าใจผิดคิดว่าแมลงกำลังดูดกินต้นข้าว

แมลงเบียน มี 3 ชนิด คือ แตนเบียนดรายอินิด แตนเบียนไข่หนอนกอข้าว และแตนเบียนหนอนกอข้าว 

แตนเบียนดรายอินิด เป็นแมลงศัตรูธรรมชาติที่สำคัญของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยจักจั่นข้าว ตัวเต็มวัยเพศเมียเป็นแมลงห้ำ บางชนิดไม่มีปีก ส่วนปลายเท้ายาวและกางออกเป็นคีมสำหรับจับเหยื่อกินเป็นอาหาร ตัวอ่อนเป็นแตนเบียน จะเกาะดูดกินอยู่ภายในถุง มองเห็นเป็นก้อนเล็ก ๆ ติดที่ส่วนท้องของเพลี้ยกระโดดและเพลี้ยจักจั่น

แตนเบียนไข่หนอนกอข้าว ตัวเต็มวัยมีขนาดยาวประมาณ 1.4 มิลลิเมตร สีเขียวสะท้อนแสงเพศเมียวางไข่เข้าไปในไข่หนอนกอข้าว ทำให้ไข่เป็นสีดำและไม่ฟักเป็นตัวหนอน ตัวเต็มวัยมีสีดำ ลำตัวยาวประมาณ 2.5 มิลลิเมตร เพศเมียมีอวัยวะวางไข่สำหรับแทงเจาะเข้าไปวางไข่ในลำตัวหนอนกอข้าว ตัวหนอนของแตนเบียนที่โตเต็มที่จะเจาะผนังลำตัวหนอนกอข้าวออกมาสร้างใย และถักเป็นรังหุ้มลำตัวแล้วเข้าดักแด้ภายในรัง หลังจากนั้นจะเจาะรังออกมาและบินไปทำลายหนอนกอข้าวที่อยู่ใกล้เคียง หนอนกอข้าวที่ถูกแตนเบียนเข้าทำลายจะมีตัวสีเหลืองซีด เคลื่อนไหวช้า  ไม่กินอาหารและตาย

แมงมุม ที่พบในข้าวมีหลายชนิด มีบทบาทสำคัญช่วยควบคุมแมลงศัตรูข้าว โดยจับกินผีเสื้อหนอนกอข้าว เพลี้ยจักจั่นสีเขียว เพลี้ยกระโดดและมวนศัตรูข้าว

นกฮูก นกแสก เหยี่ยว พังพอนและงู เป็นศัตรูธรรมชาติ จับกินหนูศัตรูของข้าว ศัตรูธรรมชาติ ทั้ง 4 กลุ่มนี้ มีประสิทธิภาพในการควบคุมแมลง สัตว์ศัตรูข้าว ดังนั้น ในการป้องกันกำจัดศัตรูข้าวควรใช้วิธีการที่ปลอดภัยตามคำแนะนำ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติที่มีประโยชน์ดังกล่าว

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัญหาดินดานรุนแรงกว่าที่คิด แล้วเราจะแก้ปัญหาอย่างไรกันดี ในบทความนี้มีคำตอบ
ชนิด : ข้าวเจ้าหอม ประวัติพันธุ์ :รวบรวมจาก อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา เมื่อ พ.ศ.2493-2494 จำนวน 199 รวง แล้วนำไปคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ (pure line selection) และปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ที่สถานีทดลองข้าวโคกสำโรง แล้วปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ ในท้องถิ่น ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จนได้สายพั
การปลูกมันสำปะหลังให้ได้ผลผลิตสูงนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นวันนี้จะแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกับ คุณอนันต์ บุญสมปอง บ้านเลขที่ 64/4 หมู่ 2 ต.จอระเข้เผือก อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี อดีตรองผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ปัจจุบันได้ผันมาเป็นเกษตรกรเต็มตัว ซึ่งสามารถผลิตมันสำปะหลังสดได้