การปักดำข้าวด้วยเครื่องปักดำ

ความจำเป็นที่ต้องใช้เครื่องปักดำ

  • นาหว่าน มีปัญหาข้าวดีด,หญ้าวัชพืชและผลผลิตต่ำ
  • ในการขาดแคลนแรงงานคนในช่วงเวลาปักดำ รวมทั้งมีค่าจ้างแรงงานสูง เป็นปัญหาที่สำคัญในการปลูกข้าว โดยเฉพาะในท้องที่ที่ยังคงปลูกข้าวด้วยวิธีปักดำ การใช้รถดำนาจึงเป็นวิธีที่ช่วยแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาดังกล่าวได้เป็นอย่างดี

เครื่องปักดำทำงานอย่างไร?

 เครื่องปักดำมี 2 ประเภท คือ เดินตาม และนั่งขับ เครื่องยนต์มีทั้งเบนซิลและดีเซลสามารถปักดำได้ครั้งละ 4,6 และ 8 แถว (ตามแต่ละรุ่นที่กำหนดไว้) ระยะห่างระหว่างแถว 30 เซนติเมตร(ไม่สามารถปรับได้) ส่วนระยะห่างระหว่างกอสามารถปรับได้(ขึ้นอยู่กับรุ่น) และนอกจากนั้นยังสามารถปรับความลึกในการปักดำได้อีกด้วย

วิธีการเตรียมแปลง

1.  ไถ-คราดดินในแปลงตามปกติเหมือนกับแปลงนาที่เตรียมไว้สำหรับใช้แรงงานคนปักดำ

2.  หลังการไถ-คราดแล้วต้องพักแปลงไว้โดยขังน้ำทิ้งไว้ 3-5 วัน (ขึ้นอยู่กับลักษณะดิน) เพื่อให้ดินเลนในแปลงตกตะกอนก่อน เพราะถ้าดินเลนในแปลงยังเหลวจะไม่มีแรงยึดต้นกล้า ทำให้ต้นกล้าล้มง่าย และดินเลนยังจะถูกสกีเบียดไหลไปทับต้นกล้าในขณะที่เครื่องยนต์ทำงานด้วย

3.  แปลงที่เป็นดินเหนียวใช้เวลาพักแปลงประมาณ 3-4 วัน ในดินทรายใช้เวลาประมาณ 1-2 วัน

4.  ขณะที่ใช้เครื่องดำนาให้รักษาระดับน้ำในแปลงให้สูงประมาณ 5 เซนติเมตร หรือครึ่งหนึ่งของความสูงของต้นกล้าที่ปักดำแล้ว

วิธีการเตรียมการใช้เครื่องปักดำ

  • ปรับความลึกในการปักดำ ปรับระยะห่างระหว่างกอ และปรับจำนวนต้นต่อกอ ให้ได้ตามที่ต้องการ
  • นำแผ่นกล้าใส่ลงในแผงใส่กล้า จากนั้นก็สามารถขับเคลื่อนรถดำนาได้

ข้อควรระวัง

  • การเตรียมแปลงปักดำไม่ควรไถลึกเกินไป เพื่อง่ายต่อการควบคุมเครื่องปักดำ
  • อย่าใช้เครื่องปักดำในแปลงนาที่มีดินแห้งเด็ดขาด เพราะเครื่องดำนาจะเสียหาย
  • การปักดำด้วยเครื่องจำเป็นต้องใช้กล้าที่ตกเป็นแผ่นในถาดเพาะกล้าหรือในแปลงนา

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพลี้ยกระโดดท้องขาว หรือเพลี้ยกระโดดข้าวโพด (White-Bellied Planthopper, Corn Planthopper) โดยเพลี้ยกระโดดท้องขาวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนและกาบใบ ทำให้ต้นข้าวโพดชะงักการเจริญเติบโต หากระบาดรุนแรงทำให้เกิดอาการใบไหม้ นอกจากนี้ยังขับถ่ายมูลหวาน ลงบนต้นพืชเป็นสาเหตุทำให้เกิดราดำ รูปร่างลักษณะ : ตัวเต็
ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช มีอยู่ 16 ธาตุ แต่มีเพียง 7 ธาตุ เท่านั้นที่พืชต้องการใช้ในปริมาณน้อยมาก และเราเรียกธาตุเหล่านี้ว่า จุลธาตุ (Micronutrient) ได้แก่ เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) สังกะสี (Zn) ทองแดง (Cu) โบรอน (B) โมลิดินัม (Mo) คลอรีน (Cl) แม้ว่าพืชต้องการธาตุเหล่านี้น้อย แต่ก็มี
รถติดหล่ม รถไถแทรกเตอร์ติดหล่ม ปัญหาใหญ่ของการทำนาด้วยเครื่องจักรกลทางการเกษตร หากเกิดขึ้นมา อาจรบกวนเวลาการทำงานเป็นอย่างมากอีกทั้งยังทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย แต่จริง ๆ แล้วปัญหารถติดหล่มสามารถแก้ไขเองได้ไม่ยาก โดยบทความนี้ KUBOTA (Agri) Solutions ได้นำขั้นตอนการแก้ไขปัญหารถติดหล่มมาให้ถึง 6 วิธี จะมีอะไรบ้าง มาดูกันเลย