การประหยัดต้นทุนด้วยการลดแผ่นกล้าในพื้นที่ จ.เชียงราย

การปลูกข้าวด้วยการทำนาดำเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่า สามารถช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และได้พันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพ ซึ่งในปัจจุบันเกษตรกรสามารถใช้เครื่องจักรกลการเกษตรที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการทำนาดำโดยเฉพาะ ช่วยให้ทำงานได้อย่างสะดวกสบาย งานเสร็จไว รวดเร็วทันใจ พร้อมทั้งยังช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานคนได้อีกด้วย

และเพื่อให้เกษตรกรผู้ทำนาดำสามารถลดต้นทุนได้มากยิ่งขึ้น สยามคูโบต้าจึงได้ทำการวิจัยและส่งเสริมให้เกษตรกรมีลดการใช้แผ่นกล้า ด้วยการขยายระยะห่างระหว่างกอข้าวตามความเหมาะสมของพันธุ์ข้าว เพื่อช่วยให้ต้นข้าวเจริญเติบโตได้อย่างแข็งแรงทั้งรากและลำต้น  ที่สำคัญ คือ ต้นข้าวสามารถแตกกอได้ดี ออกรวงได้อย่างเต็มที่ ผลผลิตเพิ่มขึ้น ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ

หนึ่งในพื้นที่ที่สยามคูโบต้าได้เข้าไปส่งเสริม นั่นคือ จ.เชียงราย โดยใช้รูปแบบการทำแปลงเปรียบเทียบระหว่างวิธีดั้งเดิมของเกษตรกรและวิธี KAS ด้วยการใช้พันธุ์ข้าว กข 49 และมี คุณวิเศษ ทองงา หรือที่ชาวบ้านแถวนั้นเรียกว่า พ่อเศษ เกษตรวัย 58 ปี เป็นผู้ร่วมทำแปลงทดสอบกับสยามคูโบต้าในครั้งนี้ ระหว่างเดือนเมษายน – พฤศจิกายน ในปีที่ผ่านมา

พ่อเศษ เผยว่า แปลงทดสอบของตนเองนั้น ใช้ระยะห่างระหว่างกอข้าวอยู่ที่ 18×30 เซนติเมตร ซึ่งแต่ละกอใช้จำนวนต้นกล้าต่อหลุมจำนวน 7-10 ต้น ทำให้ใช้แผ่นกล้าไปประมาณ 45-50 แผ่น/ไร่ และใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 12 กิโลกรัม/ไร่ ซึ่งเมื่อข้าวเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ตนเองสังเกตเห็นว่า ต้นข้าวเบียดเสียดกันแน่น ทำให้ข้าวแตกกอได้น้อย ส่งผลให้ได้ผลผลิตอยู่ที่ 681 กิโลกรัม/ไร่ และใช้ต้นทุนไปประมาณ 6.8 บาท/กิโลกรัม

สำหรับแปลงทดสอบด้วยวิธี KAS ได้มีการขยายระยะห่างระหว่างกอข้าวอยู่ที่ 24×30 เซนติเมตร ใช้จำนวนต้นกล้าต่อหลุมประมาณ 3-5 ต้น เพื่อให้แสงสว่างส่องผ่านได้ทั่วถึงพื้นดิน ช่วยให้อากาศถ่ายเทได้ดี  และสามารถเข้าไปบำรุงรักษาและดูแลข้าวได้ง่าย รวมทั้งยังทำให้การกำจัดข้าวดีดข้าวเด้งได้สะดวกอีกด้วย นอกจากนี้ การขยายระยะห่างระหว่างกอข้าวยังช่วยลดและป้องกันการเจริญเติบโตของวัชพืช การระบาดของโรค และแมลงศัตรูข้าว ส่งผลให้ลดการใช้แผ่นกล้าเหลือเพียงจำนวน 23 แผ่น/ไร่ และใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 5 กิโลกรัม/ไร่ ได้ผลผลิตอยู่ที่ 908 กิโลกรัม/ไร่ และใช้ต้นทุนไปประมาณ 3.8 บาท/กิโลกรัม

“เมื่อก่อนผมหมดค่าปุ๋ยไปเยอะครับ เพราะไม่รู้วิธีการใส่ปุ๋ยที่ถูกต้อง แต่พอเห็นทีมงานจากสยามคูโบต้ามาสอนวิธีการใส่ปุ๋ยสั่งตัด และมีการวิเคราะห์ดิน จึงช่วยให้ผมรู้ว่าดินของผมมีธาตุอาหารเท่าไหร่ ต้องใส่ปุ๋ยชนิดใดบ้าง ทำให้ใส่ปุ๋ยให้ตรงตามความต้องการของข้าวในแต่ละระยะครับ พอเห็นผลลัพธ์จากแปลง KAS ก็ยิ่งรู้สึกมั่นใจ เพราะลดต้นทุนลงไปเยอะ แต่ได้ผลผลิตที่มากกว่าเดิม ขอบคุณทีมงานทุกคนนะครับที่มาช่วยแนะนำและให้ความรู้เรื่องการลดแผ่นกล้าครับ”พ่อเศษ กล่าวเพิ่มเติม

จากความสำเร็จในครั้งนี้ สยามคูโบต้ายังคงมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมและให้คำแนะนำเกษตรกรในพื้นที่อื่นๆ ทำการเกษตรให้สามารถลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ซึ่งเกษตรกรท่านใด ที่สนใจวิธีการทำนาดำ  ทางสยามคูโบต้าเอง ยังมีศูนย์พันธุ์กล้าแผ่นคูโบต้า กระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 62 แห่งทั่วประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่เกษตรกรผู้ใช้รถดำนาคูโบต้า ได้มีแหล่งผลิตกล้าแผ่นที่ได้คุณภาพและมาตรฐาน เพื่อใช้ในการปักดำ ซึ่งเมล็ดพันธุ์ข้าวยังได้มาตรฐานตามที่ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวกำหนดด้วย

หมายเหตุ: ตัวเลขทั้งหมดได้จากการเก็บข้อมูลจากแปลงส่งเสริมของสยามคูโบต้า และแปลงของพ่อเศษ เกษตรกรเจ้าของแปลง โดยผลการทดสอบอาจเปลี่ยนแปลงตามปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพพื้นที่ ภูมิอากาศ การระบาดของโรคและแมลง การระบาดของวัชพืช อัตราค่าจ้างแรงงานในแต่ละพื้นที่ พฤติกรรมการเพาะปลูกในแต่ละพื้นที่ การเลือกพันธุ์ที่ใช้ปลูก และปริมาณน้ำฝนในแต่ละพื้นที่และในแต่ละปี รวมทั้งขึ้นอยู่กับผลค่าวิเคราะห์ดิน

บทความที่เกี่ยวข้อง

นายมูล สุขเจริญ อายุ 56 ปี เกษตรกรในอำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา อดีตสมาชิก อบต. ทำการเพาะปลูกมาแล้วไม่ต่ำกว่า 25 ปี ปัจจุบันพื้นที่ปลูกอ้อยของตนเองกว่า 700 ไร่ และพื้นที่ของลูกไร่ประมาณ 40 คน ในพื้นที่ 1,500 ไร่ โดยมีโควต้าอ้อยต่อปีกว่า 18,000 ตัน การดูแลอ้อยในพื้นที่ของตัวเอง รวมทั้งพื้นที่
คณะกรรมการวัตถุอันตราย เห็นชอบ 6 มาตรการ จำกัดการใช้ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 5 ฉบับ ผู้เกี่ยวข้องมีดังนี้ เกษตรกรผู้ใช้ ผู้รับจ้างพ่น ผู้ขาย ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้นำเข้า/ผู้ผลิต กำหนดพืชที่อนุญาตให้ใช้ 3 สาร กำหนดข้อความในฉลาก แผนปฎิบัติการอบรม ตัวอย่างฉลากวัตถุอันตราย
ปัจจัยที่มีผลต่อการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ คือการดำรงไว้ซึ่งความมีชีวิตของเมล็ดพันธุ์ (seed) ให้ยาวนานออกไป ฉะนั้นในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์จึงมีปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องหลายประการ แต่โดยทั่วไปอาจสรุปได้ 2 ประการ คือ 1.ปัจจัยภายใน 1.1 ชนิดของเมล็ดพันธุ์(species)