แอลฟาทอกซินในข้าวโพด

แอลฟาทอกซินในข้าวโพด


เชื้อสาเหตุ:
 เกิดจากเชื้อรา Aspergillus flavus

ลักษณะอาการ: เชื้อรา Aspergillus flavus จะสร้างกลุ่มของสปอร์สีเหลืองปนเขียว ซึ่งเห็นความแตกต่างได้จากโรคจากเชื้อราอื่น ๆ เมื่อทำการเก็บเกี่ยว

การแพร่ระบาด: เชื้อราตัวนี้สามารถเจริญบนไหมของฝักข้าวโพดและเจริญเข้าไปในฝักทำลายเมล็ดที่กำลังเติบโตได้ด้วยตัวของมันเอง แต่พบว่าการเข้าทำลายของเชื้อ A. flavus ในไร่ส่วนใหญ่มักเป็นผลต่อเนื่องมาจากการเข้าทำลายของแมลง โดยแมลงทำให้เกิดแผลเปิดทางให้เชื้อราเข้าทำลายง่ายขึ้น และทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อราด้วย เชื้อรานี้จะเข้าทำลายเมล็ดข้าวโพดได้ง่าย เมื่อเมล็ดข้าวโพดมีแผล เช่น แผลที่เกิดจากการเก็บเกี่ยว ขนย้าย ขนส่ง และระหว่างเก็บรักษา

นอกจากนี้ยังพบว่าเชื้อรา A. flavus สามารถเข้าทำลายเมล็ดข้าวโพดได้สูงในขบวนการสี อาจเนื่องมาจากเมื่อทำการสีข้าวโพดจะทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อที่ติดมากับฝักตั้งแต่แรก เนื่องจากเมล็ดแตกหักและเชื้อโรคเข้าทำลายได้ง่าย

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค: ฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวโพดในเมืองไทยตรงกับช่วงฤดูฝน ประกอบกับข้าวโพดที่เก็บเกี่ยวนั้นมีความชื้นค่อนข้างสูง 20-30% และบางครั้งสูงกว่า 30% ถ้าข้าวโพดเหล่านี้ได้รับบาดแผลเนื่องจากขบวนการเก็บเกี่ยว การสี หรือการตาก ย่อมจะเปิดทางให้เชื้อ A. flavus เข้าทำลายและเพิ่มปริมาณได้มาก

การป้องกันและกำจัด: ควรรีบทำให้ข้าวโพดเปียกแห้งลงโดยเร็วที่สุด เช่น การตากข้าวโพดบนลานตาก หรือโดยใช้เครื่องอบจะช่วยป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อ A. flavus ได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัจจุบันเกษตรกรจำนวนมากเริ่มหันกลับมาลดต้นทุนทางการเกษตร โดยทำการหมักปุ๋ยอินทรีย์สำหรับใช้ในพื้นที่ของตนเอง แต่ปัญหาที่พบส่วนใหญ่คือจะต้องใช้แรงงานคนจำนวนมากในการกลับกองปุ๋ยทุกๆ 7 วัน ซึ่งเป็นวิธีที่ยุ่งยาก และเสียค่าใช้จ่ายมาก ทำให้ทาง ผศ.ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้คิดค้นวิธีการทำ
อ้อยแตกใบเป็นฝอยคล้ายตะไคร้ ใบอาจมีสีเขียวปกติหรือสีซีด ใบเล็กมากถ้าเป็นอ้อยปลูก จะให้ลำเล็กกว่าปกติและจำนวนลำในแต่ละกอน้อย ถ้าเป็นอ้อยตอ จะไม่ได้ลำเลย อาจรุนแรงจนต้องไถทิ้ง