ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สไตล์คูโบต้า

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์  ถือเป็นพืชไร่อันดับต้นๆที่นิยมปลูกในประเทศไทย และนอกจากนั้นไทยยังเป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่สำคัญในภูมิภาคอาเซียน เนื่องจากเป็นวัตถุดิบสำคัญของอุตสาหกรรมในประเทศที่มีความสามารถในการรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร และมีเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

วันนี้จะแนะนำให้ทุกคนได้รู้ขั้นตอนและวิธีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในดินทรายและดินร่วนปนทรายตามฉบับคูโบต้า ซึ่งเป็นวิธีที่เกษตรกรสามารถทำตามได้แน่นอน

ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมดินและการจัดการแปลง

 1.1  การไถระเบิดดินดาน ควรทำตอนที่ดินมีความชื้นน้อยเพื่อให้ดินดานแตกร้าว ทำให้ดินสามารถกักเก็บน้ำฝนได้มากขึ้นในฤดูฝน และต้นข้าวโพดได้ใช้ประโยชน์จากน้ำใต้ดินที่กักเก็บไว้ในชั้นใต้ผิวดินในฤดูแล้ง

วิธีการไถระเบิดดินดาน คือ ไถระเบิดดินดาน 2 ครั้งในแนวขวางคล้ายตารางหมากรุกโดยครั้งที่ 1 ลึกประมาณ 30 เซนติเมตร และครั้งที่ 2 ประมาณ 50

เซนติเมตร

1.2  การไถบุกเบิก ควรไถให้ลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร เพื่อให้ดินมีความร่วนซุย เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ละหลังจากนั้นควรทำการตากแดดประมาณ 10-15 วัน เพื่อช่วยโรค แมลง และกำจัดวัชพืชในดิน

วิธีการไถบุกเบิก คือปรับตั้งผานบุกเบิก โดยให้ใบจานแต่ละใบไถลึกเท่าๆกัน เพื่อให้ความลึกในแต่ละจุดสม่ำเสมอกัน

1.3  การไถพรวน เป็นการย่อยขนาดก้อนดินให้มีขนาดเล็กลงเพื่อให้เหมาะสมต่อการงอกของเมล็ดข้าวโพด

วิธีการไถพรวน คือไถให้ดินมีความลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร โดยปรับตั้งผานพรวน ให้ใบจานแต่ละใบพรวนดินที่ความลึกเท่าๆกัน ควรไถในทิศทางขวางรอยเดิมจากการไถบุกเบิก เนื่องจากจะช่วยให้ดินแตกตัวดีขึ้น

ขั้นตอนที่ 2 การปลูกด้วยเครื่องหยอดเมล็ด

 2.1 การเตรียมเมล็ดพันธุ์ ควรเตรียมเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ปลูกและเป็นเมล็ดพันธุ์ที่เก็บไว้ไม่เกิน 1 ปีและควรเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสมต่อการเก็บเกี่ยวด้วยรถเกี่ยว

2.2 การทดลองความชื้นในดินก่อนปลูก โดยการนำดินที่ระดับความลึกที่จะปลูกมาทำการปั้นเป็นก้อนหากดินจับตัวเป็นก้อน แสดงว่าความชื้นในดินเพียงพอต่อการเพาะปลูก

2.3 การปลูก ปลูกโดยใช้เครื่องหยอดเมล็ดรุ่น MS360-3 และ MS360-4 โดยกำหนดระยะปลูกระยะระหว่างแถวและต้น คือ 75×20 เซนติเมตร โดยความลึกในการหยอดที่เหมาะสมคือ 5-8 เซนติเมตร ก่อนการปลูกทุกครั้งให้ทำการใส่ปุ๋ยรองพื้นพร้อมปลูก อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่

ขั้นตอนที่ 3 การกำจัดวัชพืช 

ควรทำการฉีดพ่นสารควบคุมการเจริญเติบโตของวัชพืชหลังจากปลูกเสร็จแล้วประมาณ 1-3 วัน โดยเลือกใช้สารกำจัดวัชพืชให้ตรงตามชนิดของวัชพืชในแปลง ด้วยเครื่องพ่นอเนกประสงค์รุ่น BS350


ขั้นตอนที่ 
4 การใส่ปุ๋ยแต่งหน้า

ให้ทำการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินหลังจากปลูกประมาณ 25-30 วัน และที่สำคัญควรใส่ปุ๋ยขณะที่ดินมีความชื้นเพื่อให้ข้าวโพดดูดซึมธาตุอาหารไปใช้ได้ทันที ซึ่งความลึกที่เหมาะสมสำหรับการฝังปุ๋ย คือ 5-10 เซนติเมตร ด้วยเครื่องฝังปุ๋ยรุ่น  SF440 Pro

ขั้นตอนที่ 5 การดูแลป้องกันกำจัดศัตรูพืช

หมั่นทำการตรวจแปลงเป็นระยะหากพบการระบาดของวัชพืช โรค และแมลงให้ทำการกำจัดโดยใช้แรงงานคนฉีดพ่นสารเคมี ตัวอย่างเช่น ระยะที่ข้าวโพดออกดอกตัวผู้ ดอกดอกตัวเมียและผสมเกสร ควรเฝ้าระวังการระบาดของโรคใบไหม้แผลใหญ่ โรคใบจุดสีน้ำตาล หนอนเจาะลำต้น และหนอนเจาะฝัก เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 6 การประเมินแปลงข้าวโพดก่อนเก็บเกี่ยว

เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนการใช้เครื่องจักรในการเก็บเกี่ยว เช่น กรณีที่บางบริเวณพบการหักล้มของข้าวโพดสูงควรใช้แรงงานในการเก็บเกี่ยวออกก่อน เพื่อลดการสูญเสียของผลผลิต

ขั้นตอนที่ 7 การเก็บเกี่ยว

ลักษณะของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่พร้อมเก็บเกี่ยว คือ ลำต้นแห้งกลายเป็นสีน้ำตาลทั้งหมด เมื่อแกะเมล็ดออกมาดูจะพบจุดดำบริเวณโคนเมล็ด โดยวิธีการเก็บเกี่ยว คือ ในกรณีข้าวโพดต้นตั้ง ให้ตั้งระดับปลายหัวเกี่ยวต่ำกว่าฝักข้าวโพดประมาณ 15-30 เซนติเมตร ในกรณีที่ลำต้นข้าวโพดเตี้ยและฝักต่ำ ให้ลดความเร็วในการเกี่ยว และวางหัวเกี่ยวให้ต่ำลงแต่ไม่เกินกว่า 20 เซนติเมตรจากพื้นดิน

ดาวน์โหลด :

ที่มาของข้อมูล :

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะภัยแล้ง ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งเนื่องจากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ ส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะมันสำปะหลัง ซึ่งปลูกในสภาพพื้นที่โล่งและขาดสิ่งปกคลุมหน้าดิน ทำให้น้ำส่วนใหญ่ระเหยออกจากผิวดิน เมื่อน้ำในดินลดลงมากและฝนขาดช่วง จึงเกิดสภาพดินแห้ง ต้นมันสำปะหลังขาดน้ำ
หนอนกระทู้คอรวง Mythimna separata (Walker) ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ปีกคู่หน้าสีน้ำตาลอ่อนแทรกสีน้ำตาลแดง ปีกกว้างประมาณ 4.5-5 เซนติเมตร
ในช่วงนี้เป็นฤดูฝน สภาพอากาศมีความชื้นสูงซึ่งเหมาะสมต่อการเจริญของเชื้อราไฟท๊อปธอร่าสาเหตุโรค ใบร่วงของยางพารา เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงยางพาราอย่างสม่ำเสมอ และเฝ้าระวังการระบาดของโรคใบร่วงจากเชื้อราไฟท๊อปธอร่า เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Phytophthora botryosa chee, Phytophthora palmivora (Butl.)