ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมพันธุ์ชัยนาท 84-1

ประวัติ

ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมพันธุ์ชัยนาท 84-1 ดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ในระหว่างปี พ.ศ.2544-2551 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท เพื่อให้ได้ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมที่มีผลผลิตสูง และมีความเหนียวนุ่ม เกิดจากการผสมระหว่างสายพันธุ์แท้ F4305 กับสายพันธุ์แท้ M80 ผ่านการประเมินผลผลิตพันธุ์ลูกผสมตามขั้นตอนของกรมวิชาการเกษตร จากการพัฒนาพันธุ์ดังกล่าวได้ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมสายพันธุ์ดีเด่น และได้รับการพิจารณาให้เป็นพันธุ์รับรองในปี 2554 โดยใช้ชื่อ “ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมพันธุ์ชัยนาท 84-1”

ลักษณะเด่น

ผลผลิตทั้งเปลือกเฉลี่ย 1,731 กิโลกรัมต่อไร่ มีคุณภาพการบริโภคเหนียวนุ่ม ปรับตัวได้ดีกับสภาพแวดล้อม

ลักษณะประจำพันธุ์

  รากค้ำจุน ลำต้น และเปลือกหุ้มฝัก มีสีเขียวปนม่วงแดง เส้นไหมสีชมพู ไม่มีหูใบ วันออกดอก 50 เปอร์เซ็นต์ 41-42 วัน วันออกไหม 50 เปอร์เซ็นต์ 42-43 วัน เมล็ดสีขาว อายุเก็บเกี่ยว 60-62 วัน ขนาดฝัก (กว้าง x ยาว) 4.5 x 17.9 เซนติเมตร จำนวนแถว 12-14 แถว ความสูงต้น 202 เซนติเมตร ความสูงฝัก 112 เซนติเมตร

พื้นที่แนะนำ

ปลูกได้ทั่วไปในพื้นที่ที่สามารถให้น้ำชลประทานได้ตลอดฤดูปลูก

ข้อควรระวัง

เป็นพันธุ์ที่ไม่ต้านทานต่อโรคราน้ำค้าง และโรคทางใบที่สำคัญ เช่น โรคใบไหม้แผลใหญ่ โรคใบด่างจากเชื้อไวรัส หากมีการระบาดควรป้องกันกำจัดตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาน้ำเค็มไหลเข้าพื้นที่การเกษตรหลายแห่ง ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่ทำการเพาะปลูกพืชมากมาย และส่งผลกระทบต่อพืชโดยตรง เช่น ปลายใบไหม้ ต้นเหี่ยว และใบเหลือง ทำให้ผลผลิตของเกษตรกรลดลง ซึ่งสาเหตุการเกิดน้ำเค็มในแต่ละภาคแตกต่างกันไป เช่น บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้
คณะกรรมการวัตถุอันตราย เห็นชอบ 6 มาตรการ จำกัดการใช้ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 5 ฉบับ ผู้เกี่ยวข้องมีดังนี้ เกษตรกรผู้ใช้ ผู้รับจ้างพ่น ผู้ขาย ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้นำเข้า/ผู้ผลิต กำหนดพืชที่อนุญาตให้ใช้ 3 สาร กำหนดข้อความในฉลาก แผนปฎิบัติการอบรม ตัวอย่างฉลากวัตถุอันตราย
ประเทศไทยพบโรคใบด่างมันสําปะหลังครั้งแรกในปี พ.ศ. 2561 โดยมีพื้นที่ระบาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลเสียหายอย่างมากต่อเกษตรกรและอุตสาหกรรมมันสําปะหลังของประเทศ เนื่องจากโรคใบด่างมันสําปะหลังส่งผลให้ผลผลิตมันสําปะหลังลดลง 20 – 80 เปอร์เซ็นต์ โดยการควบคุมโรคใบด่างมันสําปะหลังสามารถทําได้ ดังนี้