ข้าวโพดข้าวเหนียวข้าวก่ำสีม่วงและการแปรรูป

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น สนับสนุน โครงการบริหารจัดการเชื้อพันธุกรรมข้าวโพด โดยดำเนินการภายใต้ศูนย์วิจัยปรับปรุงพันธ์พืชเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน ซึ่งม รศ.ดร.กมล เลิศรัตน์ เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้เก็บ รวบรวมเชื้อพันธุกรรมข้าวโพด เน้นกลุ่มข้าวโพดฝักสด คือ ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดข้าวเหนียว และข้าวโพดเทียน จากทั้งในและต่างประเทศ ประเมินลักษณะพันธุกรรม ขยายพันธุ์ และให้บริการเชื้อพันธุกรรมแก่ผู้ที่สนใจที่จะนำ เชื้อพันธุกรรมดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ทั้งด้านการวิจัยและ พัฒนา หรือการพัฒนาต่อยอดในเชิงการค้า ตั้งแต่ พ.ศ. 2549 ถึงปัจจุบัน รวบรวมเชื้อพันธุกรรมจำนวนกว่า 500 สายพันธุ มีการถ่ายทอดเชื้อพันธุกรรมให้แก่ นักปรับปรุงพันธุ์แล้วจำนวน 92 สายพันธุ์ ผู้ที่สนใจสามารถ ดูรายละเอียดเชื้อพันธุกรรมต่างๆ ผ่านเว็บไซต์ www.biotec.or.th/germplasm  

นอกจากการบริหารจัดการเชื้อพันธุกรรมแล้ว ยังดำเนินการสร้างประชากร และพัฒนาสายพันธุ์ข้าวโพดพันธุ์ใหม่ๆ เพื่อให้นักปรับปรุงพันธ์ทั้งภาครฐและเอกชนนำไปพัฒนา ต่อยอด รวมถึงการถ่ายทอดพันธุ์ข้าวโพดผสมเปิด ให้เกษตรกร ตัวอย่างเช่น พันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวข้าวก่ำสีม่วง ใช้ประโยชน์ได้ทั้งเมล็ด ซัง และไหม ที่มีสีม่วง มีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanins) สูง สายพันธุ์ ข้าวโพดพันธุ์ต่างๆ ได้ถ่ายทอดให้เกษตรกรในพื้นที่ 64 จังหวัด

ลักษณะประจําพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวข้าวก่ำ

เมล็ด ซัง และไหม มีสีม่วงแดง-ม่วงดำ อายุเก็บเกี่ยว 60-65 วัน (18-20 วันหลังออกไหม) ความสูงฝัก 90-100 เซนติเมตร ความสูงต้น 170-180 เซนติเมตร 

ผลผลิตฝักสดหลังปอกเปลือก

ความยาวฝัก 17.0-18.0 เซนติเมตร ความกว้างฝัก 4.0-4.5 เซนติเมตร น้ำหนักฝัก 210 กรัม น้ำหนักเมล็ด 100 กรัม น้ำหนักซัง 110 กรัม น้ำหนักไหมสด 3.5 กรัม

ข้อดีและข้อจํากัดของพันธุ์ผสมเปด

ข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วงพันธุ์ผสมเปิด พันธุ์นี้เหมาะ สำหรับเกษตรกรรายย่อย เพื่อปลูกรับประทานเองภายใน ครัวเรือนหรือขายในท้องถิ่น ข้าวโพดพันธุ์มีความแข็งแรง เก็บเม็ลดไว้ใช้เองได้ เนื่องจากข้าวโพดพันธุ์นี้เป็นพันธุ์ทาง จะมีการกระจายตัวของลักษณะความสูงต้น รูปทรงฝัก สีเปลือกหุ้มฝัก อายุเก็บเกี่ยว รสชาติ ขนาดเมล็ด จะมีจำนวนฝักที่ยังคงลักษณะเม็ลดและซังสีม่วงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75-80 มีเมล็ดสีขาวหรือเมล็ดสีเหลืองบนฝักที่มีซังสีขาว และจำนวนฝักที่มีเมล็ดสีขาวบนฝักที่มีซังสีม่วง ประมาณ ร้อยละ 20-25

พันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวก่ำ เหมาะนำไปแปรรูปเพี่อ สร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น ข้าวโพดคั่ว (corn nut) น้ำนมข้าวโพด คุกกี้ ชา เพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร

ศูนย์วิจัยปรับปรุงพันธุ์พืชฯ ได้พัฒนาพันธุ์ข้าวโพด ข้าวเหนียวสีม่วงพันธุ์ลูกผสมเดี่ยวในชื่อ “ข้าวก่ำหวาน” ที่มีลักษณะพิเศิษ คือมีเมล็ดที่มีรสหวานแทรกอยู่ในฝัก ที่ส่วนใหญเป็นเมล็ดข้าวโพดข้าวเหนียวในฝักเดียวกัน จำหน่ายโดยบริษัทเจียไต๋ เมล็ดพันธุ์จำกัด ภายใต้ชื่อการค้า “สุพรีม”

บทความที่เกี่ยวข้อง

การส่งเสริมให้เกษตรกรใช้รถดำนาเดินตาม ในพื้นที่นาขนาดเล็ก ที่ชุมชนวัดบ้านทรายใต้ ต.พิชัย อ.เมือง จ.ลำปาง กว่า 40 ปีที่สยามคูโบต้า ซึ่งเป็นผู้นำในธุรกิจเครื่องจักรกลการเกษตรในอาเซียนได้เติบโตและยืนหยัดในการพัฒนาสินค้าและบริการที่เป็นเลิศ เพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาภาคเกษตรกรรมของประเทศไทยให้ก้าวหน้า
การใช้แทรกเตอร์ขนาดเล็กในการบำรุงรักษาไร่อ้อย ด้วยการทำงานที่เต็มประสิทธิภาพสำหรับเกษตรกรไร่อ้อยโดยเฉพาะ ปัจจุบันชาวไร่อ้อยเริ่มมีการนำเครื่องจักรกลการเกษตรมาประยุกต์ใช้ในไร่อ้อยกันมากขึ้น เริ่มตั้งแต่การเตรียมดิน การเพาะปลูก การบำรุงรักษา และการขนส่งเนื่องจากสามารถช่วยลดต้นทุน ทั้งในด้านการประหยัด
สยามคูโบต้า นำองค์ความรู้ KUBOTA (Agri) Solutions เกษตรครบวงจร ไปต่อยอดและพัฒนาเกษตรกร ด้วยการทำแปลงทดสอบการปลูกพืชหมุนเวียน (Revolving crop model) ในพื้นที่นาข้าว ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทำนาห้วยตาดข่า จ.อุดรธานี โดยร่วมกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชขอนแก่น กรมวิชาการเกษตร