นวัตกรรมปาล์มน้ำมัน (พันธุ์ การจัดการสวน และการเก็บเกี่ยว)

ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี ปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันรอบ 2 และได้รับการรับรองให้เป็นพันธุ์แนะนำ  3 พันธุ์  ดังนี้

สุราษฎร์ธานี 7  (เดลี่  X แทนซาเนีย) ผลผลิต  3.5 8 ตันต่อไร่ต่อปี น้ำมัน/ทะลาย  24 เปอร์เซ็นต์

สุราษฎร์ธานี 8  (เดลี่ X ยังแกมบี) ผลผลิต 3.59 ตันต่อไร่ต่อปี น้ำมัน/ทะลาย 25 เปอร์เซ็นต์

สุราษฎร์ธานี 9  (เดลี่ X แอปรอส) ผลผลิต 3.77 ตันต่อไร่ต่อปี  น้ำมัน/ทะลาย  26 เปอร์เซ็นต์

ลักษณะเด่นที่ปาล์มน้ำมันต้องการ

1.  ดินมีอินทรีย์วัตถุสูง 2.5 – 4.5 เปอร์เซ็นต์

2.  ค่าความเป็นกรดด่าง 5.5

3.   ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ 20 – 25 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

4.  โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ 100 – 120 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม 

5.  แมกนีเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ 75 – 100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

ภูมิอากาศที่เหมาะสมกับปาล์มน้ำมัน

1.  ปริมาณฝน 120-150 มิลลิเมตรต่อเดือน

2.  ฝนทิ้งช่วงไม่เกิน 2 เดือนความชื้นสัมพัทธ์ 50-70 เปอร์เซ็นต์

3.  อุณหภูมิ 30 ถึง 40 องศาเซลเซียสแสงอย่างน้อย 5 ชั่วโมงต่อวัน

4.  การให้น้ำที่เหมาะสมให้ผลผลิตสูงกว่าอาศัยน้ำฝน  33-72 เปอร์เซ็นต์

 หากพื้นที่เหมาะสมน้อยถึงปานกลางต้องจัดการให้น้ำปาล์มน้ำมัน

 ระบบการให้น้ำที่เหมาะสม

1.  ระบบมินิสปริงเกอร์ 2-3 หัวต่อต้น

2.  ปริมาณน้ำ 3-5 ลิตรต่อพื้นที่ทรงพุ่ม 1 ตารางเมตรทุกวันในช่วงแล้ง

ธาตุอาหารปาล์มน้ำมัน กรณีปาล์มน้ำมันอายุ 3 ปีขึ้นไป (สำหรับดินทั่วไป) ต้องให้ธาตุอาหาร (แบ่งใส่อย่างน้อย 3 ครั้งต่อปี) ดังนี้

การเก็บเกี่ยวปาล์มน้ำมันคุณภาพ

มาตรฐานสินค้าเกษตร “ ทะลายปาล์มน้ำมัน ” (มกษ.  5702- 2552)

ทะลายปาล์มสุก :มีผลร่วงอย่างน้อย 10 ผลต่อทลาย

ผลปาล์มน้ํามันส่วนใหญ่ผิวเปลี่ยนสีส้มสีแดงและเนื้อปาล์มมีสีส้ม

ทะลายปาล์มกึ่งสุก : มีผลร่วงน้อยกว่า 10 ผลต่อทลาย 

ผลปาล์มน้ํามันส่วนใหญ่ผิวเปลี่ยนสีส้มแดงหรือสีแดงม่วง

ข้อดี

1.  เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากน้ำหนักทะลายที่เพิ่มขึ้น

2.  ลดต้นทุนของน้ำมันปาล์มดิบจากอัตราการสกัดที่เพิ่มขึ้น

3.  เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องได้หลากหลายมากมาย

บทความที่เกี่ยวข้อง

เกิดจากเชื้อรา มักจะพบควบคู่ใบไปกับโรคใบจุดสีน้ำตาล โรคนี้สามารถทำให้ผลผลิตลดลงได้ 12-30 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากการสูญเสียพื้นที่ใบใบเหลือง และร่วงเร็วกว่าปกติ และอาจเป็นผลกระทบเนื่องมาจากการเปิดโอกาสให้วัชพืชเจริญได้ดีเมื่อใบร่วง และพุ่มใบเปิด ลักษณะอาการ อาการของโรคพบบนใบ เป็นจุดกว้างไม่มีขอบเขต
เกษตรกรไม่ต้องกังวลใจเรื่องปุ๋ยยูเรียแพงแล้วนะ เพราะเราสามารถใช้แหนแดงแทนปุ๋ยยูเรียได้ โดยข้อมูลจากกรมวิชาการการเกษตรระบุไว้ว่าหากปลูกแหนแดง 1 ไร่ จะได้แหนแดง 3 ตัน มีธาตุอาหารเทียบเท่าปุ๋ยยูเรีย 7-10 กิโลกรัม เลยทีเดียว แต่ก่อนจะใช้แหนแดงทดแทนปุ๋ย เรามารู้จักคุณสมบัติ และวิธีการใช้แหนแดงกันก่อน
ในปัจจุบันนวัตกรรมเข้ามามีบทบาทในการทำเกษตรเป็นอย่างมาก ทำให้รูปแบบการทำเกษตรเกิดการเปลี่ยนแปลง เกษตรกรจึงควรปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงนี้ โดยก้าวไปสู่การเป็นสมาร์ทฟาร์มเมอร์ (Smart Farmer) หรือ เกษตรกรปราดเปรื่อง ผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจด้านเทคโนโลยีและการเกษตร สามารถนำมาปรับใช้ร่วมกันได้อย่างลงตัว ช่วยให้การทำเกษตรมีประสิทธิภาพมากขึ้น