ทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อชีวิตที่ปลอดภัยด้วยสารสกัดจากสมุนไพรรอบตัว

ปัจจุบันนี้การทำการเกษตรปลูกพืชด้วยวิถีอินทรีย์กำลังมาแรง และสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเป็นกอบเป็นกำ เพราะราคาพืชผักผลไม้ที่ปลูกด้วยระบบอินทรีย์มีราคาสูงกว่าพืชที่ใช้สารเคมีเกือบเท่าตัว และยังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่รักชีวิตตนเอง และครอบครัวด้วย เกษตรกรหลายท่านที่ยังคงใช้สารเคมีเพราะคิดว่าการทำเกษตรอินทรีย์นั้นทำยาก แต่เรามีวิธีการทำเกษตรอินทรีย์ที่ง่ายๆ ด้วยพืชพรรณที่หาได้จากรอบตัวเราเอง นอกจากปลอดภัยต่อผู้บริโภค และผู้ปลูกแล้ว ยังมีต้นทุนต่ำกว่าการใช้สารเคมีอีกด้วย โดยเป็นข้อมูลที่ปราชญ์ของเราได้ศึกษาและเผยแพร่ให้แก่ผู้สนใจเป็นวิทยาทาน ปราชญ์ของเราก็คือ อ.ธนาเดช ชัยยะสมุทร แห่งลำปาง

พืชชนิดใดที่สามารถนำมาสกัดเพื่อใช้ขับไล่แมลงศัตรูพืชได้บ้าง?

วิธีสังเกตว่าพืชชนิดใดสามารถนำมาสกัดเป็นสารไล่แมลงได้นั้น ให้สังเกตุว่าพืชต้นไหนที่ไม่เคยมีแมลงมากัดกินเลย แสดงว่าพืชชนิดนั้นมีสารที่แมลงไม่ชอบ ก็สามารถนำมาทดลองหมักแล้วนำไปฉีดพ่นพืชปลูกของเราดูว่าเมื่อฉีดพ่นไปแล้วมีแมลงมากัดกินหรือไม่ ถ้าไม่มีก็แสดงว่าใช้ได้

ถ้าวิธีที่กล่าวมายากเกินจะไปทดลองเราก็มีสูตรสำเร็จให้ท่านผู้อ่านนำไปลองทำและใช้กันได้ทันที โดยสูตรที่จะกล่าวถึงนี้มีคุณสมบัติครอบคลุมขับไล่หนอนและแมลงได้หลายชนิดเลยทีเดียว พืชสมุนไพรที่ใช้แต่ละชนิดที่จะนำมาสกัดสารมีสรรพคุณต่างกันดังนี้

1. ยาสูบ (ยาฉุน, ยาเส้น)

สารสำคัญที่ออกฤทธิ์ คือ สารนิโคตินที่พบในทุกส่วนของต้นพืช (ใบ ลำต้น ดอก เมล็ด ฯลฯ)

ส่วนที่นำมาใช้ คือ ใบแก่ หรือ ใบที่ตากแห้งแล้ว

ใช้ได้ผลกับ ด้วงหมัด แมลงปากดูด เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจั๊กจั่น เพลี้ยไฟ มวน ไรแดง หนอนกอข้าว หนอนคืบกะหล่ำปลี หนอนชอนใบ และหนอนทั่วไปอีกหลายชนิด

2. บอระเพ็ด

ตัวเจตมูลยาน เถาหัวด้วน (สระบุรี) หางหนู (สระบุรี, อุบลราชธานี) จุ่งจิง เครือเขาฮอ (ภาคเหนือ) เจตมูลหนาม (หนองคาย)

สารสำคัญที่ออกฤทธิ์ N-trans-feruloyltyramine, N-cis-feruloyltyramine, Picroretin

ส่วนที่นำมาใช้ คือ เถา หรือลำต้นสด

ใช้ได้ผลกับ หนอนกอข้าว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจั๊กจั่นสีน้ำตาล

ดาวน์โหลด :

ที่มาของข้อมูล :

บทความที่เกี่ยวข้อง

การเพาะกล้าถือเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของข้าว และลดการสูญเสียต้นทุน หากเพาะกล้าได้ดี การทำนาในขั้นตอนต่อไปก็จะดีตามไปด้วย ในบทความนี้ KUBOTA จะมาเผยเทคนิคการเพาะกล้าฉบับคูโบต้า จะมีอะไรบ้างตามไปดูกันเลย
‘ข้าว’ ผลผลิตการเกษตรอันดับหนึ่งที่เป็นอาหารหลักและสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจให้ไทยมาอย่างยาวนาน ซึ่งพันธุ์ข้าวไม่ได้มีแค่ข้าวหอมมะลิเท่านั้น แต่ไทยยังมีพันธุ์ข้าวอีกหลายพันธุ์ที่สร้างรายได้ไม่น้อยเช่นกัน ในบทความนี้ KAS จะพาไปรู้จักกับ 10 พันธุ์ข้าวที่นิยมในไทย พร้อมกับลักษณะเด่นของแต่ละพันธุ์ให้ได้รู้กัน!
กำจัดข้าวเรื้อก่อนปลูก เตรียมแปลงโดยตากหน้าดินหลังเก็บเกี่ยวข้าวอย่างน้อย 2 สัปดาห์ แล้วใช้โรตารี่หรือขลุบย่ำ กลบตอซัง (ไม่ควรใช้ผานไถเพราะจะกลบเมล็ดข้าวเรื้อลงใต้ดิน ยากต่อการกำจัด) จากนั้นระบายน้ำออกให้หน้าดินแห้ง 2 สัปดาห์ ล่อให้ข้าวเรื้องอกใช้ขลุบย่ำกลับข้าวเรื้อหมักไว้ 3-5 วันก่อนคราดทำเทือกปลูก