ชุดดินมาบบอน

กลุ่มชุดดินที่ 35

การกำเนิด : เกิดจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่ และ เคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางไม่ไกลนักของหินแกรนิตบริเวณลานตะพัก เชิงเขา เนินเขา หรือพื้นที่ที่เหลือค้างจากการกัดกร่อน

สภาพพื้นที่ : ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนชัน มีความลาดชัน 2-12 %

การระบายน้ำ : ดี

การซึมผ่านได้ของน้ำ : เร็ว

การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน : เร็ว

ลักษณะสมบัติของดิน : เป็นดินลึกมาก ดินบนเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินทรายปนดินร่วน สีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลอ่อน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย (pH 5.5-6.5) ดินล่างเป็นดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียวปนทราย หรือดินร่วนเหนียวปนทรายปนกรวดมาก สีน้ำตาลแก่ สีเหลืองปนแดง และสีแดงปนเหลือง ในดินล่างลึกลงไป ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด (pH 4.5-5.5) มักพบเศษวัตถุต้นกำเนิดดินจากหินแกรนิต มีการสะสมเหล็กหรือแมงกานีสปะปนในเนื้อดินชั้นล่างๆ

ปัญหาและข้อจำกัด : เนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำสำหรับพืชในฤดูเพาะปลูก และเสี่ยงต่อการชะล้างพังทลาย

ข้อเสนอแนะ : เหมาะสำหรับปลูกพืชไร่ ไม้ผล ไม้ยืนต้น แต่ควรมีการปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมี เพื่อเพิ่มแร่ธาตุต่างๆให้แก่ดิน และป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน โดยใช้ระบบอนุรักษ์ดินร่วมด้วย เช่น การคลุมดิน การทำคันดินระบายน้ำ

สมบัติทางเคมี

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาน้ำเค็มไหลเข้าพื้นที่การเกษตรหลายแห่ง ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่ทำการเพาะปลูกพืชมากมาย และส่งผลกระทบต่อพืชโดยตรง เช่น ปลายใบไหม้ ต้นเหี่ยว และใบเหลือง ทำให้ผลผลิตของเกษตรกรลดลง ซึ่งสาเหตุการเกิดน้ำเค็มในแต่ละภาคแตกต่างกันไป เช่น บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้
ปัจจุบันนี้การทำการเกษตรปลูกพืชด้วยวิถีอินทรีย์กำลังมาแรง และสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเป็นกอบเป็นกำ เพราะราคาพืชผักผลไม้ที่ปลูกด้วยระบบอินทรีย์มีราคาสูงกว่าพืชที่ใช้สารเคมีเกือบเท่าตัว และยังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่รักชีวิตตนเอง และครอบครัวด้วย เกษตรกรหลายท่านที่ยังคงใช้สารเคมีเพราะคิดว่าการ
แตงไทยผลไม้ที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนาน จะกินสดก็ดีนำไปทำของหวานก็อร่อย แต่วิธีปลูกแตงไทยให้ได้ผลเยอะ เนื้อหวาน เป็นที่ต้องการของตลาดนั้น ต้องทำอย่างไร ใช้วิธีการปลูกแตงไทยแบบไหน KUBOTA จะมาแนะนำให้แบบครบถ้วนทุกรายละเอียด