ชุดดินท่าแซะ

ชุดดินที่สำคัญที่ใช้ปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน ภาคใต้

8 ชุดดินท่าแซะ (Tha Saeseries : Te)

กลุ่มชุดดินที่ 34

การกำเนิด : เกิดจากตะกอนน้ำพาบริเวณตะพักลำน้ำ

สภาพพื้นที่ : ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนลาด มีความลาดชัน 2-12 %

การระบายน้ำ : ดี

การซึมผ่านได้ของน้ำ : ปานกลางถึงเร็ว

การไหลบ่าของน้ำบนผิวดิน :  เร็ว

ลักษณะสมบัติของดิน :เป็นดินลึกมาก ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย มีสีน้ำตาล ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายถึงดินร่วนเหนียวปนทราย มีสีน้ำตาลถึงสีเหลืองปนน้ำตาล ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด (pH 4.5-5.5) ในดินบนแล้วลดลงตามความลึก

การแพร่กระจาย : พบมากบริเวณภาคใต้ กระจายตัวอยู่ในจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี กระบี่ นครศรีธรรมราช สงขลา และยะลา ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ที่ดินในการปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมัน

ปัญหาและข้อจำกัด :  ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ ดินค่อนข้างเป็นทราย ดินมีความสามารถในการอุ้มน้ำและแร่ธาตุอาหารน้อย

ข้อเสนอแนะ : เหมาะสมสำหรับปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น แต่ควรมีการปรับปรุงบำรุงดินเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพของดินให้มีความสามารถในการอุ้มน้ำดีขึ้น

สมบัติทางเคมี :

บทความที่เกี่ยวข้อง

การบริหารจัดการเครื่องจักรกลการเกษตร (Machinery pool model) ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนบ้านอุ่มแสง (เกษตรทิพย์)
ชื่อทั่วไป : แมลงช้างปีกใส (Green lacewing) วงศ์ (Family) : Chrysopidae อันดับ (Order) : Neuroptera เป็นแมลงห้ำที่มีบทบาทในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช โดยตัวอ่อนของแมลงช้างปีกใส เป็นตัวห้ำที่กินศัตรูพืชได้หลายชนิด เช่นเพลี้ยอ่อย เพลี้ยแป้ง ตัวอ่อนเพลี้ยหอย เพลี้ยไฟ เพลี้ยไก่
ทำนาดั้งเดิม นาหยอด ปรับระดับพื้นที่นาด้วยระบบเลเซอร์ แบบไหนช่วยเพิ่มรายได้มากกว่ากัน