ชาวสวนปาล์ม ระวังด้วงแรดบุกสวน

ช่วงนี้ฝนตกต่อเนื่อง และฝนตกหนักในหลายพื้นที่ เกษตรกรปลูกปาล์มระวังด้วงแรดบุกสวน  โดยตัวเต็มวัยเข้าทำลายพืช บินขึ้นไปกัดเจาะบริเวณโคนทางใบหรือยอดอ่อนของปาล์ม รวมทั้งเจาะทำลายยอดอ่อนที่ยังไม่คลี่ ทำให้ใบที่เกิดใหม่ไม่สมบูรณ์ มีรอยขาดแหว่งเป็นริ้ว ๆ คล้ายรูปสามเหลี่ยม ถ้ารุนแรงจะทำให้ต้นตายได้

ด้วงแรด

การป้องกันกำจัด

1. วิธีเขตกรรม ทำความสะอาดบริเวณสวนปาล์มเพื่อกำจัดแหล่งขยายพันธุ์ถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด ซึ่งแหล่งขยายพันธุ์ได้แก่ ซากเน่ำเปื่อยของลำต้น ตอของต้นปาล์ม ซากชิ้นส่วนของพืชที่เน่าเปื่อย กองปุ๋ยหมัก กองปุ๋ยคอก ซากทะลายปาล์มน้ำมันและกองขยะ เป็นต้นโดยเป็นที่อยู่ของไข่ หนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย ควรกำจัดออกไปจากบริเวณสวน ถ้าปล่อยให้ผุสลายจะล่อให้ด้วงแรดมาวางไข่ โดยด้วงแรดวางไข่ตามตอปาล์มที่อยู่ติดกับพื้นดินเพราะมีความชื้นสูงและผุเร็ว ดังนั้นตอปาล์มที่เหลือ ให้ใช้น้ำมันราดให้ทั่วตอเพื่อป้องกันการวางไข่

2. การใช้ชีววิธี ใช้เชื้อราเขียวเมตาไรเซียม (Metarhiziumsp.) ใส่ไว้ตามกองขยะ กองปุ๋ยคอก หรือท่อนปาล์มที่มีหนอนด้วงแรดอาศัยอยู่ โดยเกลี่ยเชื้อให้กระจายทั่วกอง เพื่อให้เชื้อมีโอกาสสัมผัสกับตัวหนอนให้มากที่สุด รดน้ำให้ความชื้น หาใบมะพร้าวคลุมกองไว้ เพื่อรักษาความชื้นและป้องกันแสงแดด เชื้อราเมตาไรเซียมจะทำลายด้วงแรดทุกระยะการเจริญเติบโต

หนอนด้วงแรดถูกเชื้อราเมตาไรเซียมเข้าทำลาย

3. การใช้สารเคมี

3.1 ต้นปาล์มอายุ 3 – 5 ปี ใช้ลูกเหม็นใส่บริเวณโคนทางใบรอบ ๆ ยอดอ่อน ทางละ 2 เม็ด ต้นละ 6 – 8 เม็ด กลิ่นของลูกเหม็นจะไล่ไม่ให้ด้วงแรดมะพร้าวบินเข้าไปทำลายคอมะพร้าว

3.2 ใช้สารกำจัดแมลงไดอะซินอน 60% อีซี อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์โบซัลแฟน 20 % อีซี อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ราดบริเวณคอปาล์มตั้งแต่โคนยอดอ่อนลงมา โดยใช้ปริมาณ 1 – 1.5 ลิตรต่อต้น ทุก 15 – 20 วัน ควรใช้ 1 – 2 ครั้ง ในช่วงระบาด

บทความที่เกี่ยวข้อง

มี 2 ชนิด คือ ไรแดงหม่อน และไรแดงมันสำปะหลัง ตัวอ่อนมี 6 ขา ตัวกลมใส ตัวเต็มวัยมีสีแดงเข้ม มี 8 ขา กว้าง 0.4 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ส่วนขาไม่มีสีอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ลักษณะการทำลายไรแดงหม่อนดูดกินน้ำเลี้ยงตามใต้ใบจากส่วนใบล่าง และขยายปริมาณขึ้นส่วนยอด ไรแดงมันสำปะหลังดูดกินน้ำเลี้ยงบน
หลายท่านคงมีข้อสงสัยกับคำถามนี้ อันที่จริงแล้วปัญหาข้าวล้ม มีสาเหตุมาจากหลายประการ ตั้งแต่ 1. พันธุ์ข้าว พันธุ์ที่มีต้นสูงจะมีโอกาสล้มได้ง่ายกว่าพันธุ์ต้นเตี้ย 2. มีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป และใส่ไม่ถูกช่วงเวลา ปุ๋ยไนโตรเจนมีผลต่อผลผลิตของข้าว แต่ถ้าใส่มากเกินไปจะเป็นการเพิ่มความสูงของต
ถั่วเหลือง เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นพืชอายุสั้น เก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 65-75 วัน (บริโภคสด) และ 85-95 วัน (เมล็ดแห้ง) ใช้น้ำน้อย ทนแล้ง นิยมใช้ในระบบปลูกพืช การปลูกถั่วเหลืองในระบบปลูกพืชมีประโยชน์หลายอย่าง ได้แก่ ตัดวงจรการระบาดของศัตรูพืชในนาข้าว ช่วยเพิ่มธาตุอาหาร เพิ่มปริมาณ