การใช้เครื่องจักรกลการเกษตรในไร่อ้อยอย่างมีประสิทธิภาพ

การผลิตอ้อยมีหลายกิจกรรมที่ใช้แรงงานมาก และเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีนั้นจำเป็นต้องบริหารจัดการแต่ละกิจกรรมให้ทันเวลา แต่ปัจจุบันปัญหาการขาดแคลนแรงงานไร่อ้อยทวีความรุนแรงมากขึ้น หากจะบริหารจัดการในไร่อ้อยให้มีประสิทธิภาพจะใช้แต่แรงงานคนนั้นอาจไม่ทันเวลา เครื่องจักรกลการเกษตรจึงเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งที่สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และการทำงานให้ทันเวลา นอกจากนี้การใช้เครื่องจักรกลการเกษตรให้มีประสิทธิภาพยังทำให้ผลผลิตอ้อยเพิ่มขึ้นอีกด้วย

               เครื่องจักรกลการเกษตรในไร่อ้อย มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ มีราคาค่อนข้างสูง และมีหลากหลายรูปแบบให้เลือก เกษตรกรจึงควรตัดสินใจเลื่อกเครื่องจักรกลการเกษตรให้เหมาะสมกับหน้างานของตนเองและคุ้มค่ากับการลงทุนซื้อ ซึ่งในระยะยาวจะช่วยประหยัดเวลาและลดต้นทุนการผลิตอ้อย แต่หากตัดสินใจผิดพลาดเลือกเครื่องจักรกลการเกษตรที่ไม่เหมาะสมกับหน้างานจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตอ้อยอย่างมาก

การใช้เครื่องจักรกลการเกษตร จำเป็นต้องรู้จักเครื่องจักรนั้นๆ เพื่อจะได้ใช้งานเครื่องจักรกลการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเครื่องจักรกลการเกษตรในไร่อ้อยสำคัญ ได้แก่

1.  รถแทรกเตอร์

 เป็นเครื่องจักรกลการเกษตรที่ถือว่ามีความสำคัญ เพราะเป็นเครื่องต้นกำลังในการทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งการปลูกและบำรุงต้นอ้อยโดยรถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตรมีทั้งชนิดขับเคลื่อน 4 ล้อและขับเคลื่อน 2 ล้อ ซึ่งแทรกเตอร์ขับเคลื่อน 4 ล้อที่ใช้ในประเทศไทย สามารถแบ่งตามแรงม้าได้ 3 ขนาด คือ ขนาดเล็กต่ำกว่า 18 แรงม้า ขนาดกลาง 18-50 แรงม้า และขนาดใหญ่ 50 แรงม้าขึ้นไป

2.  อุปกรณ์ต่อพ่วง

นับเป็นเครื่องจักรกลการเกษตรที่สำคัญในการทำงานให้มำเร็จควบคู่กับรถแทรกเตอร์ ในแต่ขั้นตอนการผลิตอ้อย ยกเว้นเฉพาะขั้นตอนการเก็บเกี่ยวที่ใช้รถตัดอ้อย อุปกรณ์ต่อพ่วงที่สำคัญในไร่อ้อย ได้แก่

2.1  จอบหมุนพรวนดินแนวตั้ง (power harrow)

ใช้งานได้มีประสิทธิภาพกับลักษณะดินแห้งและช่วยลดขั้นตอนในการเตรียมดินเนื่องจากจอบหมุนพรวนดินแบบแนวตั้ง สามารถทำงานได้ลึกทำให้ดินละเอียดและไม่เป็นก้อนขนาดใหญ่เหมาะกับการปลูกอ้อย และไม่ทำให้พื้นที่ปลูกอ้อยเกิดปัญหาดินอัดตัว(ดินดาน) นอกจากนี้ยังประหยัดเวลาในการทำงานและลดต้นทุนในการเตรียมดิน

2.2  จอบหมุนกำจัดวัชพืช

ในร่องอ้อยสำหรับรถแทรกเตอร์ขนาดเล็ก ออกแบบเพื่อให้ทำงานในระหว่างร่องอ้อยได้ ใช้พรวนดิน สับใบอ้อย และกำจัดวัชพืชในร่องอ้อย แก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน ประหยัดเวลา เพิ่มผลผลิตอ้อย ช่วยลดความเสี่ยงเนื่องจากเกิดไฟไหม้ในแปลงอ้อย และเป็นการเพิ่มอินทรีย์วัตถุและปริมณอากาศและให้ความชุ่มชื่นแก่ดินด้วย

2.3  เครื่องปลูกอ้อยแบบท่อน (Billet planter)

พัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปลูกให้มากขึ้นพร้อมประหยัดแรงงานและเวลาในการปลูก สามารถปลูกได้ทั้งในสภาพดินเหนียวและดินทรายเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในการตัดพันธุ์อ้อย และเพื่อช่วยให้ชาวไร่อ้อยสามารถปลูกได้ทันช่วงที่ดินกำลังมีความชื้นเหมาะสม ท่อนพันธุ์มีระยะห่างสม่ำเสมอ

3.  รถตัดอ้อย

เป็นเครื่องมือเก็บเกี่ยวอ้อยซึ่งไว้ใช้ในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวอ้อยเข้าสู่โรงงานน้ำตาลใช้ในการตัดอ้อยแบบอ้อยท่อน พร้อมทั้งมีตัวตัดยอดและหางสะพานลำเลียงอ้อยขึ้นสู่รถตะกร้าหรือรถบรรทุกทันที ช่วยทดแทนแรงงานคน และลดความยุ่งยากในการจัดการกับแรงงานคน ซึ่งช่วยให้สามารถกำหนดเป้าหมาย และวางแผนการตัดอ้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง

การระบาดของแมลงศัตรูอ้อยในช่วงเดือนต่างๆ ได้แก่ หนอนกอลายจุดเล็ก หนอนกอลายจุดใหญ่ หนอนกอลายใหญ่ หนอนกอลายแถบแดง หนอนกอสีชมพู หนอนกอสีขาว แมลงหวี่ขาวอ้อย เพลี้ยกระโดดอ้อย เพลี้ยจักจั่นสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นงวง เพลี้ยกระโดดดำ เพลี้ยหอยอ้อย เพลี้ยอ่อนสำลี เพลี้ยแป้งสีชมพู มวนอ้อย ไรแมงมุมอ้อย ด้วงหนวดยาวอ้อย แมลงนูนหลวง ปลวกอ้อย แมลงค่อมทอง ด้วงขี้ควาย ด้วงดำ ด้วงงวงอ้อย ตั๊กแตนไฮโรไกรฟัส ตั๊กแตนโลกัสต้า ตั๊กแตนปาทังก้า และหนอนบุ้ง
สำหรับการปรับปรุงบำรุงดินทำได้หลากหลายวิธี โดยการใช้อินทรียวัตถุในรูปแบบต่างๆ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักปุ๋ยหมักชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยพืชสด การใช้วัสดุคลุมดินหรือการไถกลบตอซังของพืชที่ปลูก แต่หลายๆวิธีการที่กล่าวมานั้นต้องมีการจัดเตรียมหรือจัดหามาจากแหล่งภายนอก บางครั้งต้องเสียค่าใช้จ่าย วิธีการไถกลบ