การเลี้ยงและขยายพันธุ์แตนเบียนโดยใช้ต้นมันสำปะหลัง

แตนเบียน (Anagyrus lopezi) มีถิ่นกำเนิดในทวีปแถบอเมริกาใต้ ทำหน้าที่เป็นทั้งตัวห้ำและตัวเบียน สามารถฆ่า (การห้ำ) เพลี้ยแป้งสีชมพูให้ตายได้ทันที เฉลี่ยวันละ 20-30 ตัว และวางไข่ (การเบียน) ในตัวเพลี้ยแป้งสีชมพู เฉลี่ยวันละ 15-20 ตัว แตนเบียนหนึ่งตัวสามารถฆ่าเพลี้ยแป้งสีชมพูได้เฉลี่ยวันละ 35-50 ตัว โดยที่เพศเมียจะทำหน้าที่กำจัดเพลี้ยแป้งสีชมพู และเพศผู้จะมีหน้าที่ผสมพันธุ์กับเพศเมีย

ขั้นตอนที่ 1 : ปลูกต้นมันสำปะหลังในกระถางขนาดประมาณ 8-12 นิ้ว ใช้ท่อนมันตัดยาวประมาณ 20-25  ซม. ปลูกในกระถาง ๆ ละ 2-3 ท่อน ให้น้ำและดูแลรักษา 35-45 วัน ควรปลูกไว้ให้ไกลจากบริเวณที่จะเตรียมเพลี้ยแป้งเพื่อเลี้ยงแตนเบียน

ขั้นตอนที่ 2 : ใช้พู่กันเขี่ยกลุ่มไข่ของเพลี้ยแป้งสีชมพูลงบนยอดและใบมัน ต้นละ 5-7 กลุ่มไข่ ตั้งพักไว้ในที่ร่ม มีแสงเพียงพอ ให้น้ำเป็นระยะ เพื่อให้ต้นมันเจริญเติบโตได้ดี ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 15-23 วัน จะได้เพลี้ยแป้งที่มีขนาดเหมาะสมสำหรับใช้เลี้ยงแตนเบียน

ขั้นตอนที่ 3 : นำต้นมันที่มีเพลี้ยแป้งพร้อมแล้วใส่ในกรงที่มีตาข่ายเนื้อละเอียดตามขนาดที่เตรียมไว้ ปล่อยแตนเบียน 20 คู่ ต่อต้นมัน 3-5 ต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของเพลี้ยแป้ง แตนเบียนจะวางไข่ เจริญเติบโตในตัวเพลี้ยแป้งทำให้เพลี้ยแป้งตาย กลายเป็นมัมมี่ใช้เวลาประมาณ 15-21 วัน

ข้อสังเกต : ในระยะแรกแตนเบียนเพศผู้จะออกจากมัมมี่ก่อน หลังจากนั้นแตนเบียนเพศเมียจึงจะออกจากมัมมี่ตามมา ระยะแรกจะมีแตนเบียนทยอยออกมาจากมัมมี่น้อยกว่าระยะหลัง ควรหมั่นเฝ้าสังเกตอย่างต่อเนื่อง และหลังจาก 15 วัน ควรมีการดูดจับแตนเบียนทุกวัน ทั้งนี้อัตราการขยายพันธุ์โดยวิธีนี้ปกติจะได้ประมาณ 10 เท่า จากจำนวนแตนเบียนที่ปล่อยเป็นพ่อแม่พันธุ์

ขั้นตอนที่ 4 : เมื่อครบกำหนด 15-21 วัน แตนเบียนจะเจาะผนังลำตัวเพลี้ยแป้งที่เป็นมัมมี่ออกมา ให้ใช้เครื่องดูดจับแตนเบียนตามตัวอย่าง นำแตนเบียนที่ได้มาคัดแยก ตรวจนับ และบรรจุภาชนะ โดยบรรจุเพศผู้และเพศเมีย อย่างละเท่า ๆ กัน จำนวน 100-200 คู่ ตามขนาดของภาชนะบรรจุ

หมายเหตุ : การบรรจุแตนเบียนลงในภาชนะบรรจุ ต้องใช่กระดาษทิชชู ขนาดประมาณ 1×2 นิ้ว โดยใช้พู่กันป้ายน้ำผึ้งลงบนทิชชู่ ทั้งนี้ต้องใช้น้ำผึ้งแท้ผสมกับน้ำสะอาด ในอัตราส่วนน้ำผึ้ง 1 ส่วน ต่อน้ำ 9 ส่วน

ในกรณีที่ต้องการเก็บรักษาแตนเบียนไว้ใช้งาน สามารถเก็บรักษาได้ในตู้ควบคุมอุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส โดยจะเก็บรักษาได้ประมาณ 30-40 วัน แต่ควรเร่งปล่อยภายใน 15-20 วัน จะได้แตนเบียนที่แข็งแรงเหมาะสมสำหรับการใช้ควบคุมเพลี้ยแป้ง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ด้วงเต่าตัวห้ำ เป็นแมลงห้ำทั้งในระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัย สามารถทําลายศัตรูพืชได้หลายชนิด ได้แก่ เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยหอย เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยอ่อน ไข่ของผีเสื้อ หนอนขนาดเล็ก และแมลงหวี่ขาว เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถกินไรศัตรูพืช และบางชนิดกินเชื้อราเป็นอาหาร ด้วงเต่าทั่วไปมีปากแบบ ปากกัด ตัวเต
การพัฒนาพันธุ์มันสำปะหลัง (ข้าว) เหนียวของไทย สำหรับอุตสาหกรรมแป้งและเพื่อการส่งออก การพัฒนาพันธุ์มันสำปะหลัง(ข้าว) เหนียวของไทย สำหรับอุตสาหกรรมแป้งและเพื่อการส่งออก จากปริมาณความต้องการและคุณสมบัติของแป้ง ประกอบกับศักยภาพของวิทยาศาสตร์เกษตรในปัจจุบัน นักวิชาการจาก International Center for Tropical
ด้วงหนวดยาว จัดเป็นแมลงศัตรูอ้อยที่สำคัญต่อการปลูกอ้อย โดยสามารถเข้าทำลายอ้อยตั้งแต่ระยะเริ่มปลูกจนถึงระยะเก็บเกี่ยว โดยหนอนของด้วงหนวดยาวจะเข้าไปในส่วนของลำต้นอ้อยที่อยู่ใต้ดิน ทำให้อ้อยแห้งตาย ในอ้อยปลูกหากพบด้วงหนวดยาวเข้าทำลายจะส่งผลให้ผลผลิตอ้อยลดลง 13-43 % และน้ำตาลลดลง 11-46 % ส่วนอ้อย