การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง

การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง 

นอกเหนือจากการปรับปรุงบำรุงดิน ร่วมกับการอนุรักษ์ดิน และการใช้พันธุ์มันสำปะหลังพันธุ์ดีแล้ว การจัดการดูแลที่ดีโดยเริ่มตั้งแต่ ฤดูกาลปลูกที่เหมาะสม การเตรียมดินดี การเตรียมท่อนพันธุ์ปลูกระยะปลูกที่เหมาะสม ตลอดจนการใช้ปุ๋เคมีในอัตราที่เหมาะสม การกำจัดวัชพืชเป็นปัจจัยที่จะทำให้ผลผลิตสูงขึ้น โดยเฉพาะการเอาใจใส่ในการเตรียมท่อนพันธุ์จะมีผลทำให้อัตราความอยู่รอดของมันสำปะหลังสูงขึ้น

ต้องคัดเลือกใช้ต้นพันธ์ุ (ท่อนพันธุ์) สมบูรณ์

นับเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอันดับแรก เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการอื่นๆ เนื่องจากมีผลต่อความงอกและต้นอยู่รอดจนกระทั่งเก็บเกี่ยว ซึ่งจะส่งผลโดยตรงกับผลผลิต รวมทั้งต้นทุนการผลิตของเกษตรกร ซึ่งมีเทคนิคดังนี้

ข้อแนะนำ

1.ต้องใช้ต้นพันธุ์ที่มีอายุ 8-14 เดือน  

โดยสังเกตได้จากสีของลำต้นที่จะเปลี่ยนแปลงเป็นสีเข้มเมื่ออายุมากขึ้น และไม่มีโรคแมลงติดมา

2.ต้องเก็บรักษาต้นพันธุ์ให้ดี

หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วควรรีบนำต้นพันธุ์ไปปลูกทันที ถ้าจำเป็นต้องเก็บรักษาต้นไว้ทำพันธุ์ต่อไป สามารถทำได้โดยตั้งกองพันธุ์ไว้กลางแจ้งในแนวตั้งให้ส่วนของโคนสัมผัสกับพื้นดิน หรือใช้ดินกลบโคนแบะกองไม่ใหญ่จนเกินไป เพื่อให้อากาศถ่ายเท ซึ่งวิธีการดังกล่าวนี้จะสามารถรักษาสภาพต้นได้ประมาณ 15-30 วัน หรือนานถึง 2 เดือน แต่ถ้าเก็บไว้นานต้นจะแห้งจากส่วนปลายลงมา และตาจะแตกทำให้ได้จำนวนท่อนที่สมบูรณ์น้อยลง

3.ต้องใช้ส่วนกลางของลำต้น

ควรเป็นส่วนกลางและโคนต้นที่ไม่อ่อน หรือแก่จนเกินไป

4.ต้องคัดท่อนที่มีความยาวที่เหมาะสม

ในช่วงต้นฤดูฝนควรใช้ท่อนพันธุ์ขนาด 20 ซม. และช่วงปลายฝนควรใช้ท่อนพันธุ์ขนาด 25-30 ซม. (ควรมีตาอย่างน้อยประมาณ 5-7 ตา) ส่วนการสับท่อนพันธุ์ควรสับให้เฉียงเล็กน้อย และหลีกเลี่ยงไม่ให้ตาบนท่อนพันธุ์ช้ำ หรือถูกกระทบกระเทือน

5.วิธีการปลูกที่เหมาะสม

ควรปลูกแบบปักตรงหรือเอียงเล็กน้อย เป็นวิธีที่ให้ผลผลิตสูง ควรลึกในการปักท่อนพันธุ์ลงในดินประมาณ 8-10 ซม. แต่ไม่ควรปักลึกมาก และควรมีการตรวจสอบความงอกหลังปลูกเพื่อทำการปลูกซ่อมได้ทันเวลา

ควรหลีกเลี่ยงการใช้ส่วนของต้นที่อ่อน หรือแก่เกินไป ส่วนของกิ่งแขนง และไม่ควรตัดต่อท่อนพันธุ์สั้นเกินไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

การไถกลบตอซังเพื่อปรับปรุงดินและเพิ่มผลผลิตข้าว ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 65 ล้านไร่ ได้ผลผลิตข้าว 24 ล้านตัน มีฟางข้าวเฉลี่ยประมาณปีละ 25.45 ล้านตัน และมีปริมาณตอซังข้าวที่ตกค้างอยู่ในนาข้าว 16.9 ล้านตันต่อปี ดังนั้นจึงนับได้ว่ามีปริมาณฟางข้าว และตอซังข้าวมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับตอซัง
สำหรับการปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่เกษตรกรรมมีจุดประสงค์ที่สำคัญเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรดินและการอนุรักษ์ดินและน้ำ ซึ่งประกอบด้วย 1.การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ลาดชัน ควรปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวตามแนวระดับขวางความลาดเทในต้นฤดูฝน โดยการทำแนวร่องปลูกตามแนวระดับ ใช้ระยะระหว่างต้น 5 เซนติเมตร สำหรับกล้ารากเปลือย
การเลือกพื้นที่ ควรเลือกพื้นที่ ที่มีแหล่งน้ำเพียงพอตลอดฤดูปลูก หลีกเลี่ยงพื้นที่ลุ่มต่ำที่มีการระบายน้ำไม่ดี ฤดูปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา เดือนที่เหมาะสมสำหรับปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์คือเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม หรือปลูกทันทีหลังจากเก็บเกี่ยวข้าว เพื่อใช้ประโยชน์จากความชื้นที่เหลืออยู่ในดิน