การเตรียมดินและบำรุงรักษาไร่อ้อย ด้วยเครื่องจักรกลการเกษตรในพื้นที่จ.เลย ช่วยเพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิตอ้อยได้

การส่งเสริมให้เกษตรกรมีองค์ความรู้ในการทำเกษตรกรรม ควบคู่ไปกับการเลือกใช้เครื่องจักรกลการเกษตรได้อย่างเหมาะสม เป็นสิ่งที่สยามคูโบต้าได้ดำเนินงานมาโดยตลอด เพราะนอกจากจะช่วยให้พี่น้องเกษตรกรสามารถลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตได้แล้ว ยังช่วยให้มีการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรได้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดอีกด้วย

สำหรับการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรในขั้นตอนต่างๆ สยามคูโบต้าได้มีการคิดค้นและวิจัยสินค้าให้สามารถใช้งานได้อย่างครบวงจร ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมดิน การปลูก การบำรุงรักษา ตลอดจนการเก็บเกี่ยว โดยล่าสุด สยามคูโบต้าเข้าไปส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่ จ.เลย มีการเตรียมดินด้วยการระเบิดดินดาน และใช้เทคโนโลยีเครื่องจักรกลการเกษตรในการทำไร่อ้อย

คุณอาณัติ มูลหา หนึ่งในเกษตรกรชาวไร่อ้อย บ้านป่าซาง ต.โนนป่าซาง อ.ผาขาว จ.เลย  เล่าว่า แต่เดิมดินในบริเวณนี้ จะเป็นดินเหนียว ดินร่วน หรือดินร่วนปนทราย แต่สำหรับแปลงของตนเองจะเป็นดินเหนียว ซึ่งต้องมีการระเบิดดินดานก่อนการเพาะปลูก เพราะเห็นว่าในพื้นที่อื่นๆ ที่มีการเตรียมดินด้วยวิธีนี้ได้ผลผลิตอ้อยเป็นที่น่าพอใจ จึงได้ศึกษาการระเบิดดินดานด้วยตัวเองมาเรื่อยๆ ลองผิดบ้าง ลองถูกบ้าง กระทั่งมีทีมงาน KAS เข้ามาส่งเสริมอย่างจริงจัง ประกอบกับตนเองก็มีความสนใจอยู่แล้ว จึงได้นำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในพื้นที่ของตนเอง จำนวน 10 ไร่ ในปีที่ผ่านมา

“ในขั้นตอนการเตรียมดิน ทีมงาน KAS จะสอนให้ใช้แทรกเตอร์ติดอุปกรณ์ต่อพ่วงสำหรับไร่อ้อย เริ่มจากผานระเบิดดินดาน ไถเตรียมดินให้มีความลึก เพื่อเปิดช่องให้น้ำฝนเข้าไปกักเก็บใต้ดิน และใช้ผานพรวนไถซ้ำอีก 2 รอบ เพื่อเร่งอัตราย่อยสลายและปรับโครงสร้างดินให้ร่วนซุย ทำให้ดินมีความละเอียด ราบเรียบ และช่วยรักษาความชื้นในดิน จากนั้นจึงทำการปลูก ในขั้นตอนการบำรุงรักษาใช้แทรกเตอร์คูโบต้ารุ่น B ติดอุปกรณ์เครื่องฝังปุ๋ย เพื่อลดปัญหาการสูญเสียปุ๋ยจากความร้อนและการพัดพาของน้ำ ทำให้ต้นอ้อยได้รับปุ๋ยอย่างทั่วถึง ปิดท้ายด้วยการใช้โรตารี่ ปั่นดินและกำจัดวัชพืชในระยะช่องว่างระหว่างแถวอ้อยครับ”

คุณอาณัติ เล่าอีกว่า จากการนำแทรกเตอร์ไปใช้ในขั้นตอนต่างๆ ของการปลูกอ้อย ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมดิน จนถึงการดูแลรักษา ผสานกับความรู้เรื่องการระเบิดดินดาน ทำให้ตนเองมั่นใจในการปลูกอ้อยมากขึ้น เพราะจำนวนผลผลิตที่ได้แตกต่างกันพอสมควร เห็นได้จากวิธีดั้งเดิมที่ตนเองเคยปลูกได้ผลผลิตจำนวน 13 ตัน/ไร่ แต่การปลูกอ้อยที่มีการระเบิดดินดานและใช้แทรกเตอร์คูโบต้าติดอุปกรณ์ต่อพ่วงสำหรับไร่อ้อยเข้าไปช่วยในการทำงานนั้น ได้ผลผลิตจำนวน 16 ตัน/ไร่ อีกทั้งผลผลิตที่ได้ยังมีคุณภาพ และได้ค่าความหวานตามมาตรฐานโรงงานน้ำตาล และด้วยความมั่นใจนี้เอง ทำให้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้ตัดสินใจซื้อแทรกเตอร์คูโบต้ารุ่น M อีกหนึ่งคัน เพื่อนำไปใช้ไถเปิดหน้าดิน ระเบิดดินดาน และนำไปใช้ลากอ้อย ในอนาคต ก็มีแผนที่จะซื้อแทรกเตอร์  คูโบต้าอีกคัน พร้อมอุปกรณ์ต่อพ่วง เพื่อนำไปใช้ในการปลูกอ้อยอย่างเต็มรูปแบบอีกด้วย

“การนำเครื่องจักรกลการเกษตรคูโบต้าเข้ามาปลูกอ้อยนั้น ถือว่าตอบโจทย์การทำงานของผมได้เยอะมากครับ โดยเฉพาะเรื่องของแรงงานคน เพราะแรงงานหายาก ไม่ค่อยมีใครมาทำ แต่การใช้เครื่องจักรกลการเกษตรจะใช้คนเพียง 1-2 คนเองครับ อีกทั้งยังได้งานเร็ว และได้อ้อยที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ สินค้าคูโบต้ายังใช้งานง่าย สินค้ามีคุณภาพ และบริการหลังการขายก็ดีครับ”

เกษตรกรหรือประชาชนท่านใดอยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับองค์ความรู้ KUBOTA (Agri) Solutions เกษตรครบวงจร สามารถส่งคำถามมาได้ที่ [email protected]

บทความที่เกี่ยวข้อง

การใช้แหนแดงแห้งทดแทนปุ๋ยเคมีในแปลงพืชผัก ให้ธาตุไนโตรเจนสูงกว่าพืชตระกูลถั่ว ตอบโจทย์ด้านเกษตรครบวงจร เข้าทางเกษตรอินทรีย์ นำไปผสมกับวัสดุปลูกช่วยต้นกล้าโตไว แถมเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดีเหมาะเป็นอาหารสัตว์ช่วงแล้งขาดแคลนหญ้า แหนแดง เป็นเฟิร์นชนิดหนึ่งที่ถูกนำมาใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในการผลิตพืช
การให้น้ำแก่ถั่วลิสงต้องคำนึงถึงปริมาณน้ำที่ให้อย่างเหมาะสมกับความต้องการใช้น้ำของต้นถั่วลิสงที่ช่วงอายุการเจริญเติบโตต่าง ๆ การปลูกถั่วลิสงในประเทศไทย มีปริมาณความต้องการใช้น้ำชลประทาน 700 – 900 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ วิธีการให้น้ำ ในการปลูกถั่วลิสงหลังนา เกษตรกรนิยมให้น้ำแบบปล่อยตามร่อง
ชุดดินในที่ดอนที่สำคัญ ในภาคเหนือ 4. ชุดดินบ้านจ้อง (Ban Chong series : Bg) กลุ่มชุดดินที่ 29 การกำเนิด : เกิดจากการผุพังสลายตัวของหินตะกอนเนื้อละเอียดและหินที่แปรสภาพ เช่น หินดินดาน หินทรายแป้ง หินโคลน หินชนวน และหินฟิลไลท์ สภาพพื้นที่ : ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงเป็นเนินเขา ความลาดชัน 3-35 %