การปักชำไม้ใบ สร้างรายได้เสริม

การเพาะเมล็ดเป็นวิธีการขยายพันธุ์แบบใช้เพศ ซื่งส่วนของเมล็ดนั้นได้มาจากการผสมของเกสรตัวผู้กับเกสรตัวเมีย เมื่อผสมติดแล้วดอกจะฝ่อและติดเมล็ด รอจนเมล็ดแก่ก็สามารถนำมาเพาะเป็นต้นต่อไปได้ การเพาะเมล็ดทำได้ครั้งละจำนวนมาก และต้นใหม่ที่ได้อาจไม่เหมือนต้นแม่ จึงเหมาะกับความต้องการคัดเลือกสายพันธุ์ใหม่ๆ เหมาะกับไม้ใบที่ออกดอกติดเมล็ดได้ดี ซึ่งต้นใหม่ที่ได้อาจมีลักษณะแตกต่างจากต้นเดิม นิยมใช้กับไม้ใบจำพวก หน้าวัวใบ วาสนา อโกลนีมา

การปักชำและแยกหน่อนั้น เป็นวิธีการขยายพันธุ์แบบไม่ใช้เพศ ต้นใหม่ที่ได้จึงมีลักษณะเหมือนต้นเดิมตามที่เราต้องการ เหมาะกับไม้ใบที่เจริญเติบโตทางด้านข้าง เช่น คล้า อโลคาเซีย และอโกลนีมา 

การปักกชําใบ  คือการนําใบมาปักชําให้เกิดยอดและรากสามารถทําได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับชนิดของพืชแบ่งเป็น การปักชําแผ่นใบ ปักชําใบที่มีก้านใบ และปักชําใบที่มีตาติดมา

1. การปักชําแผ่นใบ โดยการตัดแผ่นใบออกเป็นส่วนๆต้นและรากใหม่จะเกิดจากแผ่นใบโดยตรง การปักชํามีหลายวิธีขึ้นอยู่กับชนิดของพืช 

1.1 การปักชําใบลิ้นมังกร เลือกใบที่แก่ตัดเป็นท่อนยาว 2 – 3 นิ้ว นํามาปักชําใน วัสดุปักชําได้แก่ ทรายผสมขี้เถ้าแกลบอัตราส่วน 1 : 1 ปักลึก ½ – ¾ ของความยาวของใบที่มาปักชํา จะเกิดต้นและรากใหม่บริเวณฐานของใบที่ปักชําส่วนโคนของใบเก่าจะค่อยๆ แห้งตาย

1.2 การปักชําใบบีโกเนีย นําใบแก่มากรีดเส้นใบใหญ่ให้ขาดจากกัน (อาจกรีดให้ขาดเป็นส่วน ๆ หรือยังติดเป็นใบอยู่ก็ได้) โดยวางแผ่นใบลงบนวัสดุปักชํา กลบด้วยวัสดุปักชําบางๆ พอให้ใบแห้ง และนํากระบะปักชําตั้งไว้ในที่ร่มมีความชื้นสูงแต่ไม่แฉะ จะเกิดต้นและรากใหม่ตรงบริเวณเส้นใบที่ถูกตัดขาด ขณะเดียวกันใบเก่าจะค่อยๆ แห้งตายไป

2. การปักชําใบที่มีก้านใบ จะเกิดต้นและรากใหม่ตรงปลายของก้านใบ นิยมใช้ในการปักชําใบอัฟริกันไวโอเล็ต ใบกล็อกซีเนีย โดยเลือกใบที่อยู่ช่วงกลางของต้น ไม่ควรใช้ใบแก่หรือใบอ่อน ตัดใบให้มีก้านใบยาวประมาณ 1 นิ้ว ปักชําก้านใบลงในวัสดุปักชํา หันหน้าไปทางเดียวกันอย่าให้ขอบใบชนกัน อาจใช้ฮอร์โมนเร่งรากความเข้มข้นตํ่า 50 ppm จุมก้านใบ ก่อนปักชําจะช่วยให้ออกรากเร็วขึ้น การให้นํ้าควรให้ทางก้นกระถาง 

3. การปักชําใบที่มีตาติด คือการปักชําใบที่มีแผ่นใบ ก้านใบ และกิ่งที่มีตาติดอยู่ด้วย เนื่องจากพืชพวกนี้จะออกรากใหม่ได้ดี แต่เกิดต้นใหม่ได้ช้ามาก จึงต้องให้มีตาเก่าติดด้วย เพื่อแตกเป็นต้นใหม่ เช่น ยางอินเดีย เปปเปอร์โรเมีย และมะนาว การปักชําควรชําส่วนของลําต้นให้ตาจมลงไปประมาณ ½ นิ้ว จะเกิดรากและยอดขึ้นมาใหม่ตรงบริเวณข้อ

การปักชำยอด คือการนํายอดมาปักชําให้เกิดต้นและรากใหม่ นิยมใช้กับไม้ใบจำพวกฟิโลเดนดรอน หน้าวัวใบ และพลูต่างๆ โดยมีวิธีการปักชำยอดดังนี้

1. คัดเลือกต้นแม่พันธุ์ที่มีหลายๆยอด ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อในบริเวณกิ่งที่ต้องการตัดมาชำ และรอให้แห้ง

2. เลือกตัดยอดที่มีใบ 2-3 ใบกับ 1 หลอด (ใบอ่อนที่ยังไม่คลี่) ตัดบริเวณใต้ข้อให้มีรากอากาศติดมาด้วย การเลือกยอดลักษณะนี้จะทำให้ได้ต้นใหม่ที่มีทรงพุ่มสวย ระยะเวลาที่รอรากเกิดใหม่ ใบอ่อนจะคลี่ออกมาสวย

3. จากนั้นทาปูนแดง (ปูนกินหมาก) บนรอยตัดทั้งกิ่งพันธุ์และต้นแม่เพื่อป้องกันเน่าแล้วทิ้งไว้จนแห้ง นำไปปลูกในวัสดุปลูก จากนั้นใส่ปุ๋ยละลายช้าลงไปด้วย แล้วรดน้ำให้ชุ่ม

4. เพิ่มความชื้นให้ไม้ใบ โดยวางกระถางที่ชำเสร็จแล้วซ้อนลงในกระถางเปล่า แล้วใส่ลงในถุงพลาสติกเพื่อหนุนไม่ให้วัสดุปลูกโดนน้ำโดยตรงจนชื้นเกินไป จากนั้นเติมน้ำในถุงเพิ่มเล็กน้อย มัดปากถุงให้แน่น นำไปแขวนและวางไว้ในที่มีแสงรำไร ทิ้งไว้ 3-5 สัปดาห์จึงนำออกจากถุง ได้เป็นต้นใหม่ที่มีทรงพุ่มสวย 

หมายเหตุ ส่วนต้นแม่พันธุ์ ต้นเดิมก็พักไว้เพื่อรอให้แตกยอดใหม่ รอประมาณ 4 เดือนค่อยชำรอบใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมอาหารสัตว์ของประเทศ ทั้งนี้ มีการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์ภายในประเทศมากถึงร้อยละ 93.1 ของอาหารเลี้ยงสัตว์ทั้งหมดภายในประเทศ ซึ่งจากปริมาณความต้องการดังกล่าวถือเป็นโอกาสอันดี ที่เกษตรกรของไทยจะพัฒนาการผลิตข้าว
ทำไมต้องเป็นถั่วลิสง? เพราะเป็นพืชที่ต้องการใช้น้ำปริมาณ 611 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ และมีอายุเก็บเกี่ยวที่ 85-110 วัน ซึ่งทำให้พี่น้องชาวอีสานสามารถเพาะปลูกได้ เนื่องจากไม่ต้องหาแหล่งน้ำมากในหน้าแล้ง และใช้เวลาในการเพาะปลูกไม่นาน เป็นการเพิ่มรายได้หลังสิ้นฤดูนาปี “ถั่วลิสง เป็นพืชที่นิยมปลูก
หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดเป็นศัตรูสำคัญของข้าวโพด นอกจากนี้ยังมีพืชอาหารมากกว่า 80 ชนิด เช่น ข้าว อ้อย ข้าวฟ่าง พืชตระกูลถั่ว มะเขือเทศ มันฝรั่ง ยาสูบ ฝ้าย ทานตะวัน กล้วย กระเทียม ขิง มันเทศ พริก พืชตระกูลกะหล่ำ พืชตระกูลแตง และพืชผัก เป็นต้นวงจรชีวิตหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด ใช้เวลา 30-40 วัน