การปลูกมันเทศญี่ปุ่นบนพื้นที่สูง

มันเทศญี่ปุ่น เป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย ทนแล้งได้ดี สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี เจริญเติบโตได้ดีใน  ดินทราย โดยสามารถปลูกทดแทนพืชชนิดอื่นได้ และให้ปริมาณผลผลิตต่อพื้นที่สูง นอกจากนี้มันเทศยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูง และเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก

ปัจจุบันบนพื้นที่สูงมีการส่งเสริมให้ปลูกมันเทศญี่ปุ่น 2 ชนิด ได้แก่ มันเทศญี่ปุ่นเนื้อสีม่วง และมันเทศญี่ปุ่นเนื้อสีเหลือง ในการปลูกมันเทศญี่ปุ่นสามารถปฏิบัติได้ดังนี้

1. การคัดเลือกพื้นที่ปลูก: ดินทราย หรือดินร่วนปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์สูง โดยมีปริมาณอินทรียวัตถุในดิน (OM) มากกว่าร้อยละ 3.52 อุณหภูมิอุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 21-32 องศาเซลเซียส และมันเทศต้องการแสงแดดตลอดวัน ถ้าได้รับแสงแดดไม่เพียงพอหรือมีร่มเงา ทำให้ต้นมีการเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์และผลผลิตต่ำ

2. การเตรียมยอดพันธุ์: ปลูกมันเทศญี่ปุ่นในแปลงปลูกอย่างน้อย 2 เดือน จากนั้นคัดเลือกและตัดยอดที่อวบ ให้มีความยาว 30 เซนติเมตร โดยตัดยอดพันธุ์ก่อนลงปลูกประมาณ 2-3 วัน เพื่อให้ยอดมันเทศญี่ปุ่น  ไม่เปราะหรือหักตอนปลูก

3. การเตรียมแปลงปลูก: ใช้รถไถพรวนดินให้ละเอียดประมาณ 3 ครั้ง โดยไถพรวนครั้งที่ 2 หลังจากไถครั้งที่ 1 เวลา 15 วัน และ ครั้งที่ 3 หลังจากไถครั้งที่ 2 เวลา 15 วัน เพื่อลดการสะสมของโรคและแมลงศัตรูพืช  ในดิน จากนั้นขึ้นแปลงขนาดกว้าง 60 เซนติเมตร สูง 50 เซนติเมตร

4. การปลูก: ปลูกมันเทศญี่ปุ่นแถวเดี่ยว ระยะห่างระหว่างหลุม 30 เซนติเมตร

5. การให้น้ำ: ให้น้ำวันละ 1 ครั้ง ในช่วง 1 เดือนแรกหลังปลูก จากนั้นให้น้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และงดน้ำก่อนเก็บเกี่ยว 1 สัปดาห์

6. การให้ปุ๋ย

– ก่อนปลูก ใส่ปุ๋ยหมักโดยหว่านบนแปลง อัตรา 1,500 กิโลกรัม/ไร่ จำนวน 1 ครั้ง

– หลังจากปลูก 1 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 5 กรัม/ต้น 1 ครั้ง

– หลังจากปลูก 2 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ผสมกับ 13-13-21 (1:1) อัตรา 5 กรัม/ต้น จำนวน 1 ครั้ง

7. ศัตรูพืช

แมลงศัตรูมันเทศมีมากกว่า 10 ชนิด เช่น ด้วงงวงมันเทศ หนอนเจาะเถามันเทศ หนอนชอนใบมันเทศ หนอนกระทู้หอม แต่ที่เข้าทำลายและทำความเสียหายมาก คือ ด้วงงวงมันเทศ

8. การตลบเถามันเทศญี่ปุ่น: ตลบเถาโดยพลิกใบมันเทศญี่ปุ่นที่เลื้อยบนบริเวณร่องปลูกขึ้นบนแปลง 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 ตลบเถาเมื่อมันเทศญี่ปุ่นมีอายุ 2 เดือน และครั้งที่ 2 หลังจากตลบเถาครั้งแรก 20 วัน เพื่อกระตุ้นให้มันเทศญี่ปุ่นสร้างหัว

9. การตัดเถามันเทศญี่ปุ่น: ก่อนเก็บเกี่ยวมันเทศ 3-5 วัน ทำการตัดเถามันเทศญี่ปุ่น โดยตัดสูงจากโคนต้นประมาณ 5 เซนติเมตร เพื่อให้หัวมันเทศมีความหวานเพิ่มขึ้น

10.การขุดมันเทศญี่ปุ่น: เก็บเกี่ยวมันเทศญี่ปุ่นพันธุ์เนื้อสีเหลืองที่มีอายุ 120 วัน และพันธุ์เนื้อสีม่วงที่มีอายุ 150 วันนับจากวันปลูก โดยใช้รถไถหรืออุปกรณ์ขุดในการเก็บเกี่ยว

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัจจัยที่มีผลต่อการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ คือการดำรงไว้ซึ่งความมีชีวิตของเมล็ดพันธุ์ (seed) ให้ยาวนานออกไป ฉะนั้นในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์จึงมีปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องหลายประการ แต่โดยทั่วไปอาจสรุปได้ 2 ประการ คือ 1.ปัจจัยภายใน 1.1 ชนิดของเมล็ดพันธุ์(species)
การดูดธาตุอาหารของพืช พืชได้รับคาร์บอนและออกซิเจนจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยการสังเคราะห์แสงจากใบพืชและส่วนที่มีสีเขียว ส่วนธาตุอาหารพืชในรูปของไอออนพืชได้รับเช่นกัน การดูดธาตุอาหาร พืชโดยส่วนต่างๆของพืช ได้แก่ การดูดธาตุอาหารของพืชโดยใช้ส่วนต่างๆของพืช และ การดูดซับธาตุอาหารของพืชทางราก สารอาหารสามารถ