การบริหารจัดการอ้อยแปลงใหญ่

นายมูล สุขเจริญ อายุ 56 ปี เกษตรกรในอำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา อดีตสมาชิก อบต. ทำการเพาะปลูกมาแล้วไม่ต่ำกว่า 25 ปี ปัจจุบันพื้นที่ปลูกอ้อยของตนเองกว่า 700 ไร่ และพื้นที่ของลูกไร่ประมาณ 40 คน  ในพื้นที่  1,500 ไร่ โดยมีโควต้าอ้อยต่อปีกว่า 18,000 ตัน การดูแลอ้อยในพื้นที่ของตัวเอง รวมทั้งพื้นที่ของลูกไร่แล้ว จึงจำเป็นต้องหาวิธีการใหม่ ๆ และการจัดการพื้นที่เพาะปลูกด้วยเครื่องจักรกลการเกษตร มาปรับปรุงการทำไร่อ้อย เพื่อให้บริหารจัดการได้ง่าย ประหยัดต้นทุนและเวลา เพื่อให้ได้ผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้นด้วย 

ความสำเร็จ ที่สำคัญคือสามารถสร้างความยั่งยืน และมั่นในอาชีพได้อย่างน่าภาคภูมิใจ มีการบริหารจัดการไร่อ้อยด้วยการรวมกลุ่มเกษตรกร ทำให้สามารถจัดคิวในการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการบริหารจัดการการผลิต โดยได้ให้คำแนะนำในการผลิตอ้อยให้มีประสิทธิภาพตามพื้นที่เพาะปลูกนั้น มีขั้นตอนดังนี้

1. การปรับปรุงบำรุงดิน

ด้วยสภาพพื้นดินเขตนี้เป็นลักษณะดินร่วน มีการระบายน้ำได้ดีอยู่แล้ว แต่ขาดอินทรียวัตถุ จึงควรมีการปรับปรุงดินเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุ ช่วยในอุ้มน้ำ และปลดปล่อยธาตุอาหารให้อ้อย โดยแนะนำให้ใส่น้ำวีนัส หรือกากน้ำตาล ในช่วงทำการเตรียมดิน ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะจะให้รากอ้อยได้หยั่งลึกลงไปหาน้ำและอาหาร และต้องเตรียมดินให้ละเอียดเพื่อให้เดินเก็บน้ำไว้ได้นานที่สุด โดยการเตรียมดินมีขั้นตอน ดังนี้

  • ก่อนเริ่มทำการเพาะปลูก 2 เดือน เกษตรกรจะมีการโรยขี้ไก่อัตรา 1-3 ตันต่อไร่จนทั่วทั้งแปลง และทำการไถกลบด้วยผานบุกเบิก 1 ครั้ง และพักดิไว้จนถึงฤดูกาลเพาะปลูก
  • เมื่อถึงฤดูกาลเพาะปลูกหากมีวัชพืชขึ้นเยอะ ให้ทำการไถบุกเบิกเพื่อกำจัดวัชพืช และเพิ่มความร่วนซุยให้แก่ดิน
  • แล้วทำการปรับปรุงดินโดยใช้น้ำวีนัส หรือกากน้ำตาล จากโรงงานซึ่งให้มาฟรีตามโควต้า ใช้รดในแปลงปลูก 1 คันรถใส่ได้ 7-8ไร่
  • หลังจากนั้นทำการไถผานพรวน 1 รอบ เพื่อย่อยดินให้ละเอียดมากขึ้น และเป็นการคลุกเคล้าให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์สม่ำเสมอกัน
  • ขึ้นตอนสุดท้ายคือปั่นโรตารี่ ให้ดินละเอียดและเรียบ เพื่อให้ดินเก็บความชื้นได้นาน เมื่อเตรียมดินละเอียดแล้วจึงพร้อมปลูก

2. การเตรียมท่อนพันธุ์

เกษตรกรเลือกใช้พันธุ์ ขอนแก่น 3 เนื่องจากปลูกได้ดีในสภาพดินร่วน ทนแล้ง ลำใหญ่ ที่สำคัญ อ้อยตอพันธุ์ขอนแก่น 3 พบการระบาดโรคใบขาวน้อยมาก ใช้ท่อนพันธุ์ประมาณ 1.5-2 ตันต่อไร่ โดยท่อนพันธุ์ที่ใช้ต้องทำการเลือกจากแปลงพ่อแม่พันธุ์ที่ปลอดโรค และมีความสมบูรณ์ดี

3. การปลูกอ้อยข้ามแล้ง

ปลูกอ้อยโดยใช้เครื่องปลูก เพราะจะช่วยให้ท่อนพันธุ์ลงได้สม่ำเสมอ ใส่ปุ๋ยรองพื้น ควรใช้สูตรที่มีไนโตรเจนและฟอสฟอรัสสูง เพื่อเร่งรากให้แข็งแรง และเร่งการแตกหน่อ สูตร16-16-8 หรือ 18-12-6 ในดินทรายหรือดินร่วนปนทราย อัตรา 60 กก./ไร่ โดยในการปลูกควรใช้ระยะ 1.40 เมตร เพื่อให้เครื่องจักรเข้าไปจัดการได้ง่ายขึ้น

4. บำรุงรักษา

โดยการฉีดยาคลุมหญ้า 1 ครั้งหลังจากปลูกอ้อยทันที เมื่ออ้อยมีอายุ 3-4 เดือนทำการใส่ปุ๋ยเพื่อเร่งการเจริญเติบโตอีก 1 รอบ โดยสูตรและปริมาณการใส่จะดูจากความสมบูรณ์ของอ้อยในแปลงนั้น หลังจากผ่านไป 7 เดือนจึงเริ่มทำรุ่น

5. การเก็บเกี่ยว

จะเริ่มเก็บเกี่ยวอ้อยประมาณเดือน พ.ย.- ธ.ค. ตามประกาศของโรงงานอ้อยละน้ำตาล โดยใช้รถตัดอ้อยเพราะพื้นที่ในการจัดการมีมากจึงต้องมีการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรมาช่วย และต้องจัดคิวลูกไร่ให้ดีเพื่อจะได้มีอ้อยเข้าโรงงานตามโควต้าสม่ำเสมอทุกวันตลอดฤดูกาลเปิดหีบ ซึ่งการปิดหีบจะอยู่ในช่วงเดือน มี.ค.- เม.ย. ด้วยช่วงระยะเวลาเปิดหีบสั้นมากกินเวลาเพียง 4 – 5 เดือน เวลาทุกชั่วโมงจึงมีค่า

การจัดการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรให้มีประสิทธิภาพในทุกขั้นตอน จึงเป็นหัวใจหลักของความสำเร็จ ตั้งแต่การเริ่มเตรียมดิน เครื่องจักรกลการเกษตรช่วยให้พื้นที่มีความสม่ำเสมอ คุณสมบัติดินเหมาะแก่การเพาะปลูก กำจัดวัชพืชได้ดิน การดูแลรักษาตลอดจนการเก็บเกี่ยวทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ย่อมส่งผลให้สามารถลดต้นทุนแรงงาน ลดต้นทุนปุ๋ยและสารเคมี ตลอดจนการใช้เวลาต่อไร่ที่น้อยลงทำให้สามารถเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกได้มากขึ้น  ทุกองค์ประกอบที่กล่าวมาทำให้การทำธุรกิจการเกษตรของพี่มูลประสบความสำเร็จเช่นปัจจุบัน

บทความที่เกี่ยวข้อง

เกิดจากเชื้อรา Phoeoramularia manihotis (Cercospora caribaea) พบได้ทั้งในทวีป เอเชีย อเมริกาเหนือ อัฟริกา และลาตินอเมริกา สามารถพบได้ในเขตปลูกมันสำปะหลังที่ชื้นและเย็น
เพลี้ยอ่อนข้าวโพด (Corn leaf aphid : Rhopalosiphum maidis Fitch.) มักจะพบเกาะเป็นกลุ่ม ๆ ดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่าง ๆ ของต้นข้าวโพด เช่น ยอด กาบใบ โคนใบ กาบฝัก และจะพบมากที่สุดบริเวณช่อดอกทำให้บริเวณที่ถูกดูดกินแสดงอาการเป็นจุดสีเหลืองปนแดง ถ้าช่อดอกมีเพลี้ยเกาะกินอยู่มากจะทำให้ช่อดอกไม่บาน
การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง นอกเหนือจากการปรับปรุงบำรุงดิน ร่วมกับการอนุรักษ์ดิน และการใช้พันธุ์มันสำปะหลังพันธุ์ดีแล้ว การจัดการดูแลที่ดีโดยเริ่มตั้งแต่ ฤดูกาลปลูกที่เหมาะสม การเตรียมดินดี การเตรียมท่อนพันธุ์ปลูกระยะปลูกที่เหมาะสม ตลอดจนการใช้ปุ๋เคมีในอัตราที่เหมาะสม การกำจัดวัชพืชเป็นปัจจัยที่